X

รับบริจาคขยะ ขายขยะ นำเงินกลับสู่ชุมชนและช่วยลดโลกร้อน

ราชบุรี     ในวันนี้( 9 ก.ย. 67 )  นายสินาด รุ่งจรูญ  เทศบาลตำบลหลักเมือง อ.เมือง จ.ราชบุรี  ร่วมกับ พระครูโสภณปัญญาวรวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดท้ายเมือง นางสาวกุลวลี นพอมรบดี ส.ส. ราชบุรี เขต 1 พรรครวมไทยสร้างชาติ และผู้บริหาร พนักงาน เจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลหลังเมือง  ได้จัดกิจกรรมรับบริจาคขยะรีไซเคิล ลดโลกร้อน  ดีต่อเรา ดีต่อโลก ที่บริเวณด้านหน้าสำนักงานเทศบาล  มีชาวบ้านในชุมชนทยอยนำขวดพลาสติก  ขวดแก้ว ลังกระดาษ  กระป๋องเครื่องดื่ม  ทำจากอลูมิเนียม และหม้อหุงข้าว ทีวีเก่า และวัสดุต่าง ๆ ที่ไม่ใช้แล้วอีกหลายอย่าง  มามอบให้กับเจ้าหน้าที่เทศบาลได้ทำการคัดแยก เพื่อสะดวกต่อการนำไปขาย

            สำหรับกิจกรรมการรับบริจาคขยะรีไซเคิล ลดโลกร้อน ดีต่อเรา ดีต่อโลก  และการสร้างนวัตกรรมการรับบริจาคขยะรีไซเคิล เพื่อนำไปจำหน่าย เป็นค่าใช้จ่ายในการทำกิจกรรม “ หลักเมือง รวมน้ำใจ เติมฝัน ปันสุข ”  ในการช่วยดูแลผู้ป่วยพาไปพบแพทย์หรือที่เรียกว่า แคร์ ยู สำหรับผู้ป่วยที่มีไม่ญาติ เป็นการแบ่งเบาภาระของครอบครัวของผู้ป่วยอีกทางหนึ่ง ยังเป็นประโยชน์ต่อสังคม และดีต่อสิ่งแวดล้อม  กิจกรรมการรับบริจาคขยะรีไซเคิล ได้เริ่มจัดมาตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2567 ขณะนี้มีปริมาณขยะรีไซเคิลที่รับบริจาคเป็นจำนวน  4,110.4  กิโลกรัม เทศบาลสามารถลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะและปริมาณขยะรีไซเคิลที่ได้รับบริจาค เมื่อนำมาคำนวณเป็นปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ถึง 10 ตันคาร์บอนไดออกไซด์

        ด้านนายสินาด รุ่งจรูญ  นายกเทศมนตรีตำบลหลักเมือง กล่าวว่า เทศบาลฯพยายามจะทำเรื่องขยะรีไซเคิลจากพนักงานเทศบาล ซึ่งจะเริ่มจากพนักงานก่อนที่ได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี  เดือนหนึ่งจะมีการคัดแยกขยะ 1 ครั้ง จากบ้านนำมาที่เทศบาล  เพื่อนำไปขายนำเงินมาเข้ากองทุนหลักเมืองรวมน้ำใจ เติมฝัน ปันสุข  ซึ่งเงินนี้เมื่อเข้าไปอยู่ในกองทุนแล้ว  จะมาคืนสู่ชุมชน โดยที่จะนำเงินที่ได้เข้าไปเยี่ยมผู้ป่วยโดยเฉพาะผู้ป่วยติดเตียง ผู้ยากไร้  บ้านที่ถูกอุทกภัยต่าง ๆ  บางทีงบของเทศบาลกว่าที่จะเบิกจ่ายได้อาจจะล่าช้า  อย่างน้อยเงินนี้ยังได้นำกลับสู่ชุมชน และอีกโครงการที่เทศบาลฯได้ดำเนินการทำอยู่ คือ โครงการ แคร์ ยู โดยการนำผู้ป่วยที่ไม่มีญาติพี่น้อง จะนำแคร์ ยูนั่งรถไปโรงพยาบาลด้วย  และจะนำเงินในกองทุนจำนวน 300 บาท  เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้กับผู้ที่ได้นั่งรถช่วยดูแลผู้ป่วย  ทั้งการเข็นผู้ป่วย การพาไปหาหมอ ตรวจเลือด จนได้รับยาส่งตัวกลับบ้าน คือจบงานการดูแลผู้ป่วยแต่ละครั้ง

ส่วนขยะที่ได้ในวันนี้จะนำไปขายตามร้านค้าทั่วไป ซึ่งได้มีการประชาสัมพันธ์เชิญชวนประชาชนทุกหลังคาเรือน บ้านไหนที่มีการบริจาคขยะ ทางเทศบาลจะมีรถไปรับถึงบ้าน  เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ชาวบ้าน  ส่วนการคัดแยกจะเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่จากกองสาธารณสุขคอยคัดแยกทั้งประเภทต่าง ๆ เพื่อนำไปขายต่อไป

จากการสอบถามราคาขยะแต่ละชนิดจากเจ้าหน้าที่ทราบว่า  ขวดพลาสติกใสเมื่อลอกสติ๊กเกอร์ป้ายข้อความออกแล้วจะนำไปขายได้ราคากิโลกรัมละ 7 – 8 บาท  ส่วนขวดพลาสติกที่มีการสกรีนข้อความยี่ห้อติดที่ขวดจะมีราคาต่ำกว่าขายอยู่ราคากิโลกรัมละ  4 บาท ฝาขวดกิโลกรัมละ  2 บาท  กระป๋องเครื่องดื่มกิโลกรัมละ  3 – 4 บาท และอื่น ๆ  อีกหลายประเภทขึ้นอยู่กับวัสดุที่แตกต่างกัน

 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

Picture of สายชล โอชะขจร

สายชล โอชะขจร

ผู้สื่อข่าวราชบุรี