งานพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ ไหว้ครูบูรพาจารย์ ตามรอยพิธีกรรมสำนักเขาอ้อ ประจำปี 2562 สืบสานประเพณีโบราณระหว่างวันที่ 10 – 12 กุมภาพันธ์ 2562 ได้เริ่มขึ้นแล้ว
ที่วัดเขาอ้อ ตำบลมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ค่ำวานนี้ (11 ก.พ.62 ) นายศิลป์ชัย รามณีย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง ได้เป็นประธานเปิดงานทำบุญบูรพาจารย์ ตามรอยพิธีกรรมสำนักเขาอ้อ ประจำปี 2562 ตามที่วัดเขาอ้อ ได้ร่วมกับสานุศิษย์ และองค์กรต่าง ๆ เช่น สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดพัทลุง อำเภอควนขนุน เทศบาลตำบลบ้านสวน เป็นต้น ได้ร่วมกันจัดขึ้นเพื่อ รำลึกถึงคุณความดีของอดีตบูรพาจารย์ และทำบุญอุทิศให้กับบูรพาจารย์แห่งสำนักเขาอ้อ ทั้งบูรพาจารย์สายพุทธ และสายพราหมณ์ ที่ได้สืบทอดวิชาโบราณ ช่วยเหลือสังคมและประเทศชาติมาจนถึงปัจจุบัน และเพื่อเผยแพร่เกียรติคุณของวัดเขาอ้อในฐานะสำนักตักสิลาที่เหลือเพียง แห่งเดียวในประเทศไทย ให้เป็นที่รู้จักของสารธารณชนอย่างกว้างขวาง และเพื่อสิ่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดพัทลุง
ข่าวน่าสนใจ:
- มุกดาหาร -เหิม! ขบวนการค้าของเถื่อนลักลอบส่งบุหรี่ไฟฟ้าข้ามแม่น้ำโขงใกล้กับสะพานมิตรภาพ 2
- เพชรบูรณ์ - นักท่องเที่ยวสุดเซ็ง! วางแผนไปเที่ยวเขาค้อภูทับเบิก หลังรู้ข่าวต้องเจอ"ทริปน้ำไม่อาบ" ยอมยกเลิกหรือปรับไปเที่ยวที่อื่นแทน
- สงขลา M79 ถล่มเเคมป์คนงานสร้างเจ้าแม่กวนอิม บาดเจ็บ 3 ราย พื้นที่ อ.เทพา
- ตรัง ชื่นชมชุมชนท่องเที่ยวร่วมใจเก็บขยะบนเกาะเหลาเหลียง
สำหรับกิจกรรมหลัก ๆ ในงานตามรอยพิธีกรรมสำนักเขาอ้อ ประจำปี 2562 ประกอบด้วยพิธีบวงสรวงพญานาคราช พิธีแช่ว่านยา พิธีหุงข้าวเหนียวดำ กินข้าวเหนียวดำ พิธีสะเดาะเคราะห์ พิธีทำบุญบูรพาจารย์ และ มหรสพพื้นบ้านการแสดงมโนราห์ และการแสดงวงดนตรีของวงมาลีฮวนนา ในคืนวันที่ 12 กุมภาพันธ์ เป็นต้น
สำหรับวัดเขาอ้อเดิมเป็นสำนักทิศาปาโมกข์แบบเดียวกันกับในประเทศอินเดีย มีหลักฐานว่าก่อตั้งมาก่อนปี พ.ศ. 800 ผู้ก่อตั้ง เป็นพวกพรหมณาจารย์ผู้ทรงเวทย์ที่เดินทางมาจากประเทศอินเดีย เป็นยุคสมัยที่ศาสนาพราหมณ์เริ่มเคลื่อนย้ายออกจากประเทศอินเดียเพื่อจะขยายฐานศรัทธาของศาสนาพราหมณ์ ออกมานอกประเทศอินเดีย ก่อนที่ศาสนาพุทธจะตามออกมาในภายหลัง ซึ่งตามหลักฐานหลายอย่างทำให้เชื่อว่า ศาสนาพุทธได้เริ่มมาตั้งมั่นในเมืองนครศรีธรรมราชราวปี พ.ศ. 800 แสดงว่าสำนักเขาอ้อมีอยู่แล้วในขณะนั้น โดยเป็นที่บำเพ็ญพรตของพราหมณ์ผู้ทรงวิทยาคุณทำหน้าที่ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่เชื่อพระวงศ์ หรือวรรณะกษัตริย์ และลูกหลานผู้นำ เพราะพราหมณ์เป็นชนชั้นสูง มีความรอบรู้ รักสงบ มีความประนีประนอม และมีความคิดกว้างไกล โดยนอกจากจะมีวิชาเกี่ยวกับการปกครองตามตำราธรรมศาสตร์แล้ว ยังมีเรื่องพิธีกรรม ฤกษ์ยาม การจัดทัพตามตำราพิชัยสงครามตลอดถึงไสยเวทย์ และการแพทย์
