X

ปู่แก้ว บุตรชาติ ผู้เลี้ยงพระเศวตฯร.9 วอนรัฐดูแลช้างไทย

พระนครศรีอยุธยา-‘วันช้างไทย’ วังช้างอยุธยาฯ จัดเลี้ยงโต๊ะอาหารช้างกว่า 80 เชือก ปู่แก้ว บุตรดี ผู้เลี้ยงช้างเผือกคู่พระบารมี พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ พระยาช้างเผือกประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช วอนให้รัฐให้ความช่วยเหลือช้างไทยมากกว่าที่เป็นอยู่ สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแนะฟื้นคล้องช้างปีละครั้ง

วันที่ 13 มี.ค     วังช้างแลเพนียด  ร่วมกับ มูลนิธิพระคชบาล และกลุ่มคชสารคู่แผ่นดิน   จัดงานวันช้างไทยอย่างยิ่งใหญ่   เพื่อยกย่องและให้เกียรติช้างไทยเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญ คู่บ้านคู่เมือง ไม่ว่าจะเป็นช้างเผือกในธงชาติ หรือช้างเผือกที่เป็นสัญลักษณ์ของประเทศ หรือสัตว์คู่พระบารมีของพระมหากษัตริย์   โดยมีพระญาณไตรโลก  รองเจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  เจ้าอาวาสวัดบรมวงศ์อิศรวรารามราชวรวิหาร  ประธานฝ่ายสงฆ์ นำพระสงฆ์  ประกอบพิธีบังสุกุลให้กับช้างที่ล้มตาย  และปะพรมน้ำพุทธมนต์  เพื่อเป็นสิริมงคลให้กับช้าง   นายลายทองเหรียญ มีพันธ์ เจ้าของวังช้างอยุธยา แล เพนียด ประธานมูลนิธิพระคชบาล และกลุ่มคชสารคู่แผ่นดิน  ประกอบพิธีบูชาเชือกปะกำ  ศาลปะกำ    จากนั้น  มีการเลี้ยงโต๊ะจีนให้กับช้างจำนวน 80 เชือก 

นายลายทองเหรียญ มีพันธุ์ กล่าวว่า ตลอด 20 ปี ที่ผ่านมา มูลนิธิพระคชบาล วังช้างอยุธยา แลเพนียด ได้ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รณรงค์จัดกิจกรรมให้กับช้าง ด้วยการจัดโต๊ะจีนอาหารช้างมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันผู้เลี้ยงช้าง ได้ตั้งกลุ่มคชสารคู่แผ่นดิน เพื่อร่วมกับรัฐบาลในการแก้ปัญหาของราษฎรผู้เลี้ยงช้าง พร้อมกับจัดทำแผนแม่บทช้างแห่งชาติ 20 ปีเสนอต่อรัฐบาลซึ่งวันที่ 13 มีนาคมเป็นวันที่คณะกรรมการคัดเลือกสัตว์ประจำชาติ มีมติให้ช้างเผือกเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทยเป็นวันช้างไทย ดังนั้น ทุกวันที่ 13 มีนาคมของทุกปีจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จึงจัดงานวันช้างไทย อยากให้คนไทยรักช้างอย่างจริงใจ ซึ่งทางผมได้ต่อสู้เรื่องนี้มาโดยตลอด ช้างเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมือง ร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่ต่อสู้ทำศึกสงครามกับพระมหากษัตริย์ มาตั้งแต่โบราณ มีศักดิ์ศรี จึงได้ผลักดันให้รัฐบาล และทุกภาคส่วน โดยเฉพาะชาวช้าง ได้ให้ความสำคัญวันช้าง เชิญชวนชาวไทย ได้แทนคุณช้าง ให้ช้างได้กินอาหารที่หลากหลายชนิดเต็มอิ่มด้วย

ในวันเดียวกันปู่แก้ว บุตรชาติ อายุ 89 ปี บอกว่าตนเป็นผู้เลี้ยงพระยาเศวตรอดุลยเดชพาหนฯ ซึ่งเป็นช้างเผือกเชือกแรกในรัชกาลที่ 9 โดยเดิมตนอยู่ จ.สุรินทร์ และมีความสามารถคล้องช้างป่าจากประเทศเพื่อนบ้าน จนได้มาทำงานที่เขาดิน โดยนายชัย ชิดชอบ นำมาฝากงานให้เพื่อฝึกช้างในเขาดิน จนกระทั่งได้รับช้างเผือกมาจากภาคใต้  ขณะเดียวกันก็ไปดูช้างเล็กลักษณะคล้ายช้างเผือกอีกเชือก ในฐานะวันช้างไทย ตนเห็นว่าช้างมีบุญคุณกับประเทศมาก ตั้งแต่สมัยอดีตตั้งแต่เป็นช้างบรรทุกอาวุธสมัยโบราณ และช้างพระที่นั่ง ช้างบางจังหวัดแทบจะไม่มีที่ทำมาหากิน ช้างกลายเป็นผู้บุกรุก เข้ามากินอาหารกลายเป็นผู้บุกรุก ถูกไฟฟ้าช๊อต ถูกยิง จึงขอร้องผู้มีหน้าที่กระทรวงที่รับผิดชอบช่วยดูแลอย่างจริงจัง

ด้านนายมานัส ทรัพย์มีชัย ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวพระนครศรีอยุธยา บอกว่าการท่องเที่ยวของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ช้างเข้ามาอยู่เมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา การท่องเที่ยวเปลี่ยนแปลงได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นและเป็นนักท่องเที่ยวยุโรป จากช้างไม่ถึง 10 เชือกโดยการอนุญาตของกรมศิลปากร จนปัจจุบันมีช้างเพิ่มมากขึ้น นักท่องเที่ยวต่างชาติมาเที่ยวต้องเห็นช้าง ซึ่งอยากให้มีการส่งเสริมการท่องเที่ยวและการฟื้นประเพณีเก่าเช่นคล้องช้างในเพนียดปีละครั้งก็ยังดี เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวมาเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

Picture of สัมฤทธิ์ เจียมเจริญพรกุล

สัมฤทธิ์ เจียมเจริญพรกุล

รัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิต การเมืองการปกครองท้องถิ่น สถาบันเทคโนโลยีแห่งอโยธยา ปริญญาบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มทร.สุวรรณภูมิ ปริญญามหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา รางวัลพระราชทานเทพทอง สมาคมนักวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย นักเรียนการแสดง รัชฟีล์มที่วี artspa ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา บรรณาธิการข่าวสถานีโทรทัศน์เคเบิลเอทีวี บรรณาธิการเจ้าของเพจสถานีข่าวเอทีวี นักเขียนอิสระ