พระนครศรีอยุธยา-พ่อเมืองออกประกาศมาตราการเร่งด่วนในการป้องกันวิกฤตการณ์จากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
วันที่ 18 มี.ค. จังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยนายภานุ แย้มศรี ผวจ.พระนครศรีอยุธยา ได้มีประกาศเรื่อง มาตรการเร่งด่วนในการป้องกันวิกฤตการณ์จากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยมีใจความว่า ตามที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (COVID-19)ในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ซึ่งมีแนวโน้มที่จะพบผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้จัดประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ครั้งที่ 4/2563 เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2563 และมีมตีให้กำหนดมาตรการเร่งด่วนเพื่อป้องกันวิกฤตการณ์จากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้แก่ 1.มาตรการการป้องกันและสกัดกั้นการนำเชื้อเข้าจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 1.1 ดำเนินการต่อเนื่องในการคุมตัวไว้สังเกต กรณีผู้เดินทางจากประเทศซึ่งเป็นพื้นที่ระบาดต่อเนื่อง ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติกำหนด 1.2 ดำรงการปฏิบัติตามกลไกการกักกันผู้ที่เป็นหรือผู้ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นผู้ที่เป็น โรคติดต่ออันตรายไว้ที่พำนัก ตาม พรบ. โรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ (Home Quarantine) 1.3 การไม่อนุญาตให้ข้าราชการ พนักงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจเดินทางไปต่างประเทศ เว้นมีเหตุสำคัญจำเป็น รวมทั้งแนะนำประชาชนให้งดการเดินทางไปในประเทศซึ่งเป็นพื้นที่ระบาดต่อเนื่อง
2. มาตรการยับยั้งการระบาดภายในจังหวัด 2.1 สนับสนุนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2563 ที่ให้เลื่อนวันหยุดสงกรานต์(วันที่ 13-15 เมษายน พ.ศ. 2563 และงดเว้นการจัดสงกรานต์ ที่เป็นกิจกรรมรวมคนจำนวนมากมาอยู่ด้วยกันโดยแนะนำให้จัดกิจกรรมในมิติของครอบครัว 2.2 มาตรการต่อสถานที่หรือกิจกรรมที่มีประชาชนแออัดเบียดเสียดซึ่งมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด (1) ไม่อนุมัติ ไม่อนุญาตจัดให้มีการเล่นการพนันตามกฎหมายว่าด้วยการพนันประเภทไก่ชนและชกมวย จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย กรณีที่มีการอนุญาตไปแล้วให้ที่ทำการปกครองจังหวัดแจ้งงดจัดให้มีการเล่นการพนันดังกล่าวด้วย (2) สนามกีฬาและสถานที่ออกำลังกายกลางแจ้ง ให้ขอความร่วมมือผู้มาออกกำลังกายปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้ (2.1) เว้นระยะห่างในการออกกำลังกายจากผู้อื่น (2.2) เหลื่อมเวลาการออกกำลังกาย (2.3) สวมใส่หน้ากากผ้า (3) สถานที่ออกกำลังกายภายในอาคารปิดที่เป็นของหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ปิดบริการชั่คราวเป็นเวลา 14 วัน (4) สถานที่ออกกำลังกายของเอกชน (Fitness Center) ขอความร่วมมือ ให้ปิดบริการชั่วคราวเป็นเวลา 14 วัน หากจะเปิดดำเนินการต่อมีข้อแนะนำเพื่อปฏิบัติ ดังนี้ (4.1) ให้มีการลงชื่อผู้เข้าใช้ และจำกัดจำนวนผู้ชับริการในแต่ละวัน (4.2) จัดเตรียมหน้ากากอนามัย และแอลกอฮอล์เจลล้างมือไว้ในบริเวณพื้นที่ส่วนกลาง (4.3) ให้ทำความสะอาดอุปกรณ์ทุกๆ 30นาที
(5) สถานบริการตามกฎหมายสถานบริการ สถานประกอบการที่คล้ายสถานบริการสถานประกอบการนวดแผนโบราณ โรงมหรสพ ทั้งในอาคาร นอกอาคาร ร้านเกมส์ ร้านคาราโอเกะ ขอความร่วมมือให้ปิดบริการชั่วคราวเป็นเวลา 14 วัน หากจะเปิดดำเนินการต่อมีข้อแนะนำเพื่อปฏิบัติ ดังนี้ (5.1) ผู้รับบริการและผู้ให้บริการต้องสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย (5.2) ต้องมีการจัดวางแอลกอฮอล์เจลล้างมือในจุดที่มีการใช้ร่วมกัน (5.3) ต้องจัดให้สถานที่นั่งหรือพื้นที่ให้บริการแต่ละที่ห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร (5.4) จัดให้มีการทำความสะอาดสถานที่เป็นประจำ (5.5) ในกรณีที่เป็นอาคารติดแอร์ ช่วงเวลาปิดบริการ ต้องมีการทำความสะอาดและเปิดประตู/หน้าต่าง ให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก (6) ประสานสถานประกอบการให้กำหนดมาตรการเพื่อชะลอการเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าว หรือเข้มงวดการป้องกันความเสียงต่อการแพร่ระบาดกรณีมีการเคลื่อนย้าย โดยเฉพาะช่วงเทศกาลสงกรานต์
(7) ประสานและสนับสนุนการงดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย วิทยาลัยโรงเรียน โรงเรียนนานาชาติ สถาบันกวดวิชา จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย (8) ขอความร่วมมืองดจัดกิจกรรมที่มีการรวมตัวของประชาชนจำนวนมาก ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เช่น การจัดคอนเสิร์ต การจัดงานแสดงสินค้าต่าง ๆกิจกรรมทางศาสนา วัฒนธรรม และกีฬา เว้นแต่เป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญ ซึ่งจะต้องมีมาตรการเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดให้เหมาะสมด้วย โดยขอคำแนะนำจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด(9) ประสานงานให้การคัดเลือกทหารประจำปี รวมทั้งการเยี่ยมญาติของเรือนจำให้มีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค (10) ส่งเสริมให้สถานที่ทำงานทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ เอกชน ลดความแออัด โดยเหลื่อมเวลาทำงาน เหลื่อมเวลาพักรับประทานอาหาร และจัดที่นั่งให้ห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร ทั้งนี้กรณีหน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจ หากมีการดำเนินการแล้วให้รายงานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดพระนครศรีอยุธยาทราบด้วย (11) ส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้เครื่องมือประชุมทางไลน์ผ่านระบบอินเตร์เน็ต เพื่อลดการนำบุคลากรและเจ้าหน้าที่มารวมกันในห้องประชุม ที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค
(12) ลดความเสี่ยงของการแพร่เชื้อ ในสถานที่ที่มีประชาชนใช้บริการจำนวนมากได้แก่ ห้างสรพสินค้า ตลาด สถานที่ราชการ และรัฐวิสาหกิจ เช่น คัดกรองอุณหภูมิก่อนเข้าอาคารการวางแอลกอฮอล์เจลลงมือในจุดที่มีการใช้ร่วมกัน กรทำความสะอาดพื้นผิวและห้องสุขา จำกัดจำนวนคนเข้าใช้บริการในแต่ละช่วงเวลา (13) ส่งเสริมและสนับสนุนร้านค้า ร้านอาหาร ให้มีมาตรการป้องกันการแพร่เชื้อ ได้แก่การทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัส ห้องสุขา การคัดกรองอุณหภูมิก่อนเข้าร้าน การดูแลสุขภาพและป้องกันการติดเชื้อของพนักงาน เช่น ใช้หน้ากากผ้า การจัดแอลกอฮอล์เจลล้างมือ การจัดการขยะ ฯลฯ (14) ส่งเสริมและสนับสนุนให้รถโดยสารสาธารณะทุกประเภท ให้พนักงานขับรถสวมหน้ากากอนามัย ล้งมือด้วยแอลกอฮอล์เจลบ่อยๆ และทำความสะอาดบริเวณมือจับ เบาะนั่ง คอนโชลหน้ารถพนักเท้าแขนด้วยน้ำยาทำความสะอาดหรือแอลอฮอล์ ๗% ก่อนและหลังรับส่งผู้โดยสาร รวมทั้งลดจำนวนผู้โดยสารในแต่ละเที่ยวบริการ เพื่อลดความแออัดที่จะเกิดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด (15) รณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปใช้หน้ากากผ้าเมื่อเดินทางโดยรถสาธารณะหรือรถส่วนบุคคลที่มีผู้วโดยสาร หรือขณะเข้าร่วมกิจกรรม หรือสถานที่ที่มีคนจำนวนมาก (16) ทบทวนการจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคในทุกอำเภอ เขต หมู่บ้าน ซึ่งได้มีการจัตตั้งไว้แล้ว โดยปรับตัวบุคคลที่แต่งตั้งไว้แล้ว ซึ่งอาจมีการโยกย้ายหรือพันจากหน้าที่ราชการไปแล้ว รวมทั้งแต่งตั้งบุคลากรเพิ่มเติมให้เพียงพอต่อการสนับสนุนการปฏิบัติ รวมทั้งส่งสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้วย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: