ผู้สื่อข่าว จ.พัทลุง รายงานว่า เมื่อตอนเช้าวันที่ (9 กรกฎาคม 63) ที่ริมทะเลสาบลำปำ(ทะเลสาบสงขลา ตอนใน) บริเวณด้านหลังโรงเรียนวัดปากประ อ.เมืองพัทลุง โดยมีนายสายัน รักดำ กรรมการสถานศึกษาโรงเรียนวัดปากประ นางจารุวรรณ ทองวิเศษ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดปากประ นักเรียน ชาวบ้าน ชาวนา และ นายกู้เกียรติ วงศ์กระพันธุ์ ผวจ.พัทลุง เป็นประธานเปิดกิจกรรม “ เจ้าเมือง ลงแขกดำนา ทำนาริมเล “ ซึ่งอำเภอเมืองพัทลุง สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดพัทลุง และโรงเรียนวัดปากประ ได้ร่วมกันจัดขึ้น ทั้งนี้ โรงเรียนวัดปากประได้จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้วิถีชีวิตชาวปากประ และระบบนิเวศริมทะเลสาบในพื้นที่บ้านปากประผ่านการทำนาริมเล ซึ่งเป็นวิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นที่บรรพบุรุษชาวปากประได้สร้างไว้
โดยริมทะเลสาบในแถบจังหวัดพัทลุงนั้นมีความพิเศษ คือ จะเป็นดินตะกอนที่น้ำพัดพามาทับถม ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ที่เหมาะแก่การเพาะปลูก สำหรับสายพันธุ์ข้าวที่ปลูกในครั้งนี้ ได้แก่ สายพันธุ์มะลิพวง สายพันธุ์ กข.43 ซึ่งการดำเนินงานในครั้งนี้นอกจากเป็นการสร้างจิตสำนึกรักษ์ท้องถิ่นให้กับผู้เรียน ประชาชนแล้ว ยังเป็นการสนับสนุนส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรม และระบบนิเวศในชุมชนบ้านปากประอีกด้วย
ข่าวน่าสนใจ:
- ฝนตกหนักสัญญาณเตือนภัยน้ำป่าเขาบรรทัดส่งสัญญาณเตือนเสียงดัง จ.พัทลุง
- มหกรรมอาหารทะเลพื้นบ้านประมงเรือเล็กระยอง อาหารทะเลสดๆ-สินค้าชุมชน ชมคอนเสิร์ตศิลปินชื่อดัง
- ตรัง จัดใหญ่ 12 วัน งานฉลองรัฐธรรมนูญและงานกาชาดจ.ตรัง 4-15 ธ.ค.นี้ รีแบร์นใหม่! ย้อนยุคงานเหลิมแต่แรก แสดงบินโดรนพิธีเปิด วธ.ทุ่ม 3.4 ล้าน…
- เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 โรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
ด้านนางสำรวย เรืองเอียด อายุ 66 ปี ซึ่งเป็นปราชญ์ชาวบ้านในการทำนาริมทะเลสาบสงขลา เผยว่า การทำนาริมทะเลสาบนั้นได้ทำกันมาหลายอายุคน สำหรับตนนั้นเริ่มทำนาริมเล (ริมทะเล)ตั้งแต่อายุ 14 ปี การทำนาดังกล่าวนี้จะเริ่มด้วยการหว่านข้าวในพื้นที่ริมทะเลสาบในช่วงเดือน พฤษภาคม และมีการถอนกล้าเพื่อนำไปปักดำในช่วงเดือน มิถุนายน โดยในช่วงปักดำนั้นจะต้องดูระดับน้ำในทะเล และเป็นวันที่คลื่นพัดไม่แรง จากนั้นในเดือน ตุลาคม – พฤศจิกายน ก็สามารถเกี่ยวผลผลิตได้ ซึ่งการนำนาริมเลนั้นไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมี ไม่ต้องใช้ยาปราบศัตรูพืชแต่อย่างใด และชาวบ้านยังสามารถจับพันธุ์สัตว์น้ำที่เข้ามาอยู่อาศัยในพื้นที่นาข้าวได้อีกด้วย ส่วนผลผลิตนาขาวดังกล่าวนี้จะให้ผลผลิตสูงถึง 600-700 กิโลกรัม/ไร่ โดยเฉพาะปีไหนที่ฝนตกหนัก นำท่วมสูง คลื่นในทะเลจะพัดดินตะกอนมายังชายฝั่งเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะส่งผลให้นาข้าวเจริญงอกงามและให้ผลผลิตสูงที่น่าพอใจยิ่ง ซึ่งการนำนาริมทะเลดังกล่าวนี้มีเพียงแห่งเดียวของภาคใต้และของประเทศ จนได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก
ภาพ/ข่าว : ณรงค์ศักดิ์ บุญน้อย | นายสุธรรม คงเพชร
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: