ดร.นาที รัชกิจประการ ลงพื้นที่ร่วมดำนากับชาวบ้านริมทะเลสาบสืบสานและตระหนักถึงคุณค่าของภูมิปัญญาที่บรรพบุรุษที่สร้างไว้
วันนี้ 29มิย2563 เวลา 07.30น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บริเวณริมทะเลสาบสงขลาฝั่งจังหวัดพัทลุง หมู่ที่ 8 ตำบลลำปำ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ดร.นาที รัชกิจประการ ได้ลงพื้นที่เพื่อร่วมดำนากับชาวบ้านริมทะเลสาบ โดยมี ผอ.การท่องเที่ยวจังหวัดพัทลุง ผอ.เขตพื้นที่การประถมศึกษาเขต 1 ปลัดอำเภอเมืองพัทลุง ชุดปฎิบัติหน้าที่นายอำเภอเมืองพัทลุง เกษตรอำเภอเมืองพัทลุง หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลหลวง และ นายภุชงค์ วรศรี ประธานสภา อบจ.พัทลุง นายสุพัฒน์ มุลเมฆ นายก อบต.ชัยบุรี ได้ร่วมกันปลูกข้าวในพื้นที่ดังกล่าวเพื่อ วัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนและบุคคลทั่วไปสืบสานเรียนรู้และตระหนักถึงคุณค่าของภูมิปัญญาที่บรรพบุรุษชาวปากประ ได้สร้างไว้ รวมถึงการปลูกจิตสำนึก การรักษาท้องถิ่นให้กับนักเรียน โดยผ่านการ ปลูกข้าวลงแขกดำนา ซึ่งเป็นการสร้างสรรค์สังคมและวัฒนธรรมชาวบ้านชุมชนปากประให้คงอยู่สืบไป
ข่าวน่าสนใจ:
ซึ่งวิถีทำนาในทะเลสาบหนึ่งเดียวของประเทศไทย โดยชาวประมงริมทะเลสาบสงขลาฝั่งจังหวัดพัทลุง ส่วนใหญ่มีอาชีพหลัก คือการออกเรือหาปลา เนื่องจาก บ้านเรือนตั้งอยู่ริมทะเลสาบสงขลา คิดค้นหาวิธีการเพาะปลูกพืชในทะเลสาบ หรือริมฝั่งริมทะเลสาบ เพื่อให้มีผลผลิตเลี้ยงครอบครัว มาตั้งแต่บรรพบุรษของพวกเขา คิดค้นการทำนาข้าวในทะเลสาบโดยใช้พื้นที่ริมชายฝั่งทะเลสาบที่ทอดยาวตามแนวชายฝั่งเกือบ 10 กิโลเมตร มาทำการเพาะปลูกโดยแต่ละปีจะทำนาข้าวลักษณะนี้ ได้เพียงครั้งเดียวตั้งแต่ช่วงเริ่มปักดำมิถุนายน และเก็บเกี่ยวเดือนกันยายนของทุกปี ซึ่งปีนี้เป็นปีที่ท้องทะเลสาบบริเวณดังกล่าวมีความอุดมสมบรูณ์มากที่สุดในรอบหลายๆ ปีที่ผ่านมา ชาวบ้านจึงได้ทำนาข้าวในทะเลสาบตามแนวชายฝั่งกว่า 6 กิโลเมตร แต่ละแปลงจะทำนาจากชายฝั่งลงไปในทะเลประมาณไม่กว่า 30 เมตร
นายสายัณ รักดำ กรรมการสถานศึกษาโรงเรียนวัดปากประ เล่าว่า ชาวบ้านได้ทำนาข้าวบริเวณนี้บนพื้นที่ประมาณ 4 ไร่ มานานกว่า 40 ปีแล้ว และยังมีเพื่อนบ้านอีกจำนวนหลายครัวเรือนทำเช่นเดียวกัน รวมพื้นที่กว่า 800 ไร่ โดยจะเริ่มปักดำตั้งแต่กลางเดือนมิถุนายน และเก็บเกี่ยวผลผลิต ในช่วงปลายเดือนกันยายนของทุกปี โดยใช้เวลาประมาณ 3 เดือนครึ่ง เหตุผลที่เลือกทำนาในช่วงเวลานี้ เป็นเพราะน้ำในทะเลสาบจะเป็นน้ำกร่อย และเป็นช่วงน้ำลงมากที่สุด หากเกินช่วงเวลาดังกล่าวจะไม่ได้ผลผลิต เพราะน้ำทะเลจะหนุนสูงท่วมต้นข้าวเสียหาย สำหรับเพาะปลูกข้าวที่นี่ ต้องหาพันธุ์ข้าวที่ลำต้นแข็งแรง มีรากลึก และต้นข้าวเมื่อเจริญเติบโตแล้วต้องมีความสูง และสามารถต้านทานกับสภาพแรงลมและคลื่นขนาดเล็กที่ซัดเข้าหาฝั่งได้ ดังนั้นชาวบ้านจึงนิยมใช้พันธุ์ข้าว กข.55 และพันธุ์ข้าวหอมราชินี
หลังจากเตรียมพื้นที่แล้ว ก็จะนำต้นกล้าที่เพาะได้ความสูงประมาณ 40-45 เซนติเมตร ไปปักดำโดยใช้ต้นกล้า 5-6 ต้นต่อหนึ่งกอ ปักดำให้ลึกประมาณ 10 – 15 เซ็นติเมตร เพื่อให้มีความแข็งแรงต่อคลื่นขนาดเล็ก ขณะรักษานั้นไม่ยุ่งยากและไม่ต้องเงินในการซื้อปุ๋ย เนื่องจากพื้นที่บริเวณนี้ มีตะกอนแร่ธาตุจากธรรมชาติไหลมาทับถมอยู่ แล้ว และยังมีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่ตลอดเวลา ตามการขึ้นลงของน้ำในทะเลสาบ เกษตรกร จึงได้รับผลผลิตอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย และเมื่อต้นข้าวเจริญเติบโตแล้ว ยังกลายเป็นแหล่งอาศัยของ กุ้ง หอย ปู ปลา ขนาดเล็กอีกด้วย ซึ่งเป็นผลพลอยได้ที่ชาวบ้านได้อีกทอดหนึ่ง
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: