ที่จ.ชลบุรี “สนธยา” แถลงผลงาน 1 ปี หลัง คสช.แต่งตั้งหวังเป้าหมายสานภารกิจรองรับ EEC ขณะเจ้าตัวแจงเร่งแก้ไขงานค้างเก่าปัญหาซ้ำซาก ถนน การจราจร แหล่งท่องเที่ยว สิ่งแวดล้อม น้ำเสีย น้ำท่วม ขยะ สาธารณสุข และการศึกษา พร้อมเสนอแนวคิดการมีส่วนร่วมทุกภาคีวางแผนรองรับ EEC อย่างเต็มรูปแบบภายใต้คอนเซปต์ “Neo Pattaya” มั่นใจพัทยาเป็นเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจโลกแห่งใหม่
ไม่พลาดทุกกระแสร้อนชลบุรี-พัทยา กดรับข่าว “พัทยานิวส์”ผ่านไลน์ได้แล้ววันนี้
วันนี้ (10 ต.ค.) ที่ศาลาว่าการเมืองพัทยา จ.ชลบุรี นายสนธยา คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยา กล่าวบรรยายพิเศษกับภาคีทุกภาคส่วนเกี่ยวกับการบริหารงาน แผนงานในอดีต ปัจจุบันและอนาคต หลังได้รับแต่งตั้งจาก คสช.ให้มาดำรงตำแหน่งนายกเมืองพัทยา ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2561 ซึ่งครบรอบการทำงาน 1 ปีเต็ม โดยมีคณะผู้บริหาร สมาชิกสภาเมืองพัทยา คณะที่ปรึกษา หัวหน้าส่วนราชการ ตัวแทนองค์กรภาครัฐ เอกชน ผู้นำชุมชน ศาสนา ภาคธุรกิจการท่องเที่ยว และหน่วยงานภาครัฐเข้าร่วม
ข่าวน่าสนใจ:
- Baan Pattaya จัดงานฉลองเปิดตัวโครงการบ้านโปรเจกต์ใหม่ล่าสุด Baanpattaya Ascent
- นครพนม สุดสลดเพลิงพิโรธรุ่งวอด 9 หลัง ชาวบ้านไร้ที่อยู่ จนท.เร่งช่วยเหลือ
- นราธิวาส-สุดทน! พ่อค้าแม่ค้าร้อง ส.ส.นำเรื่องเข้าสภาฯ หลัง "บอสตลาดเก็นติ้ง" จัดหนัก! ปรับราคาเช่า-ต่อสัญญาสูงลิ่ว
- สนามแข่งบุญชิงถ้วยพระราชทานงานพ่อโสธร เจ้าถิ่นครองเจ้าสนาม 55 ฝีพาย
นายสนธยา กล่าวว่า 1 ปีหลังจากที่เข้ามาทำหน้าที่ในตำแหน่งนายกเมืองพัทยาตามคำสั่งของคณะรัก ษาความสงบแห่งชาติ โดยมีเป้าหมายที่ต้องการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ และหามาตรการในการรองรับการเป็นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวและการลงทุน ในโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC ก็ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยร่วมกับทุกภาคส่วนในการสำรวจ แก้ไข จัดตั้งโครงการ และวางแผนดำเนินการทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว โดยเฉพาะกรณีปัญหาเรื่องของ น้ำท่วมขัง ซึ่งถือเป็นวิกฤติที่สร้างปัญหาให้กับเมืองพัทยามาอย่างยาวนาน กรณีนี้ได้ตั้งทีมคณะทำงานเพื่อดูแลเป็นการเฉพาะและเริ่มดำเนินการทันทีโดยสานต่อภารกิจที่ได้ทำไว้ในยุคของนายอิทธิพล คุณปลื้ม ขณะสมัยดำรงตำแหน่งนายกเมืองพัทยา โดยได้มีการขุดเจาะแนวฟุตปาธบริเวณชายหาดพัทยาจำนวน 11 จุดเพื่อระบายน้ำท่วมขังที่สร้างภาพลักษณ์ที่เสียหายต่อการท่องเที่ยวให้เกิดการระบายที่รวดเร็ว ซึ่งจากเดิมปัญหาน้ำท่วมจะกินเวลาการระบายนานกว่า 2 ชม.แต่ปัจจุบันจะใช้เวลาเพียง 28 นาทีเท่านั้น ขณะที่ปัญหาหลักของน้ำท่วมคือปัญหาน้ำหลากจากฝั่งตะวันออก ซึ่งมีระดับความสูงกว่าเมืองพัทยากว่า 50-60 เมตร ขณะที่ท่อระบายน้ำในเขตเมืองพัทยานั้นมีสัดส่วนของท่อขนาด 60 ซม.ถึง 70 % ขณะที่ท่อขนาด 60-80 ซม.มีแค่ 30 % จึงทำให้การระบายเป็นไปด้วยความยากลำบากจากมวลน้ำที่ไหลบ่าเข้ามาเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันจึงได้มีการอนุมัติโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมถาวรที่กำลังจัดทำอยู่ ทั้งบริเวณถนนสายชายหาด ถนนเลียบทางรถไฟ และถนนนาเกลือ ซึ่งคาดว่าหากโครงการแล้วเสร็จก็คงจะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพียงแต่อาจสร้างความลำบากและความไม่สะดวกสบายบ้างให้กับประชาชน อีกทั้งโครงการเหล่านี้ยังดำเนินการพร้อมกับโครงการไฟฟ้าลงดินในเขตพื้นที่เมืองใหญ่ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ที่พบว่ามีการขุดเจาะแนวถนนเพื่อวางสายไฟแรงสูง แรงต่ำทั่วเขตเมืองพัทยา จึงทำให้เกิดปัญหาด้านการจราจรและวิถีการดำรงชีวิตของประชาชนไปบ้าง ขณะ นี้ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเร่งประสานกับกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเพื่อกำหนดจุด ระยะเวลาและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว ด้วยการดำเนินการดังกล่าวที่ผ่านมาไม่มีการประสานกับเมืองพัทยาแต่อย่างใด ทำให้เกิดปัญหาการขุดเจาะผิวจราจรทั่วเขตเมืองพัทยาและรอบนอก
สำหรับเมืองพัทยาส่วนตัวแล้วมองว่าเป็นเหมือน “คนหนุ่มไฟแรงแต่เป็นอัมพฤกษ์” ด้วยความเป็นเมืองที่มีศักยภาพสูง ซึ่งจะเห็นได้จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นทุกปีกว่า 14 ล้านคน สร้างรายได้กว่า 2.3 แสนล้านบาท หรือเรียกได้ว่ามีเศรษฐกิจรองเป็นอันดับที่ 2 รองจาก กทม.แต่ยังมีปัญหาให้แก้ไขอย่างมากมาย จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งท้องถิ่น ภูมิภาค และส่วนกลาง ที่ต้องมีความสามัคคี หรือ “การร่วมสร้างโอกาส สร้างอนาคตร่วมกัน” ปัญหาทุกอย่างก็จะสามารถเยียวและผ่านพ้นไปได้ ทั้งเรื่องของ ปัญหาสังคม จราจร ถนนหนทาง ขยะมูลฝอย น้ำเสีย น้ำท่วม สาธารณะสุข ความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม และการศึก ษา อาทิ เรื่องการพัฒนาชายหาดโดยการขยายพื้นที่ความกว้างตลอดแนว 2.8 กม.ในระยะความกว้าง 35 ม. จนปัจจุบันมีสภาพสวยงามและเป็นจุดขายด้านการท่องเที่ยวที่สำคัญ การศึกษา ซึ่งมีการต่อยอดการพัฒนาระบบโครงสร้าง ระบบการเรียนการสอน จนปัจจุบันการศึกษาของเมืองพัทยามีระดับดีขึ้นถึงอันดับ 3 ของประ เทศ ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญ และจะมีการยกระดับต่อไปเพื่อผลิตบุคลากรสู่พื้นที่ให้เพียงพอกับความเติบโตที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ขณะที่ปัญหาขยะมูลฝอยได้มีการเปลี่ยนแปลงผู้รับเหมาและเก็บขนถ่ายที่มีศักยภาพมากขึ้นจากปัญหาขยะที่มีมากถึง 460 ตัน/วัน ส่วนปัญหาขยะตกค้างในพื้นที่เกาะล้านจำนวนกว่า 7 หมื่นตันก็กำลังดำเนินการและคงสามารถแก้ไขได้ในเร็ววันนี้ เช่นเดียวกับปัญหาน้ำเสียซึ่งปัจจุบันมีความ สามารถในการรองรับเกินขีดจำกัดที่ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยมีการศึกษาและวางแผนในการขอจัดสรรงบประมาณจากภาครัฐในการขยายระบบการบำบัดให้สามารถรองรับได้มากขึ้นในอนาคต
นายสนธยา กล่าวต่อไปว่าสำหรับกรณีของโครงการะเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรือ EEC นั้น ถือเป็นนโยบายหลักของประเทศ ที่ต้องการส่งเสริมการลงทุน การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ และสังคม โดยวางเมืองพัทยาเป็นศูนย์กลาง ซึ่งกรณีนี้ในส่วนของเมืองพัทยาเองก็ต้องเตรียมความพร้อมในการรองรับทั้งระบบคมนาคม สาธารณูปโภค และด้านอื่นๆตามมา โดยความคืบหน้าล่าสุดจะมีการเปิดซองประมูลสนามบินอู่ตะ เภาให้มีการก่อสร้างเป็นสนามบินพาณิชย์นานาชาติแห่งที่ 2 ของประเทศ ซึ่งมีขนาดเท่ากับสนามบินสุวรรณภูมิในวันที่ 11 ตุลาคมนี้ ซึ่งหากเป็นไปตามแผนจะทำให้มีการเดินทางของนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นและคาดว่าจะมีผู้โดยสารผ่านสนามบินถึงกว่า 55 ล้านคน/ปี ซึ่งจะทำให้พื้นที่ของภาคตะวันออกและประเทศได้รับผลประโยชน์อย่างเต็มที่ เช่นเดียวกับระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่กำลังดำเนินการ ที่เมืองพัทยาเองก็ต้องวางแผนรอง รับอย่าง สถานีรถขนส่งขนาดใหญ่ และระบบรถรางไฟฟ้าหรือ Tram เพื่อต่อยอดการเดินทางที่สมบูรณ์แบบและความสะดวกสบาย หรือแผนการจัดสร้างท่าเรือสำราญ หรือ Cruise Terminal บริเวณท่าเรือพัทยาใต้ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางทางทะเลเข้าสู่เมืองพัทยาในอนาคต โดยทั้ง 2 โครงการนี้ปัจจุบันได้ทั้งผู้สำรวจศึกษา และออกแบบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งจากแผนนโยบายเหล่านี้จะเห็นได้ว่าในส่วนของ “คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน” หรือ BOI มีผู้ประกอบการยื่นความประสงค์ที่จะลงทุนในภาคตะวันออกกว่า 6 แสนล้านบาท
“เมืองพัทยาจะมีการพัฒนาไปสู่ยุคใหม่ภายใต้คอนเซปต์ Neo Pattaya โดยการสร้างนวัตกรรมใหม่ หรือพัทยาโฉมใหม่ก้าวไกลไม่ทิ้งกัน ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากทุกภาคส่วน ทุกภาคีเครือข่ายในการร่วมกันเดินไปข้างหน้าไม่ทิ้งกัน เพื่อผลักดันให้เมืองพัทยาเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การลงทุน การท่องเที่ยว การพัฒนาพัทยาสู่ Smart City,Mice City และ Sport City อย่างเต็มรูปแบบ
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: