พระนครศรีอยุธยา-ผู้ว่าลงเรือติดตามแก้ปัญหาผักตบชวา พร้อมสั่งการกรมเจ้าท่าวางแผนกำจัดผักตบชวาต่อเนื่อง ไม่ให้กระทบการสัญจรทางเรือ
วันที่ 19 มิถุนายน เวลา 16.00 น. นายนิวัฒน์ รุ่งสาคร ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมด้วย นายพีรธร นาคสุข ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค สาขาอยุธยา นางสาวพรรณทิพย์ เปี่ยมพุทธากุล โยธาธิการและเมืองจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลงพื้นที่ลำน้ำเจ้าพระยา ติดตามสถานการณ์ผักตบชวาที่ลอยอยู่เต็มแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำป่าสัก โดยสำนักพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำ ได้ดำเนินการกำจัดผักตบชวาและวัชพืช ภายใต้การบูรณาการกับหน่วยงานต่างๆ และการกำกับของคณะกรรมการอำนวยการบูรณาการเพื่อแก้ไขปัญหาผักตบชวา ในการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนและเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ เพื่อป้องกันการเกิดน้ำท่วมขังช่วงฤดูฝน โดยกรมเจ้าท่ารับผิดชอบดำเนินการในแม่น้ำสายหลักท้ายเขื่อนเจ้าพระยา รวมระยะประมาณ 400 กิโลเมตร ในส่วนของการดำเนินการกำจัดผักตบชวาในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทางกรมเจ้าได้จัดเรือประจำกำจัดผักตบชวาไว้บริเวณจุดต่าง ๆ ในพื้นที่ลำน้ำของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทั้ง 4 สาย หากมีปริมาณผักตบชวาหนาแน่น จะดำเนินจัดเก็บทันที
นายนิวัฒน์ รุ่งสาคร ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า มีปัจจัยหลาย ๆ ปัจจัย ที่ทำให้ปริมาณผักตบชวามีมากตามแม่น้ำลำคลองต่าง ๆ อาทิ น้ำทะเลหนุนสูง ช่วงเวลาน้ำขึ้นน้ำลง ซึ่งจากสาเหตุเหล่านี้ทำให้ปริมาณผักตบชวาจะหนาแน่นโดยเฉพาะช่วงจุดบรรจบแม่น้ำเจ้าพระยาและป่าสัก ที่บริเวณวัดพนัญเชิงวรวิหาร โดยทางกรมเจ้าท่าได้จัดเรือกำจัดผักตบชวาเข้าดำเนินการต่อเนื่อง ส่วนเรื่องผลกระทบกับการเดินเรือหรือไม่ หากมีปริมาณผักตบชวาหนาแน่น จะส่งผลกระทบเพียงการเดินเรือที่ต้องใช้เวลานานขึ้น เนื่องจากต้องใช้ความเร็วของเครื่องยนต์ในการแหวกผักตบชวา ส่วนการเดินเรือสินค้า ไม่ส่งผลกระทบ เนื่องจากการเดินเรือสินค้าจะอาศัยการเดินเรือตามปริมาณการ0ไหลของสายน้ำเป็นหลัก แต่ได้สั่งการให้เจ้าท่าติดตามผลกระทบอย่างต่อเนื่อง
ด้านสำนักพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำ ได้ดำเนินการกำจัดผักตบชวาและวัชพืช ภายใต้การบูรณาการกับหน่วยงานต่างๆ และการกำกับของคณะกรรมการอำนวยการบูรณาการเพื่อแก้ไขปัญหาผักตบชวา ในการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนและเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ เพื่อป้องกันการเกิดน้ำท่วมขังช่วงฤดูฝน โดยกรมเจ้าท่ารับผิดชอบดำเนินการในแม่น้ำสายหลักท้ายเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท และท้ายเขื่อนพระราม 6 จังหวัดสระบุรี ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา ระยะทาง 160 กิโลเมตร แม่น้ำป่าสัก ระยะทาง 50 กิโลเมตร แม่น้ำน้อย ระยะทาง 42 กิโลเมตร แม่น้ำลพบุรี ระยะทาง 67 กิโลเมตร และเหนือเขื่อนแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำสะแกกรัง ระยะทาง 20 กิโลเมตร แม่น้ำท่าจีนสายเก่า ระยะทาง 10 กิโลเมตร และคลองสาขารวมระยะประมาณ 400 กิโลเมตร โดยในปีงบประมาณ พ.ศ.2566 กรมเจ้าท่าได้รับงบประมาณในการกำจัดผักตบชวาจำนวน 658,000ตัน ปัจจุบันได้ส่งเรือกำจัดผักตบชวาและวัชพืชแบบสายพานลำเลียง จำนวน 6 ลำ และชุดรถแบ็คโฮ 1 ชุด ปัจจุบันได้ปฏิบัติงานกำจัดผักตบชวาในพื้นที่สำนักงานพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำที่ 1 ดังนี้ จุดที่ 1 โดยเรือ ผ.3 ในแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลสำเภาล่ม อำเภอพระนครศรีอยุธยา พระนครศรีอยุธยา จุดที่ 2 โดยเรือ ผ.5 และ ผ.6 ตำบลแคตก อำเอภบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จุดที่ 3 โดยเรือ ผ.7 คลองบางกระสั้น อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พื้นที่สำนักงานพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำที่ 2 ได้แก่ จุดที่ 1 โดยเรือ ผ4 และ ผ.8 แม่น้ำเจ้าพระยา ช่วงบึงหาดกองสิน อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท และคลองป่าแสก ตำบลสวนแตง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี คิดเป็นผลงานสะสม ณ 12 มิถุนายน 2566 รวม 457,129 ตัน คิดเป็นผลงานร้อยละ 69.47 เร็วกว่าแผน 5.69 %
การแก้ไขปัญหาผักตบชวาในแม่น้ำป่าสักในพื้นที่ดังกล่าว สบ.1 ได้ปรับแผนปฏิบัติงานโดยในวันนี้ที่ 18 มิถุนายน 2566 ได้ย้ายเรือ ผ.3 เข้าประจำจุดแม่น้ำป่าสัก แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณดังกล่าวแล้ว ตรงหน้าวัดพนันเชิง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และในวันที่ 19 มิถุนายน 2566 จะย้ายเรือ ผ.7 จากคลองบางกระสั้น อำเภอบางปะอิน เข้ามาช่วยสนับสนุนอีก 1 ลำ รวมเป็น 2 ลำ คาดว่าจะแก้ไขปัญหาแล้วเสร็จได้ไม่เกิน 7 วัน สาเหตุ จากผักตบชวาหนาแน่น เนื่องจากในปีงบประมาณ 2566 เรือ ผ.1 และ ผ.2 ขึ้นซ่อมใหญ่ประจำปี ซึ่งปัจจุบันยังไม่แล้วเสร็จ ทำให้เรือกำจัดผักตบชวาในพื้นที่ป่าสักหายไปจากจุดเฝ้าระวัง
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: