X

สาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี จัดทีมเชิงรุกลงพื้นที่ป้องกันโรคไข้มาลาเรียในพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมา

นายแพทย์ชาติชาย กิติยานันท์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี เปิดเผยว่า โรคมาลาเรีย เป็นโรคติดต่อที่มียุงก้นปล่อง เป็นพาหะนำโรค มักพบในพื้นที่ป่าเขา ป่าทึบ ซึ่งไทยและประเทศเพื่อนบ้านมีความร่วมมือในการควบคุมป้องกันโรคร่วมกัน โดยแรงงานต่างชาติที่เข้ามาทำงานในไทย ต้องผ่านการตรวจเลือดหาเชื้อมาลาเรีย หากพบติดเชื้อมาลาเรีย จะให้การรักษาเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด โรคนี้ป้องกันได้โดยการป้องกันไม่ให้ยุงกัด นอนในมุ้ง ใช้ยาทากันยุง ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุข และภาคีเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ชายแดนออกให้คำแนะนำประชาชน เรื่องการป้องกันโรคไข้มาลาเรีย โดยสถานการณ์โรคไข้มาลาเรียจังหวัดกาญจนบุรี อยู่ในลำดับที่ 3 ของ 6 จังหวัดไข้สูง อันดับ 1. ตาก 2. แม่ฮ่องสอน  3. กาญจนบุรี  4. ราชบุรี 5. เพชรบุรี 6. ประจวบคีรีขันธ์  ปีพ.ศ.2566 พบผู้ป่วย จำนวน 492 ราย มีแนวโน้มสูงกว่าปี พ.ศ.2665 ผู้ป่วยส่วนใหญ่ เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิงประเภทผู้ป่วยพบมากสุด ได้แก่ คนไทย รองลงมา ต่างชาติ 2 และต่างชาติ 1 ตามลำดับ กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด 15-24 ปี รองลงมา 25-44 ปี และ 5-14 ปี ตามลำดับ สัญชาติที่พบมากที่สุด ได้แก่ ไทย รองลงมา พม่า และกระเหรี่ยงตามลำดับ สถานที่ตรวจมากที่สุด ได้แก่ รพ./รพ.สต. รองลงมา มาลาเรียคลินิก และสำนักงานมาลาเรียชุมชน ตามลำดับ ส่วนใหญ่พบเชื้อ PV อาชีพที่พบมากที่สุด ได้แก่ ทำไร่/ทำสวน รองลงมานักเรียน และรับจ้างนายแพทย์ชาติชาย กล่าวต่อไปว่า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี ร่วมกับสำงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5  จังหวัดราชบุรี โรงพยาบาลสังขละบุรี สาธารณสุขอำเภอสังขละบุรี องค์การอไลท์ประเทศไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ และภาคีเครือข่ายสุขภาพทุกภาคส่วน ร่วมกันจัดงานรณรงค์กำจัดโรคไข้มาลาเรีย จัดทีมเชิงรุกลงพื้นที่บ้านกองม่องทะ  สาขาบ้านไล่โว่ ตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรีรณรงค์กำจัดโรคไข้มาลาเรีย ทั้งนี้ การกำจัดการแพร่กระจายของผู้ป่วย Plasmodium falciparum (Pf) ภายในปี 2566 และกำจัดโรคไข้มาลาเรียทั้งหมดในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี ภายในปี 2567 โดยจะมุ่งเน้นไปที่ P. falciparum foci และเร่งรัดการดำเนินการกำจัดโรคไข้มาลาเรียโดยใช้มาตรการ 6 + 1 ได้แก่ 1. เพิ่มการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกในชุมชน 2. ขยายการเข้าถึงบริการตรวจรักษาในชุมชนโดยใช้กลยุทธ์ตรวจเร็วรักษาเร็ว 3. ตอบโต้เมื่อพบผู้ป่วย/เกิดการระบาดอย่างรวดเร็ว 4. ควบคุมยุงพาหะให้ครอบคลุม 5. ติดตามการกินยาและผลการรักษาให้ครบถ้วน 6. ติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง และ + 1 คือสนับสนุนเครื่องมือ นวัตกรรมใหม่ แนวทาง คู่มือ และวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ ในการกำจัดโรคไข้มาลาเรียให้หมดไปสำหรับการบริการด้านจัดการผู้ป่วยได้ขยายวงกว้างจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ ไปยังสถานบริการสาธารณสุขชุมชน Malaria Post (MP) รวมถึงการประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่สาธารณสุขชุมชน (MPW) และองค์กรภาคประชาสังคมในพื้นที่ (CSO) ได้มีส่วนช่วยในการเข้าถึงมาตรการต่างๆ ที่สำคัญของการกำจัดโรคไข้มาลาเรียโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประชากรไทย และผู้อพยพที่มีความเสี่ยงในพื้นที่แพร่เชื้อมาลาเรีย นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมทีม SRRT ควบคุมโรคไข้มาลาเรีย กลุ่มคนข้ามชาติ  กิจกรรมค้นหาผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรียเชิงรุกกิจกรรมชุมชนคู่ขนานชายแดนไทย-เมียนมาร์ บ้านทิไล่ป้า–บ้านทิช่องคิ อ.สังขละบุรี อบรม อสต. ประชุมผู้นำชุมชนและหน่วยงานภาคีเครือข่าย ศูนย์พยาบาลบ้านทิช่องคิ เป็นต้นวิธีป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงก้นปล่องกัด ขอแนะนำให้ประชาชนที่อาศัยหรือผู้ที่เดินทางท่องเที่ยวเข้าไปในพื้นที่ชายแดนบริเวณที่เป็นภูเขาสูง ป่าทึบ และมีแหล่งน้ำ ลำธาร ซึ่งเป็นแหล่งแพร่พันธุ์ของยุงก้นปล่อง ควรเตรียมมุ้งหรือเต็นท์ชนิดที่มีตาข่ายกันยุง นอนในมุ้งชุบสารเคมี และสวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว แนะนำให้ใช้สีอ่อนๆ เพราะการใส่เสื้อผ้าสีดำ มักดึงดูดให้ยุงกัดได้มาก รวมทั้งจุดยากันยุง หรือทายากันยุงที่แขน ขา ใบหู หลังคอ และหลังการกลับจากป่า หากมีอาการหนาวสั่น มีไข้ ปวดศีรษะ อาเจียน เบื่ออาหาร บางรายปวดศีรษะมากอาจปวดลึกเข้าไปในกระบอกตา กระสับกระส่าย ขอให้รีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลทุกแห่งใกล้บ้าน เพื่อรักษาและต้องแจ้งประวัติการเข้าป่าหรือไปบริเวณพื้นที่เสี่ยงให้แพทย์ทราบด้วย โรคนี้มียารักษาหาย หากรักษาเร็วจะช่วยลดความรุนแรงของโรคและลดอัตราการเสียชีวิตได้ โดยขอให้กินยาหรือฉีดยาจนครบ เพื่อให้หายขาดและป้องกันเชื้อดื้อยา หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน