ราชบุรี ในวันนี้( 1 ธ.ค. 66 ) หลังจากที่ จ.ราชบุรี เป็น 1 ใน 24 จังหวัดของประเทศไทยที่ติดอันดับฝุ่นพิษ ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 เกินมาตรฐาน วันนี้ นายธีรพงษ์ บุญทองล้วน นักวิชาการสิ่งแวดล้อม ชำนาญการพิเศษ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการ สำนักงานสิ่งแวดล้อม และควบคุมมลพิษที่ 8 กล่าวว่า การดำเนินงานแก้ไขปัญหาและมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน บรรเทา และแก้ไขปัญหามลพิษอันเกิดจาก PM 2.5 กำหนดขึ้น เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน บรรเทา และแก้ไซปัญหาสถานการณ์ฝุ่นละออง PM25 ตามลักษณะวงจรการรับมือกับภัย ประกอบด้วย 1 มาตรการ โดยแบ่งเป็นมาตรการที่จะดำเนินการช่วงที่มีสถานการณ์ 3 ระยะ คือ (3) ระยะ เตรียมการ (2) ระยะเผชิญเหตุ (3 ) ระยะบรรเทา และมาตรการที่จะดำเนินการตลอดทั้งปีเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติ สื่อสารผลการดำเนินงานสู่สาธารณะ และสร้างความเข้าใจกับทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง
โดยมีสาระสำคัญ เป็นระยะเตรียมการ ( ตุลาคม – ธันวาคม ) ให้กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เร่งรัดจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดนระหว่างประเทศไทย- สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ภายใต้ยุทธศาสตร์ฟ้าใส ( CLEAR Sky Strategy) และให้มีการติดตามผลการดำเนินงานอยู่เป็นระยะ 2. ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม พัฒนาระบบติตตามและตรวจสอบย้อนกลับการผาในพื้นที่เกษตร และพื้นที่ป่า (Traceability)และติดตามช่วงเวลาที่เสี่ยงต่อการเผาตามรอบการเพาะปลูกและส่งเสริมสินค้าเกษตรปลอดการเผา ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้แนวทางการปฏิบัติ “GAP PM2.5 Free” เพื่อลดการเผาหรือกิจกรรมที่ก่อให้เกิดฝุ่น ให้กระทรวงพลังงาน และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ จากเศษวัสดุ ทางการเกษตรทดแทนการเผา เช่น การแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงชีวมวล การแปรรูปเป็นสารปรับปรุงดิน เป็นต้น
ให้จังหวัด จัดทำแผนรับมือและตอบโต้สถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ และปฏิบัติการตามแผนอย่างเคร่งครัด 6.ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม จัดอันดับพื้นที่เสี่ยงต่อการผาซ้ำซากในป่าสูงสุด 10 อันดับ และจัดกำลังเฝ้าระวังป้องกันทุกจุดตามขนาดของพื้นที่
ระยะเผชิญเหตุ (มกราคม – พฤษภาคม)
7. ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดตั้ง war room วิเคราะห์ประมวผลข้อมูลเพื่อใช้ในบริหารจัดการ/ เสนอแนะมาตรการ/สั่งการ 8. ให้กระทรวงมหาดไทย และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บริหารจัดการไฟในพื้นที่รับผิดชอบ หากเกษตรกรต้องการเผาให้ดำเนินการขออนุญาตฝ่ายปกครองก่อนการเผา โดยให้ฝ่ายปกครองกำหนดเงื่อนไขการอนุญาตเผา และให้จังหวัด อำเกอ องค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กำกับดูแลอย่างใกล้ชิด และเมื่อสิ้นสุดฤดูกาลเผาให้จังหวัดสรุปสถานการณ์การผาในพื้นที่ โดยพิจารณาและแยกประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน (เมืองป่า เกษตรกรรม) และนำเสนอผู้อำนวยการกลาง คอยอำนวยการป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยกลาง และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
9.ให้กระทรวงมหาดไทย จังหวัด และท้องถิ่น ใช้อำนาจตามกฎหมายประกาศเป็นพื้นที่เสี่ยง
หรือพื้นที่ภัยพิบัติ เมื่อค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) เกิน 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยให้ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัด อำเภอ เขต เมือง เทศบาล ตำบล บูรณาการหน่วยงาน ยกระดับมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้สถานการณ์กลับสู่สภาวะปกติโดยเร็ว
สำหรับการดำเนินงานแก้ไขปัญหา ระยะบรรเทา (พฤศจิกายน – กรกฎาคม)
10. ให้กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย และกรุงเทพมหานคร จัดเตรียม ห้องปลอดฝุ่น หน้ากากอนามัย รวมถึงยารักษาโรคเพื่อรองรับสถานการณ์ฝุ่นละออง และในช่วงสถานการณ์ฝุ่นละอองให้ แจกจ่ายอุปกรณ์ป้องกันฝุ่น ยารักษาโรค และเร่งจัดบริการด้านการแพทย์และการสาธารณสุข ทั้งหน่วยบริการตรวจสุขภาพประชาชน คลินิกมลพิษเคลื่อนที่ คลินิกออนไลน์ ในทุกจังหวัด พร้อมจัดตั้งศูนย์ตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็กในทุกระดับ
มาตรการที่ดำเนินการตลอดทั้งปี
11. ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจัดตั้งศูนย์ข้อมูลคุณภาพกอากาศแห่งชาติ
12. ให้สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผลักดันกฎหมายว่าด้วยอากาศสะอาด
13. ให้สำนักงานงบประมาณ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พิจารณาจัดทำงบประมาณในลักษณะบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ประเด็นการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองภายในปี 2568
14. ให้ทุกหน่วยงานสื่อสารประชาสัมพันธ์และสร้างการับรู้สู่สาธารณะ
ส่วนสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก ( PM2.5) วันนี้ที่จังหวัดราชบุรี เมื่อเวลา 16.00 น.วัดได้ 46.6 มคก./ ลบ.ม. เป็นสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ขอให้ประชาชนทั่วไปใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้ง ที่ออกนอกอาคาร จำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ จาม หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ประชาชนกลุ่มเสี่ยงใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: