X

ททท.มอบป้าย SHA การันตีเที่ยววังช้างอยุธยาปลอดโควิด-19

พระนครศรีอยุธยา-ททท.เร่งฟื้นการท่องเที่ยวกรุงเก่า มอบป้ายSHA การันตีนั่งช้างอยุธยาปลอดโควิด พร้อมมอบเงินเยียวยา”ช่วยชุมชน ช่วยช้าง ช่วยชาติ “

วันที่ 1 สิงหาคม  ที่วังช้างอยุธยาแลเพนียด อ.พระนครศรีอยุธยา  นายพัฒนพงษ์  พงษ์ทองเจริญ   ผอ.ททท.พระนครศรีอยุธยา  ได้มอบตราสัญลักษณ์มาตรฐานด้านความปลอดภัยและสุขอนามัย หรือ Amazing Thailand Safety & Health Administration หรือ SHA ให้แก่ วังช้างแลเพนียด นำโดย นางร่มทองทราย มีพันธุ์   สัตว์แพทย์หญิงลาดทองแท้ มีพันธุ์  ผู้บริหารวังช้างแลเพนียด ที่ผ่านการประเมิน เพื่อยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมท่องเที่ยวควบคู่มาตรฐานด้านความปลอดภัยและสุขอนามัย

นายพัฒนพงษ์  พงษ์ทองเจริญ   ผอ.ททท.พระนครศรีอยุธยา   กล่าวว่า   โครงการAmazing Thailand Safety & Health Administration หรือ SHA การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กระทรวงการท่องเที่ยวฯ กระทรวงสาธารณสุข หอการค้าไทย และผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยได้ร่วมกันทำโครงการดังกล่าวขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 เปิดโอกาสให้สถานประกอบการ 10 ประเภทที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยสมัครเข้าร่วมเพื่อรับตราสัญลักษณ์ สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยวหรือผู้มาใช้บริการ โดยผู้ที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานจะได้รับตราสัญลักษณ์ SHA  ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความพร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยวที่มีความต้องการในการเดินทางท่องเที่ยวภายหลังมาตรการผ่อนปรนของภาครัฐ และเป็นการวางมาตรการท่องเที่ยววิถีใหม่ New Normal

ขณะเดียวกันการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ ททท. ได้มีการจัดทำโครงการ ช่วยชุมชน ช่วยช้าง ช่วยชาติ เพื่อเร่งให้ความช่วยเหลือด้านอาหารช้าง จากชุมชนเกษตรกรผู้ปลูกอาหารช้าง ผ่านสถานประกอบการที่มีช้าง เพื่อการท่องเที่ยวที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัส COVID-19 โดยได้ผนึกกำลังกับหน่วยงาน ผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการดูแลช้างเข้าร่วม ได้แก่ สถาบันคชบาลแห่งชาติในพระอุปถัมภ์ฯ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ จ.ลำปาง, สถาบันวิจัยและบริการสุขภาพช้างแห่งชาติ, กองสวัสดิภาพสัตว์และสัตวแพทย์บริการ กรมปศุสัตว์, โครงการคชอาณาจักร จังหวัดสุรินทร์ (องค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์), ศูนย์วิจัยช้างและสัตว์ป่า คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการนี้คณะทำงานจะได้ร่วมกันพิจารณาคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และเอกสารประกอบของช้าง ชุมชนเกษตรกร และสถานประกอบการ  สำหรับสถานประกอบการที่ผ่านการพิจารณาจะได้รับความช่วยเหลือด้านงบประมาณในการจัดซื้ออาหารช้าง จากชุมชนเกษตรกรผู้ปลูกอาหารช้างในแหล่งต่างๆ โดยมูลค่าของอาหารช้างขั้นต่ำ ที่ช้างแต่ละเชือกจะได้รับ อยู่ที่ประมาณ 3,000-6,000 บาท ซึ่งขึ้นอยู่กับจำนวนสถานประกอบการ และจำนวนช้างที่เข้าร่วมโครงการฯ ซึ่งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้มอบเงินในโครงการนี้เพื่อช่วยเหลือช้างของวังช้างอยุธยาแล้ว จำนวนร้อยกว่าเชือกเป็นที่เรียบร้อย

สำหรับโครงการดังกล่าวนี้ได้จัดทำโครงการ “ช่วยชุมชน ช่วยช้าง ช่วยชาติ” ขึ้นระหว่าง วันที่ 27 พฤษภาคม – 30 กันยายน 2563  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเยียวยาสถานประกอบการที่มีช้างเพื่อการท่องเที่ยว ชุมชนเกษตรกร ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสฯ และปัญหาภัยแล้ง ทั้งทางตรงและทางอ้อมในขณะเดียวกันเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้สถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบให้กลับมาฟื้นฟูธุรกิจและให้ ททท. สามารถดำเนินงานด้านการตลาดและสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องช้างเพื่อการท่องเที่ยวและเป็นการปรับภาพลักษณ์การท่องเที่ยวประเทศไทยสู่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวโลก ทั้งนี้โครงการได้ดำเนินการจนเสร็จสิ้น สามารถช่วยเหลือช้างได้ ทั้งสิ้น 1,456 เชือก เชือกละ 9,500 บาท ต่อเชือก โดยอยู่ในสังกัดของปางช้างประมาณ 109 ปาง ทั่วประเทศ

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

Picture of สัมฤทธิ์ เจียมเจริญพรกุล

สัมฤทธิ์ เจียมเจริญพรกุล

รัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิต การเมืองการปกครองท้องถิ่น สถาบันเทคโนโลยีแห่งอโยธยา ปริญญาบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มทร.สุวรรณภูมิ ปริญญามหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา รางวัลพระราชทานเทพทอง สมาคมนักวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย นักเรียนการแสดง รัชฟีล์มที่วี artspa ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา บรรณาธิการข่าวสถานีโทรทัศน์เคเบิลเอทีวี บรรณาธิการเจ้าของเพจสถานีข่าวเอทีวี นักเขียนอิสระ