พระนครศรีอยุธยา-มัวแต่กลัวก็ไม่จบ ผู้ประกอบการท่องเที่ยว สถานบริการ หน่วยราชการ สื่อมวลชน พร้อมใจกันลงทะเบียนฉีดวัคซีน มั่นใจปลอดภัยหยุดเชื้อ เพื่อชาติ
นายภานุ แย้มศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เชิญชวนพี่น้องชาวพระนครศรีอยุธยา รีบลงทะเบียนนัดฉีดวัคซีนโควิด-19 เพื่อร่วมเป็นสวนหนึ่งในการป้องกันและลดการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แต่เนื่องจากพบว่ายังมีผู้ลงทะเบียนน้อยมาก จึงมอบหมายให้ นายอำเภอทุกอำเภอ จัดประชุม ผอ.รพ./สสอ./กำนัน/ประธาน อสม./นายกหรือ ปลัด อปท./ปลัดตำบล และผู้เกี่ยวข้อง เพื่อสอบถามความต้องการฉีดวัคซีนของประชาชนเป้าหมายกลุ่ม 60 ปีขึ้นไป และผู้มีโรคเรื้อรัง 7 ประเภท ให้รีบลงทะเบียนฉีดวัคซีน เพื่อหยุดเชื้อ เพื่อชาติ เพื่ออยุธยา เริ่มตั้งแต่วันที่ 12 พ.ค. ได้มอบให้ อสม. 1 คน รับผิดชอบเคาะประตูบ้านถามความสมัครใจลงทะเบียนในแบบฟอร์ม จำนวน 5-15 คน รวมถึง กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน หรือ อปท.ช่วยสนับสนุน เพื่อแจ้งเชิญชวนกลุ่มบุคคลเป้าหมายให้ลงทะเบียนตามความสมัครใจ สำหรับกรณีถ้าทราบแล้ว ไม่ประสงค์จะลงทะเบียน ให้ลงนามเป็นหลักฐานในแบบฟอร์มรายงาน ในห้วงวันที่ 12 – 18 พ.ค.64 เพื่อเก็บข้อมูลว่าจะมีวัคซีนเหลือจำนวนเท่าใด เพื่อวางแผนเตรียมจัดสรรให้กลุ่มอื่นที่มีความจำเป็นและต้องการฉีดวัคซีนดังกล่าว โดยขอให้ติดตามข่าวสารจากทางราชการต่อไป
ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และนายกเหล่ากาชาดจังหวัดฯ ได้ลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้ว ซึ่งจะไปฉีดวัคซีนเข็มแรก ในวันที่ 8 มิถุนายน 64 เวลา 15.00 น. ที่โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยาอย่างแน่นอน พร้อมเชิญชวนพี่น้องชาวอยุธยากลุ่ม 60 ปีขึ้นไป และผู้มีโรคเรื้อรัง 7 ประเภท รีบลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิด-19 เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่ง ในการหยุดเชื้อ เพื่อชาติ เพื่ออยุธยา
ด้าน นพ.พีระ อารีรัตน์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า สถานการณ์ขณะนี้ประเทศไทย การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงขอเชิญชวนประชาชนผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง (โรคทางเดินหายใจเรื้อรังรุนแรง, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคไตวายเรื้อรัง, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคมะเร็งทุกชนิดระหว่างการรักษา, โรคเบาหวาน และโรคอ้วน) ลงทะเบียนเพื่อเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด – 19 เพื่อช่วยลดความรุนแรงของโรค ลดการเสียชีวิต ลดการป่วย ที่นอนในโรงพยาบาล โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงชายที่พบจำนวนการเสียชีวิตมากกว่าหญิง 3 เท่าตัวในการระบาด ของโรคระลอกใหม่ ผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด – 19 พบได้ในทุกเพศ ทุกวัย โดยผู้ได้รับเชื้อส่วนใหญ่มีอาการได้ตั้งแต่ ไม่มีอาการ อาการเล็กน้อยไม่รุนแรง จนถึงเสียชีวิต อาการที่พบบ่อย คือ ไข้ ไอแห้งๆ ต่อเนื่อง จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส ผื่น ท้องเสีย ตาแดง และเมื่อร่างกายได้รับเชื้อ เราอาจติดเชื้อ หรือไม่ติดเชื้อก็ได้ ขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น ชนิดของเชื้อ (สายพันธุ์) ปริมาณเชื้อ และระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย และเมื่อมีการติดเชื้อเกิดขึ้น เราอาจติดเชื้อโดยไม่มีอาการ มีอาการน้อย หรือมีอาการรุนแรงจนเสียชีวิตก็ได้
ข่าวน่าสนใจ:
- กทม. ร่วม"ฟูกูโอกะ" เปิดงาน "Fukuoka Fair" ฉลอง 18 ปีเมืองพี่เมืองน้อง
- มหกรรมอาหารทะเลพื้นบ้านประมงเรือเล็กระยอง อาหารทะเลสดๆ-สินค้าชุมชน ชมคอนเสิร์ตศิลปินชื่อดัง
- ชาวนาเผยต้นทุนการทำนาสูงแถมข้าวยังคงราคาตกต่ำอยากให้ทางรัฐบาลช่วยเหลือ
- ตรัง จัดใหญ่ 12 วัน งานฉลองรัฐธรรมนูญและงานกาชาดจ.ตรัง 4-15 ธ.ค.นี้ รีแบร์นใหม่! ย้อนยุคงานเหลิมแต่แรก แสดงบินโดรนพิธีเปิด วธ.ทุ่ม 3.4 ล้าน…
นพ.พีระ อารีรัตน์ กล่าวต่อว่า ขอเชิญชวนประชาชนผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และ ผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง (โรคทางเดินหายใจเรื้อรังรุนแรง, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคไตวายเรื้อรัง, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคมะเร็งทุกชนิดระหว่างการรักษา, โรคเบาหวาน และโรคอ้วน)การลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิด – 19 สามารถลงทะเบียนได้ที่ โรงพยาบาล ที่ท่านรักษาอยู่, โรงพยาบาลใกล้บ้าน, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.), อสม., เพิ่มเพื่อนไลน์ LINE “หมอพร้อม”
ประโยชน์ของไลน์ “หมอพร้อม” ใช้ตรวจสอบกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการฉีดวัคซีน กำหนดนัดหมายประเมินความเสี่ยง การเลือกโรงพยาบาล เลือกเวลาที่จะไปรับวัคซีน, ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับวัคซีน เช่น อาการที่ไม่พึงประสงค์ แนวทางการดูแลตนเองและข้อมูลเกี่ยวกับโรคโควิด – 19 เช่น สถานการณ์การติดเชื้อ หน่วยบริการตรวจโควิด, ช่วยติดตามผลข้างเคียงหลังการฉีดวัคซีน 1 วัน, 7 วัน และ 30 วัน และแสดงข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนที่ได้รับ, การแจ้งเตือนรับวัคซีนเข็มที่ 2 ทั้งนี้จะได้รับใบยืนยันการฉีดวัคซีนโควิด – 19 เมื่อฉีดวัคซีน ครบ 2 เข็ม
โดยเริ่มลงทะเบียนตั้งแต่ วันที่ 1 พฤษภาคม 2564 และเริ่มฉีดวันที่ 7 มิถุนายน 2564 สำหรับประชาชนอายุ 18-59 ปี ลงทะเบียนได้ 1 กรกฎาคม 2564 แม้ว่าวัคซีนป้องกันโรคโควิด – 19 จะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยเสริมการป้องกันโรค แต่ประชาชนยังต้องปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัดในการป้องกันโรคโควิด – 19 โดยใช้มาตรการเว้นระยะห่าง ล้างมือบ่อยๆ ใส่หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า 100% และสแกน “ไทยชนะ” เมื่อเข้าไปในสถานที่สาธารณะ รวมถึงโหลดแอปพลิเคชัน “หมอชนะ” เพื่อใช้ในการติดตามไทม์ไลน์และผู้สัมผัสเสี่ยง
ขณะเดียวกันนายมานัส ทรัพย์มีชัย ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวพระนครศรีอยุธยา พร้อมนายอิทธิพันธ์ ขาวละมัย กรรมการสภาฯได้เข้าหารือกับนายพัฒน์พงษ์ พงษ์ทองเจริญ ผ.อ.ททท.พระนครศรีอยุธยา ในการแจ้งความประสงค์ของผู้ประกอบการ ผู้ให้บริการ ด้านร้านอาหาร แหล่งท่องเที่ยว ในการที่จะลงชื่อเพื่อขอรับวัคซีนป้องกันโควิด 19 เป็นการให้ความมั่นใจต่อผู้ใช้บริการ ซึ่งคาดว่าจะมีผู้ประกอบการ ผู้ให้บริการแหล่งท่องเที่ยว พร้อมใจรับวัคซีนจำนวนมาก
ขณะที่สื่อมวลชนสมาคมผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์โทรทัศน์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้มีการลงชื่อเพื่อเข้ารับวัคซีน หลังจากที่มีจำนวนหนึ่งได้เข้ารับวัคซีนเข็มแรกไปแล้ว โดยในอำเภอต่างๆเช่น อ.มหาราช นางอมรรัตน์ กรึงไกร นายอำเภอมหาราชได้ออกชี้แจงประชาชน และเชิญชวนฉีดวัคซีน เพื่อเป็นการหยุดเชื้อเพื่อชาติ
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: