X

วิทยาลัยเทคโนฯ อยุธยา ร่วมมือจีน เปิดสอนระบบรางรถไฟฟ้าแห่งแรก

พระนครศรีอยุธยา – อีกไม่นานรถไฟฟ้าจะผ่านจังหวัด วิทยาลัยเทคโนโลยีพาณิชยการอยุธยา ร่วมมือกับวิทยาลัยเทคโนโลยีทางรถไฟหลิ่วโจว เปิดศูนย์หลิ่วโจว Railway Vacational Technical Ayutthaya Campus รองรับ

ที่ วิทยาลัยเทคโนโลยีพาณิชยการอยุธยา ได้มีพิธีเปิดศูนย์หลิ่วโจว Railway Vacational Technical Ayutthaya Campus โดยมี นายสุจินต์ ไชยชุมศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นประธานในพิธีเปิด และมีดร.สุเทพ ชิตยวงศ์ เลขาธิการการอาชีวศึกษา นายชิว โต่งเปา รองคณะบดีวิทยาลัยเทคโนโลยีทางรถไฟหลิ่วโจว สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน และตัวแทนจากการอาชีวศึกษาพระนครศรีอยุธยา ร่วมในพิธีเปิด มี  ดร.สมจิตร ศิริเสนา ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีพาณิชยการอยุธยา ให้การต้อนรับ

วิทยาลัยเทคโนโลยีทางรถไฟหลิ่วโจว ได้ทำความร่วมมือกับวิทยาลัยเทคโนโลยีพาณิชยการอยุธยา มากว่า 3 ปี และมีผลตอบรับที่ดี จึงได้มาทำการเปิดเป็นวิทยาเขตของวิทยาลัยเทคโนโลยีทางรถไฟหลิ่วโจว โดยหลักสูตรการเรียนจะมุ่งเน้นให้นักศึกษาสามารถเข้าถึงระบบเทคโนโลยีและบริหารการจัดการที่เป็นรูปแบบในอนาคตของประเทศไทย

ความร่วมมือดังกล่าวนี้จะทำให้นักศึกษาจากวิทยาลัยเทคโนโลยีพาณิชยการอยุธยา สามารถไปแลกเปลี่ยนการเรียน และฝึกปฏิบัติที่ Liuzhou Railway Vocational Technical College ได้  และจะได้มีความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ

ทาง Liuzhou Railway Vocational Technical College เน้นภาคปฏิบัติที่ให้นักศึกษาได้ทำการศึกษาจากของจริง ที่วิทยาลัยมีรางรถไฟ และหัวรถจักรที่ให้นักศึกษาได้ทำการเรียน โดยนักศึกษาเรียนจากห้องเรียนที่เป็นภาคสนามในการปฏิบัติ อยู่ในเมืองหลิ่วโจว

นายสุจินต์ กล่าวว่าแนวทางการพัฒนาในอนาคตระบบโลจีสติกส์ พื้นฐานของอยุธยา ตำแหน่งที่ตั้งค่อนข้างดี เป็นศูนย์กลางคมนาคม ขึ้นภาคเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะ 60-70 กิโลเมตร เป็นทางแยกไปยังสองภาค เป็นเส้นทางเอื้อต่อคมนาคม ทางจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้วางแนวทางให้สอดคล้องในเรื่องคมนาคม ทางบกและทางน้ำ ที่ขนส่งสินค้าใหญ่ที่สุด มีการพัฒนาการบริหารจัดการน้ำในเรื่องของน้ำแล้ง น้ำท่วม และการวางผังเมืองรวม

สิ่งที่จังหวัดวางในวันนี้ เป็นการวางแนวทางสอดคล้อง โดยเฉพาะเรื่องการพัฒนาการศึกษา ในการพัฒนาเรื่องการให้ความรู้ระบบรางจึงเป็นความจำเป็น เป็นเรื่องที่ดีที่ประเทศจีนได้มาร่วมมือ จะทำให้เป็นพื้นฐานในการพัฒนาระบบรางในอนาคต ซึ่งเราจำเป็นต้องมีผู้ที่มีความรู้มารองรับ ในความเป็นจังหวัดพระนครศรีอยุธยานั้น ในเรื่องการปรับตัวทางการให้ความรู้และการศึกษา ในเรื่องที่ตลาดมีความต้องการจึงเป็นเรื่องที่มาถูกทางแล้ว

ด้าน ดร.สุเทพ ชิตยวงศ์ เลขาธิการการอาชีวศึกษา เปิดเผยว่า สำนักงานการการอาชีวศึกษา ตระหนักถึงความคิดของนักเรียนนักศึกษาที่มาจากทางสายสามัญ มุ่งหวังให้เป็นประเทศรายได้ปานกลางถึงสูง ก็ต้องเปลี่ยนให้นักศึกษาได้ลงมือทำจริง จึงต้องเรียนรู้จากสถานที่จริง ครั้งนี้ยุทธศาสตร์ชาติมุ่งปรับปรุงระบบขนส่งเป็นระบบรถไฟ ระบบรางคู่ ระบบรถไฟใต้ดิน นักศึกษาจะได้เรียนรู้ในสถานประกอบการจริง

หากความร่วมมือไทยจีนสำเร็จ มีการก่อสร้างทางรถไฟแล้ว นักศึกษาก็จะได้ลงมือทำจริง กับผู้ประกอบการ โดยเฉพาะเส้นทางแรกคือนครราชสีมา ถือเป็นการเปลี่ยนแนวความคิดของเด็ก

ในเรื่องที่สถานศึกษาแห่งนี้ได้รับการคัดเลือกให้เป็นสถานที่แรกๆ เพราะพระนครศรีอยุธยา เป็นประตูสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ถือว่าเป็นเมืองท่าบกชนิดหนึ่ง เป็นศูนย์รวมของการเดินทาง ซึ่งเดิมก็มีแผนจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นชุมทางการขนส่งและเดินทาง การเลือกสถาบันในพื้นที่ ก็เพราะพระนครศรีอยุธยาเป็นจุดที่ผู้คนให้ความสำคัญที่จะไปสู่อิสาน และยังเป็นเมืองหลวงในประวัติศาสตร์และเป็นเมืองมรดกโลกด้วย

 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

Picture of สัมฤทธิ์ เจียมเจริญพรกุล

สัมฤทธิ์ เจียมเจริญพรกุล

รัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิต การเมืองการปกครองท้องถิ่น สถาบันเทคโนโลยีแห่งอโยธยา ปริญญาบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มทร.สุวรรณภูมิ ปริญญามหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา รางวัลพระราชทานเทพทอง สมาคมนักวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย นักเรียนการแสดง รัชฟีล์มที่วี artspa ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา บรรณาธิการข่าวสถานีโทรทัศน์เคเบิลเอทีวี บรรณาธิการเจ้าของเพจสถานีข่าวเอทีวี นักเขียนอิสระ