วันที่ 11 พฤศจิกายน 2565 เวลา 10.30 น. ที่ สุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก ตำบลบ้านเหนือ จังหวัดกาญจนบุรี นาย มาร์ค โบว์ลิ่ง ประธานอาสาสมัครแห่งราชอาณาจักรอังกฤษ ประจำประเทศไทย ผู้แทนเอกอัครราชทูตอังกฤษ ประจำประเทศไทย พร้อมด้วย พันเอก โทนี สเติร์น ผู้ช่วยทูตทหาร สถานเอกอัครราชทูตอังกฤษ ประจำประเทศไทย ร้อยโท ทศพล ไชยโกมินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี ผู้แทนประเทศไทย ร่วมวางพวงมาลารำลึกถึงทหารผ่านศึก และ คณะทูตทหาร ผู้แทน จากประเทศต่างๆ ทั้งราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ สาธารณรัฐเคนยา สาธารณรัฐอินเดีย สหรัฐอเมริกา ประเทศนิวซีแลนด์ เครือรัฐออสเตรเลีย ประเทศแคนาดา สาธารณรัฐสิงคโปร์ ประเทศมาเลเซีย สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ทหาร ตำรวจ อดีตทหารผ่านศึกและประชาชนจากหลายประเทศ ร่วมรำลึกถึงวีรกรรมของนักรบ ผู้เสียสละเนื่องในพิธีรำลึกทหารผ่านศึกสำหรับพิธีวันรำลึกทหารผ่านศึก จัดขึ้นในวันที่ 11 พฤศจิกายน เป็นประจำทุกปี เพื่อรำลึกถึงวีรกรรมของนักรบ ผู้เสียสละ และให้เกียรติกับวีรกรรมของนักรบที่เสียสละชีวิตในระหว่างสงครามโลก ซึ่งได้มีพิธีวางพวงมาลาเป็นการแสดงความอาลัยให้กับนักรบผู้เสียสละและยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างมิตรประเทศต่างๆ ที่เข้าร่วมงานได้เป็นอย่างดีสุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก” หรือ “สุสานทหารสหประชาชาติ” ที่ชาวจังหวัดกาญจนบุรีทั่วไปเรียกว่า “ป่าช้าอังกฤษ” เป็นสุสานขนาดใหญ่บนพื้นที่ 17 ไร่ บรรจุศพเชลยศึกและทหารที่เสียชีวิตระหว่างการสร้างทางรถไฟสายมรณะถึง 6,982 หลุม และยังมีสุสานช่องไก่ ซึ่งรัฐบาลไทยและฝ่ายสัมพันธมิตรได้ตกลงกันเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2497 เพื่อสร้างสุสานสองแห่งนี้ขึ้น บรรยากาศในสุสานเงียบสงบและร่มรื่น พื้นที่ภายในได้รับการตกแต่งไว้อย่างเป็นระเบียบสวยงาม เหนือหลุมฝังศพทุกหลุมมีแผ่นทองเหลืองจารึก ชื่อ อายุ และประเทศของผู้เสียชีวิต บรรทัดสุดท้ายเป็นคำไว้อาลัยที่โศกเศร้า ทุกปีจะมีวันที่รำลึกถึงผู้เสียชีวิตอีกด้วย.
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ข่าวน่าสนใจ:
- ผู้ว่าฯขอนแก่น ลุยตรวจค้นเรือนจำ ตอกย้ำมาตรการคุมเข้มยาเสพติดทุกรูปแบบ
- ขอนแก่นตรียมพร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยว “ประดับตกแต่งไฟสวนประตูเมืองขอนแก่น”ต้อนรับปีใหม่ 2568
- พ่อค้ายาหัวใส!! ซุกยาในหัวชาร์ตโทรศัพท์มีรูปสติกเกอร์โดเรม่อน ตบตาเจ้าหน้าที่ ถูกฝ่ายปกครองรวบพร้อมของกลาง จ.สระแก้ว
- ช่วงอากาศหนาวเย็นสัมผัสประเพณีอาข่าดงยาง soft power ทางวัฒนธรรมของเมืองแพร่
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: