พระนครศรีอยุธยา-พ่อเมืองกรุงเก่าลงพื้นที่ชมสวนไผ่ยายลี ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ยกให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีประโยชน์เหมาะท่องเที่ยวเชิงเกษตร เตรียมหนุนวิสาหกิจชุมชนปลูกพืชปลดล๊อคกัญชงกัญชา สร้างรายได้ให้กับท้องถิ่น
เมื่อเวลา 13.30 น.วันที่ 21 มิ.ย. นายภานุ แย้มศรี ผวจ.พระนครศรีอยุธยา นายบดินทร์ เกษมศานติ์ นายอำเภอพระนครศรีอยุธยา นายดิเรก ขันธมาลา กำนัน ต.สวนพริก อ.พระนครศรีอยุธยา ได้เดินทางไปเยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง สวนไผ่ยายลี หมู่ 4 ต.สวนพริก ซึ่งเป็นสถานที่เพาะปลูกพืชสมุนไพร และพืชที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน หรือพืชผักสวนครัว โดยมีว่าที่ ร.ต.กิตติศักดิ์ เขนยทอง ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตพืชปลอดสารพิษ ต.สวนพริก และเจ้าของสวนไผ่ยายลี ให้การต้อนรับนำเยี่ยมชม โดยพบว่าฝั่งตรงข้ามยังเป็นสวนไผ่ ที่มีลักษณะเด่นคือมีอุโมงค์ธรรมชาติโน้มเป็นประตูโค้งเรียกว่าอุโมงก์กาลเวลา มีนักท่องเที่ยวแวะมาเที่ยวชมต่อเนื่อง
ว่าที่ ร.ต.กิตติศักดิ์ เปิดเผยว่า สวนไผ่ยายลี เป็นสวนเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง เริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2559 จากเดิมที่ตนเป็นพนักงานบริษัท แล้วมีพื้นที่ว่างเปล่าทำการปลูกไผ่ จำนวน 600 ต้น ปรากฏว่าต้นไผ่ที่ปลูกไว้ ตายทั้งหมด โดยไม่รู้สาเหตุ ในปีเดียวกันตนจึงตัดสินใจลาออกจากการเป็นพนักงานในโรงงานย่านอุตสาหกรรมโรจนะ เพื่อมาค้นหาสาเหตุ การตายของต้นไผ่ จนสทราบสาเหตุว่าดินมีค่าดินไม่ดี จึงได้ทำการศึกษาค้นคว้า จนมารู้จักหลักเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาดิน ซึ่งเดิมต้องการปลูกไผ่จะขายหน่อ เพราะเห็นว่าไผ่แตกหน่อได้เรื่อยๆ จากเดิมไม่รู้สาเหตุที่จะมาปรับปรุง จึงใช้หลัก แกล้งดินตามศาสตร์พระราชา วัดค่าพีเฮสของดิน จนค่าของดินดีขึ้นต่อเนื่อง ตนจึงเริ่มทำการเกษตรผสมผสาน เลี้ยงสัตว์ ปลูกพืชผัก ซึ่งชื่อของสวนแห่งนี้ มาจากชื่อยายคือยายสำลี กสิพันธ์ ตั้งชื่อเพื่อเตือนตัวเองที่ปลูกไผ่แล้วตาย ปัจจุบัน เอาหน่อไม้มาทำหน่อไม้ดองขาย ทำอาหาร ทำก๋วยเตี๋ยว กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยนำใบไผ่มาทำปุ๋ย ขายดินขุยไผ่ ในส่วนฝั่งตรงข้ามสวนไผ่ เลี้ยง ปูนา หนูนา ไก่ไข่ ไก่มูหลุม ใช้ประโยชน์ของพื้นที่ และต้นไม้ เป็นผักบริโภคไม่ใช่ไม้ประดับ ปัจจุบันเนื่องจากเป็นศูนย์เรียนรู้ ก็จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร มีการศึกษาดูงานต่อเนื่อง