ตามตำนานบอกว่า ความรู้ในสำนักตักศิลาเขาอ้อ แบ่งเป็นสอง สายหลัก ๆ คือความรู้ในวิชาธรรมศาสตร์อันเกี่ยวข้องด้วยการปกครอง การสร้างบ้านแปลงเมือง และการทำมาหากิน และอีกสายเกี่ยวข้องด้วยเรื่องของพิธีกรรม ไสยศาสตร์การแพทย์ ซึ่งวิชาทั้งสองสายสืบทอดโดยพราหมณาจารย์ผู้เฒ่าสองคน สืบทอดกันคนละสาย ดังนั้นสำนักเขาอ้อในสมัยนั้นจึงมีพราหมณ์อยู่สองท่านเสมอ
การสืบทอดวิชาของสำนักเขาอ้อได้ดำเนินเช่นนั้นจนกระทั้งมาถึงพราหมณ์รุ่นสุดท้าย และเห็นว่าไม่มีผู้รับสืบทอดต่อไปแล้ว ประกอบกับเล็งเห็นว่าเมื่อสิ้นอายุของท่านทั้งสอง สถานที่แห่งนี้ ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เนื่องจากมีพราหมณาจารย์ผู้บรรลุธรรมหลายคนได้ฝังร่างไว้ จึงสำคัญเกินกว่าจะปล่อยให้เป็นที่รกร้างไป พราหมณ์ผู้เฒ่าทั้งสองจึงได้เสาะหาผู้ที่จะมาสืบทอดและรักษาสถานที่สำคัญนั้นไว้ ซึ่งขณะนั้นอิทธิพลของพุทธศาสนาได้แผ่ขยายเข้ารายล้อมเขตเมืองพัทลุงแล้ว บริเวณข้าง ๆ เขาอ้อมีวัดอยู่หลายวัด พราหมณ์ทั้งสองท่านตระหนักว่าต่อไปภายหน้าพุทธศาสนาจะยั่งยืนและแผ่อิทธิพลในดินแดนแถบนั้นการที่จะฝากอะไรไว้กับผู้ที่ยั่งยืนและมีอิทธิพลน่าจะเป็นการดี ท่านทั้งสองจึงตัดสินใจ ไปนิมนต์พระภิกษุรูปหนึ่งให้มาอยู่ในที่เขาอ้อ และมอบคำภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของบูรพาจารย์พราหมณ์ให้ พร้อมทั้งถ่ายทอดวิชาทางไสยเวทให้ รวมทั้งวิชาทางแพทย์แผนโบราณ
พระภิกษุรูปแรกที่พราหมณ์ผู้เฒ่าไปนิมนต์มา ทราบแต่เพียงว่ามีนามว่า ทอง ส่วนจะทองอะไรนั้นยังไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด เพราะวัดแห่งนี้มีเจ้าอาวาสที่ชื่อทองติดต่อกันมาหลายสิบรูป ซึ่งในอดีตแต่ละรูปจะได้รับการถ่ายทอดวิชาตามคำภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของบูรพาจารย์พราหมณ์สืบต่อกันมา ทำให้เป็นผู้ทรงคุณวิเศษในด้านไสยเวทวิทยาคมเป็นที่ประจักษ์มาทุกยุคทุกสมัย
ด้วยเหตุผลดังกล่าว วัดเขาอ้อจึงมีชื่อเสียงในทางไสยเวทและการแพทย์แผนมาตั้งแต่โบราณ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับว่านยา ภายหลังจึงมีพิธีแช่ว่าน พิธีกรรมทางไสยเวทหลายอย่างขึ้น จนเป็นที่เคารพศรัทธาอย่างกว้างขวาง.
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: