X

นำขนไก่งวงมาสร้างมูลค่าเพิ่ม

ราชบุรี ในพื้นที่อำเภอปากท่อ จ.ราชบุรี มีการรวมตัวกันเลี้ยงไก่งวงสายพันธุ์ต่างๆเพื่อไว้ขาย รวมทั้งแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ จำหน่ายหลากหลายเมนู ทั้งน้ำพริกไก่งวง ไก่งวงจ้อทอด ลาบไก่งวง ผัดเผ็ดไก่งวง และยังมีไก่งวงอบ อีกทั้งขายเป็นตัวเป็นผลิตภัณฑ์ส่งจำหน่ายทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัดได้รับความสนใจจากธุรกิจโรงแรม ร้านค้าต่างๆ ทั้งตลาดนัดเกษตรกรของรัฐ รวมทั้งผู้ที่ชื่นชอบเนื้อไก่งวงสั่งซื้ออย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย ทำให้ธุรกิจการเลี้ยงไก่งวงของวิสาหกิจชุมชนไก่งวง อ.ปากท่อ เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ตัวไก่งวงนั้นไม่ได้มีมูลค่าแค่เพียงตัวเท่า แม้แต่ขนของไก่งวงก็สามารถสร้างมูลค่าให้กับคนเลี้ยงไก่งวงได้เป็นอย่างดี โดยมีการนำขนไก่งวงที่ร่วงหล่นอยู่ตามพื้นดินไปขายในราคากิโลกรัมละ 2,000 บาท นำมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์สไตล์ต่างๆ รูปแบบแฮนเมด ทั้งหมวก สายคาดหมวก และเครื่องประดับอื่นๆ ถือเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับขนไก่งวงได้เป็นอย่างดี

    ด้านนายพลชัย เข็มเจริญ หรือ ต๋อง อินเดี้ยน ซึ่งเป็นผู้ที่รับซื้อขนไก่งวงเพื่อนำมาผลิตเป็นสินค้าทำมือ (แฮนเมด) ก็บอกว่า เกิดจากวิสาหกิจชุมชนที่นี่ ซึ่งนำไก่งวงไปแปรรูป หลังจากนั้นเหลือวัตถุดิบถือเป็นสิ่งที่มีค่า ซึ่งมีน้อยกลุ่มมากที่จะนำมาพัฒนาต่อยอดทำเป็นผลิตภัณฑ์ได้ส่งต่อเป็นธุรกิจขึ้นมาได้ เป็นการช่วยเหลือพี่น้องในกลุ่มวิสาหกิจสามารถสร้างงาน ซึ่งสินค้าที่ผลิตขึ้นมาไม่เฉพาะในประเทศไทยที่นิยม ต่างประเทศยังคงให้ความสนใจนิยมทำกันมาก ไม่ว่าจะขนจากชิ้นส่วนต่างๆหลายขนาดที่มีคุณค่า มีความหมาย รูปแบบที่ทำขึ้นมานี้เป็นแบบของอเมริกันพื้นเมืองเป็นรูปแบบของชาวอินเดียนแดงทางโซนของอเมริกา มีวัตถุดิบทั้งขนอ่อน ขนใหญ่ ขนเล็ก เช่น แบบหัววอเวนเนต เป็นหัวนักรบชนเผ่าซึ่งมีการพัฒนาไปเรื่อยๆ หรืออีกหลายแบบที่สร้างขึ้นเพื่อใส่ในการเฉลิมฉลอง นอกจากนี้ยังมีเข็มขัดคาดหมวก เข็มขัดคาดหน้า แนวยิปซี และเครื่องประดับได้อีกหลายอย่าง และที่นี่ยังต่อยอดเชิงด้านการท่องเที่ยวในแนวรูปแบบคาวบอย ยิปซี รูปแบบอินเดี้ยน น่าจะเป็นไปได้ในอนาคต สำหรับการจำหน่ายมาจากพรีออเดอร์ และงานคอสตูม ไม่ว่าจะเป็นงานแต่ง ถ่ายรูปพรีเวดดิ้งจะนิยมใช้กันบ่งบอกถึงความรักที่บริสุทธิ์และอมตะ ถูกกำหนดตายตัวโดยธรรมชาติเป็นสินค้าแฮนเมด งานทำมือจึงทำให้ดูมีคุณค่าและมีราคา ซึ่งคนเลี้ยงสามารถเก็บขนไก่งวงได้ช่วงปลายฝนต้นหนาวยาวไปถึงเดือนกุมภาพันธ์ ส่วนราคาของสินค้าแฮนเมดที่ตนทำนั้นมีขายตั้งแต่หลักร้อยจนถึงหลักหมื่นบาท อย่างหัวที่มีรูปแบบแปลกและใช้ขนจำนวนมากก็จะมีราคาตั้งแต่ 5,500 บาท – 25,000 บาท

      ส่วนนางสาวศรีสุนันท์ เดชบุตร ประธานกลุ่มวิสาหกิจไก่งวงราชบุรี กล่าวว่า ตอนนี้เลี้ยงไก่งวงอยู่ประมาณ 500-600 ตัว ส่วนขนที่จะนำไปใช้ในการทำหมวกจะใช้ความยาว 10-12 นิ้วเป็นขนบริเวณปีก แต่ถ้าจะเอาไปทำจำพวกอย่างอื่นเช่น เครื่องประดับจะใช้ขนาดเล็กลง ไป จะแยกลักษณะขนาดขนสั้น ขนยาว ขนนุ่ม ขนปลายปีก จะขายส่งอยู่กิโลละ 2,000 บาท หรือประมาณเส้นละ 2 บาท หลังจากแยกขนาดแล้วก็นำไปซักโดยใช้ยาสระผมนำไปปั่นในเครื่องซักผ้าปั่นแห้งก็เสร็จใช้การได้แล้ว เป็นการขายนอกเหนือที่เราขายเนื้อไก่งวงไปแล้ว ยังสามารถนำขนไก่งวงมาสร้างงานสร้างอาชีพต่อได้อีก สามารถให้คนในชุมชนที่เป็นผู้สูงอายุ หรือคนว่างงานมาทำเครื่องประดับ หมวก สายคาดหน้า ได้หลากหลายชิ้นงาน โดยเราจะส่งให้สมาชิกในกลุ่มได้ช่วยกันทำขึ้น จากนั้นก็จะมีเพื่อนรับไปขายต่อให้ลักษณะเป็นเครือข่ายต่อยอดกันไปเรื่อยๆ ตอนนี้ผลิตภัณฑ์ที่ขายดีมากจะเป็นจ๊อไก่งวง ขายกิโลกรัมละ 300 บาท น้ำพริกเผาไก่งวง ไส้อั่วไก่งวง ถ้าเป็นเนื้อชำแหละหน้าฟาร์มขายกิโลกรัมละ 180 บาท โดยมีเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์เข้ามาส่งเสริมด้านการแปรรูป ให้คำแนะนำมาตรฐานการเลี้ยง ช่วยเรื่องช่องทางการตลาด หาช่องทางการขาย แนะนำการขาย นำไปออกบูธต่างๆ ด้วย

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

Picture of สายชล โอชะขจร

สายชล โอชะขจร

ผู้สื่อข่าวราชบุรี