ต่อจากนั้น นายภานุ แย้มศรี ผวจ.พระนครศรีอยุธยา ได้เดินทางไปที่โครงการปลูกกัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสวนพริก ร่วมกับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตพืชปลอดสารพิษ ต.สวนพริก หมู่ 6 ต.สวนพริก โดยว่าที่ ร.ต.กิตติศักดิ์ กล่าวว่า โครงการปลูกกัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ ที่ดำเนินการอยู่นี้ เป็นโครงการระยะที่สอง เริ่มทำในนามวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตพืชปลอดสารพิษ ตนเป็นประธานวิสาหกิจชุมชน เราทำตั้งแต่ 2563 เราทำครั้งแรกยังไม่ปลดล๊อค ช่อดอกต้องส่งกลับ ต้นราก กิ่งใบต้องทำลาย จนมา ปี 64 ต้นรากกิ่งใบ ไม่เป็นยาเสพติดประเภทที่ 5 ส่วนช่อดอกยังเป็นยาเสพติดต้องส่งกลับ เมื่อปลูกกัญชาได้ 4 เดือน ต้องตัดช่อเอาส่งให้กรมการแพทย์ มีสาธารณสุขจังหวัดดูแล โดยส่วนสำคัญอยู่ที่ช่อดอก ส่งกลับไปเพื่อทำประโยชน์ทำยา โดยเราไม่ได้ค่าตอบแทนอะไร แต่เราจะได้ประโยชน์จากการจำหน่ายใบ ลำต้น กิ่งก้าน รัฐสนับสนุนเรื่องของเมล็ดพันธ์ เรารับมา 120 เมล็ด ปลูกสองช่วงในการปลูก รอบละ 60 เมล็ด โดยเราปลูกในช่วงที่ 1 ในเดือนมิ.ย.จะทำการเก็บผลผลิตตัดช่อดอกส่งกลับ โดยวันนี้มีคนมาซื้อเอาไปทำเมนูอาหาร วิสาหกิจชุมชนแปรรูป ทำน้ำอ้อยกัญา จำหน่ายชุมชน และตลาดแกรนด์อยุธยา และยังมีผัดไทยใส่ใบกัญชา กระเพราเนื้อใส่บัญชา การรับประทานวันละไม่เกินวันละ 5 วันเท่านั้น อย่างน้ำอ้อย 1 ขวดทำให้หลับง่าย ไม่มีผลอันตราย
ข่าวน่าสนใจ:
สำหรับผลผลิตที่ได้ตัดใบขาย 3-4 ก.ก.ในรอบแรก ราคา กก.ละ 1.5 หมื่นบาท มีการสั่งจองรากของกัญชาราคาประมาณ 25,000 บาท ผลผลิตยังคงออกเรื่อย ๆ ส่วนใหญ่เราตัดตามออร์เดอร์ ซึ่งมีจนท.สาธารณสุขมาตรวจทุกอาทิตย์ การปลูกทำในรูปของรัฐวิสาหกิจ เนื้อที่48 ตร.เมตร กว้าง 4 เมตร ยาว 12 เมตร มีการติดตั้งกล้องวงจรปิด 6 ตัว มีการสร้างระบบระบายอากาศตามมาตรฐาน ตอนนี้ในเฟสที่ 3 ได้ให้สมาชิกของวิสาหกิจ ปลูกบ้านละ 6 ต้น ทาง สสจ.พะนครศรีอยุธยา อนุมัติเรียบร้อยส่งเรื่องให้กรมการแพทย์แล้ว แล้วขณะนี้เตรียมที่จะขยายการปลูกกัญชงด้วย
นายภานุ แย้มศรี ผวจ.พระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า สำหรับการปลูกกัญชาและกัญชงเป็นพืชชนิดใหม่โดยกระทรวงสาธารณสุขผ่อนคลายเงื่อนไข บางประการ จากสิ่งที่เป็นยาเสพติดสามารถประโยชน์อาหารและยา การขออนุญาตต้องได้รับการตรวจจากสาธารณสุข และเข้าคณะกรรมการที่ดูแล แล้ว่งส่วนกลาง เท่าที่ทราบมีอนาคตที่ดี เพราะมีมูลค่าสูง แต่มีการลงทุนเพื่อไม่ให้มีการขโมยหรือลักลอบนำผลผลิตไปใช้ทางผิด อย่างไรก็ตามถือว่าดี และต้องมีการริเริ่ม สร้างสรรค์ ต้องดูเรื่องการลงทุน ต้องดูว่าโอกาสจะดูว่าคุ้มมั้ย ค่อยศึกษา มาดูงานก็ค่อยลงทุน จะประสบผลสำเร็จ เป็นความหวังของเกษตรกรเรา
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: