ช่วงเทศกาลออกพรรษา พระภิกษุชาวบ้านจะร่วมมือร่วมใจกัน “เร่งทำเรือพระแบบดั้งเดิมโดยใช้ไม้ทั้งลำ” เพื่อชักลากงานประเพณีชักพระ สืบสานวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมของชาวภาคใต้ ในวันออกพรรษา
ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดพัทลุง ที่จังหวัดพัทลุงบรรยากาศการทำเรือพระ งานประเพณีชักพระของชาวใต้ ในช่วงเทศกาลวันออกพรรษาที่จะมาถึงในวันพรุ่งนี้ 11 ตุลาคม 2565 พบว่าวัดต่าง ๆ ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ต่างเร่งจัดทำเรือพระกันอย่างคึกคัก อย่างเช่น วัดควนมะพร้าว อำเภอเมืองพัทลุง เป็นหนึ่งในบรรดาวัดต่าง ๆ ที่ได้จัดทำเรือพระแบบดั้งเดิมโดยใช้ไม้เป็นส่วนประกอบตั้งพื้นล่างจนถึงยอดของเรือพระเป็นประจำทุกปี และที่สำคัญหัวพญานาคทั้ง 2 หัว ของเรือพระมีอายุถึง 65 ปี ซึ่งวัดแห่งนี้ก็จะมีทั้งพระลูกวัด ชาวบ้านในพื้นที่ใกล้เคียง ก็จะมาช่วยกันทำเรือพระโดยแบ่งหน้าที่กันทำ ทาสีหัวพญานาค ลำตัว และส่วนหาง ที่อยู่ 2 ข้างลำเรือพระ พร้อมทั้งวาดภาพลายกนกไทย ภาพวาดตอนพระพุทธเจ้าไปโปรดพระมารดาบนชั้นดาวดึงส์ และลงมาโปรดโลก 3 โลก ทั้งสวรรค์ มนุษย์ ยมโลก นำมาเป็นหลักในการออกแบบเชิงศิลปะ และทาสีชิ้นส่วนต่าง ๆ ซึ่งเรือพระของวัดควนมะพร้าว แห่งนี้มีขนาดความยาวจากหัวเรือ หรือหัวพญานาคจนถึงหาง จำนวน 10 เมตร กว้าง 3 เมตร และ สูง 5 เมตร ให้แล้วเสร็จเพื่อจะชักลากเรือพระออกจากวัด ไปร่วมงานประเพณีชักลากเรือพระ วันออกพรรษา
ขณะเดียวที่วัดโคกข่อย เขตเทศบาลเมืองพัทลุง ชาวบ้านก็ได้เร่งกันทำพร้อมตกแต่งลายผ้า วาดภาพตอนพระพุทธเจ้าไปโปรดพระมารดาบนชั้นดาวดึงส์ พร้อมลงสีบนเรือพระ เพื่อความสวยงามทั้งวันทั้งคืนเพื่อทันในการชักลากเรือพระ ในวันออกพรรษาตามประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวใต้ สำหรับเรือพระ ของวัดโคกข่อย นั้นก็จะเป็นเรือพระแบบดั้งเดิมเช่นใช้ไม้เป็นส่วนประกอบทั้งลำ ซึ่งมีความตั้งแต่หัวจนถึง ประมาณ 9 เมตร กว้าง 3 เมตร และสูงประมาณ 4.5 เมตร สำหรับในปีเรือพระจากวัดต่างๆ ของอำเภอเมืองพัทลุง และในพื้นที่ใกล้เขตเทศบาลเมืองพัทลุง จะได้ร่วมกันสมโภชบริเวณตลาดเขตเทศบาลเมืองพัทลุง ระหว่างวันที่ 11-13 ตุลาคม 2565
สำหรับเรือพระแบบดั้งเดิมนั้น ตัวเรือพระจะใช้ไม้เป็นส่วนประกอบ ตั้งแต่ฐานซึ่งเป็นหัวพญานาค ลำตัว ยาวตลอดจนถึงส่วนหางของตัวพญานาค ส่วนตรงกลางจะเป็นตัวเรือพระ เพื่อตั้งบุษบกซึ่งภายในบุษบกจะมีพระพุทธรูปปางห้ามประดิษฐาน ตลอดการชักลากเรือพระ และการชักลากเรือแบบดั้งเดิมแต่ละลำมีน้ำหนักมาก ต้องใช้คนชักลากไม่กว่า 50 คน เรือพระถึงจะเดินหน้าไปได้ ขณะที่บางวัดทำเรือพระแบบสมัยใหม่ โดยใช้ล้อเลื่อนและโฟมตัดแต่งชิ้นส่วนตกแต่งอย่างสวยงาม เป็นส่วนประกอบ ซึ่งนอกจากการได้ช่วยกันอนุรักษ์ประเพณีแล้ว ก็ยังเกิดความสามัคคี อีกด้วยซึ่งเรือพระแต่ลำหนึ่งกว่าจะแล้วเสร็จก็ใช้เวลาหลายวัน จึงความสามัคคีในหมู่บ้าน วัดในหมู่บ้าน รวมถึงชุมชนในพื้นที่ด้วย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: