พระนครศรีอยุธยา-สุดตะลึงของเก่าอายุนับร้อยปีที่วัดย่านอ่างทอง ผักไห่ วัดเก่าแก่ที่มีสมุดข่อยคัมภีร์โบราณเก็บอยู่ ชุมชนพร้อมต้อนรับเป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้
วัดย่านอ่างทอง เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน้อย ในตำบลบ้านใหญ่ อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วัดย่านอ่างทอง แต่เดิมชื่อ วัดจุฬาโลก ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2367 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2370 คงได้รับการบูรณะในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตั้งแต่รัชกาลที่ 3–6 ได้เสด็จประพาสทางชลมารคมาที่วัดย่านอ่างทอง ชื่อวัดจุฬาโลกต่อมาก็เปลี่ยนชื่อวัดย่านอ่างทองนั้นมีเรื่องราวเล่าขานสืบมาหลายชั่วอายุคนมีชาวมอญหรือชาวรามัญตั้งบ้านเรือนในเขตเกาะเมืองกรุงศรีอยุธยาชาวมอญส่วนใหญ่ประกอบอาชีพขายโอ่งและอ่างน้ำพอแจวเรือมาย่านคุ้งน้ำแม่น้ำน้อยก็จอดพักแรมหน้าวัดจุฬาโลกวันดีคืนดีจะพบเห็นอ่างทองลอยน้ำมาแล้วจมน้ำหายไปโดยเฉพาะขึ้น 15 ค่ำด้วยเหตุผลนี้ทางวัดจุฬาโลกจึงเปลี่ยนชื่อเป็น วัดย่านอ่างทอง
สถาปัตยกรรมที่สวยงามได้แก่ อุโบสถล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว ภายในประดิษฐานองค์พระประธานปางมารวิชัยหล่อด้วยทองผสมผสานสำริดศิลปะสุโขทัยหรือแบบเมืองเหนือ หน้าบันอุโบสถมีรูปแกะสลักพระนารายณ์และพระอินทร์ ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ ได้ริ้อเอาตำหนักของเจ้านายวังหน้า ถวายไปปลูกไว้เป็นสังฆาวาส จิตรกรรมในวิหารผสมผสานรูปแบบไทยประเพณีด้วยเส้นสินเทา
วัดย่านอ่างทอง สร้างขึ้นมาเมื่อครั้งต้นกรุงรัตนโกสินทร์สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ส่วนเรื่องเล่าความเป็นมาของวัดย่านอ่างทองหรือวัดจุฬาโลกสมัยนั้น อดีตเจ้าอาวาสวัดนี้คือพระธรรมไตรโลกฯ ท่านได้ไปเยี่ยมพระพุทธโฆษาจารย์(ขุน) ซึ่งเป็นพระสหายธรรมที่วัดโมลีโลกหรือวัดท้ายตลาดเมื่อครั้งก่อนอยู่ในเขตฝั่งธนบุรีและต่อมาสันนิษฐานว่าเจ้านายในวังหน้าได้ส่งช่างหลวงพร้อมกับอุปกรณ์มาจัดสร้างวิหารในรูปแบบคล้าย ๆ ปราสาท 4 ทิศมีประตู 4 ด้านและยอดพระปรางค์ส่วนจั่วซ้อน ๆ ทับกัน 3 ชั้นดูสวยงามแล้วประดิษฐานองค์พระพุทธรูปหล่อด้วยทองผสมผสานสำริดศิลปะสุโขทัยทั้ง 4 ทิศจึงเรียกวิหารจตุรมุข เสร็จแล้วเดินถัดไปคืออุโบสถล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วภายในประดิษฐานองค์พระประธานปางมารวิชัยหล่อด้วยทองผสมผสานสำริดศิลปะแบบสุโขทัยหรือแบบเมืองเหนือสำหรับหน้าบันอุโบสถมีรูปแกะสลักพระนารายณ์และพระอินทร์เป็นเทพเจ้าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ครั้งหนึ่งเคยได้จัดงานเฉลิมฉลองวัดนี้กล่าวกันว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ครั้งที่พระองค์ท่านยังทรงผนวชได้เสด็จวัดจุฬาโลกแล้วทรงโปรดแสดงพระธรรมเทศนาให้ราษฏรได้เข้าถึงพระธรรมในพระพุทธศาสนา
พระสมุห์สมพงศ์ ธัมมสาโร เจ้าอาวาสวัดย่านอ่างทอง เปิดเผยว่า เรือนพิพิธภัณท์วังหน้า รื้อมาจากรัชกาลที่ 3 แต่ไม่ได้มีบันทึกชัดเจน มีการทอยยวัตถุของใช้เข้ามา มีตำหนักวังหลัง เรือนขุนนาง ไม่มีอดีตเจ้าอาวาสรูปไหนมายุ่งเกี่ยว สิ่งของต่างๆอยู่ในตัวเรือนสุมอยู่ข้างใน มีภาพวาดสีน้ำมันบนไม้สัก พระโบราณจำนวนมาก จึงเกณท์ชาวบ้านมาช่วยกันดูแล จนปี 2560 ทางพิพิธภัณท์เจ้าสามพระยา เข้ามาจดทะเบียนสิ่งของภายในทั้งหมด และจัดการดูแล มีพระแท่นของกรมบวรมหาศักดิ์พลเศรษฐ์ ที่ดูแลที่นี่ และยังมีพระพุทธรูปที่เคยอยู่ในปราสาทเทพบิดา และพระคัมภีร์โบราณสภาพเดิม ที่สำคัญคือพบผ้าลายอย่างจำนวนมาก กว่า 70 ผืน นำออกมาโดยได้รับคำแนะนำจากวัฒนธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และสถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา เข้ามาช่วยดูแล
นายสุพจน์ ตั้งไพศาล หนึ่งในตัวแทนชาวบ้านที่เข้ามาช่วยดูแลและจัดการพิพิธภัณท์แห่งนี้กล่าวว่า หลังจากที่มีการเปิดพิพิธภัณท์แห่งนี้ ได้เข้ามาคุยกับหลวงพ่อ ทำให้เห็นว่าที่นี่เป็นสถานที่สำคัญ น่าจะมีการอนุรักษ์และเป็นแหล่งเรียนรู้ ต่อจากนี้ไปชุมชนควรมีส่วนร่วมช่วยกันดูแล มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวชม ชุมชนก็มีส่วนร่วมมีงานอาชีพมาแสดง สิ่งสำคัญที่สุดชุมชนได้ต่อยอดผ้าลายอย่างที่พบ โดยมีการทำผลิตภัณท์ขึ้นมา ซึ่งทางพาณิชย์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เข้ามาดูแล้วและกำลังหาทางส่งเสริมชุมชน
ขณะเดียวกัน อัมพร เรณู ประธานกลุ่มชุมชนวัดย่านอ่างทอง กล่าวว่าได้รับคำแนะนำจากสถาบันอยุธยาศึกษา ในการทำผ้าลายอย่างมาต่อยอดทำผลิตภัณท์ชุมชนขายนักท่องเที่ยว รวมทั้งการจักสาน แต่ก็ยังมีนักท่องเที่ยวมาไม่มาก ซึ่งหากได้รับการสนันบสนุนมากขึ้นก็จะทำให้วัดและชุมชนเป็นที่รู้จักมากขึ้น
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: