จากสถานการณ์โรคโควิดระบาดอย่างหนัก ผู้ว่าฯสั่งงดจัดกิจกรรมประเพณีลากเรือพระ ที่ยิ่งใหญ่ของชาวจังหวัดพัทลุงหลังวันก่อนพรรษาปีนี้ เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่มีคนรวมตัวเป็นจำนวนมากหวั่นเชื้อโควิดระบาดเพิ่ม จาการสัมผัส อยู่ใกล้ชิด และรับประทานอาหารร่วมกัน
ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดพัทลุงว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 พื้นที่ของจังหวัดพัทลุงอย่างหนักในช่วง 2 อาทิตย์ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน พบผู้ป่วยรายใหม่แต่ละวันไม่ต่ำกว่า 170 ราย ต่อวันและพบผู้ป่วยกระจายทุกอำเภอของจังหวัดพัทลุง หนักสุดพบผู้ป่วยรายใหม่แต่ละมากสุดในอำเภอกงหรา และอำเภอปากพะยูน ล่าสุดวันนี้พบผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 178 ราย รวมผู้ป่วยสะสม 7674 ราย และเสียชีวิตแล้วจำนวน 65 ราย
จากสถานการณ์ดังกล่าวพบว่าพื้นที่ของจังหวัดพัทลุง พบผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นซึ่งส่วนใหญ่ผู้ป่วยรายใหม่ติดเชื้อจากพบปะกันเดินทางไปมาหาสู่กันระหว่างญาติพี่น้องจากจังหวัด หรือการรวมตัว งานแต่ง และงานศพ ภายในหมู่บ้าน ขณะที่ทางอำเภอกงหรา และอำเภอปากพะยูน ได้ประกาศขอความร่วมมือให้ประชาชนงดเดินทางเข้า ออก พื้นที่เสี่ยงสูง และพื้นที่กักตัวผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยอย่างเด็ดขาด รวมถึงการสั่งปิดตลาดนัดภายในหมู่บ้านที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด เพื่อทำความทำสะอาด
ซึ่งจังหวัดพัทลุงเป็นจังหวัดหนึ่งที่เป็นพื้นที่เสี่ยงสูงในกลุ่มสีแดงของภาคใต้ดังนั้น นายกู้เกียรติ วงศ์กระพันธุ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง ได้ประกาศสั่งงดจัดกิจกรรมประเพณีลากเรือพระ ทั้งจังหวัดพัทลุงในปีนี้ที่จะถึงวันที่ 22 ตุลาคม 2564 ที่เป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่ของชาวจังหวัดพัทลุง ในช่วงหลังวันออกพรรษาของทุกปี เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่มีคนรวมตัวเป็นจำนวนกันเป็นจำนวนมากหวั่นเชื้อโควิดระบาดเพิ่ม จาการสัมผัส อยู่ใกล้ชิด และรับประทานอาหารร่วมกัน สำหรับกิจกรรมประเพณีลากเรือพระ นั้นเป็นประเพณีที่ชาวจังหวัดพัทลุง และประชาชนคนใต้สืบทอดกันมายาวนาน สำหรับประเพณีลากพระ เป็นประเพณีในพุทธศาสนาของชาวไทยภาคใต้มาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล ทำกันหลังวันมหาปวารณา หรือวันออกพรรษา 1 วัน คือ ตรงกับวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 โดยพุทธศาสนิกชนพร้อมใจกันอาราธนาพระพุทธรูปขึ้นประดิษฐานบนบุษบกที่วางอยู่เหนือเรือ รถ หรือล้อเลื่อน แล้วแห่แหนชักลากไปตามลำน้ำ หรือตามถนนหนทาง ถ้าท้องถิ่นใดอยู่ริมน้ำหรือลำคลองก็ลากพระทางน้ำ ถ้าท้องถิ่นใดห่างไกลจากลำน้ำ ลำคลองก็ลากพระทางบก แล้วแต่สภาพภูมิประเทศจะเหมาะแก่การลากประเภทใดมากกว่ากัน
การที่เกิดเป็นประเพณีลากพระขึ้นในภาคใต้จนกลายเป็นประเพณีที่สำคัญ เพราะมีคตินิยมดั้งเดิมอย่างอื่นเป็นพื้นฐานประกอบด้วย คือ ในเดือน 11 นั้น เป็นช่วงที่ภาคใต้สู่ฤดูฝน ประชาชนส่วนมากประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยต่างก็ปรารถนาเหมือนกันคือให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล งานบุญลากพระจึงมุ่งขอฝนเพื่อทางการเกษตร จนเกิดเป็นคติความเชื่อว่าการลากพระทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: