เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2566 ที่ ห้องประชุมโกวิทอนุสรณ์ วัดอินทาราม ต.หนองขาว อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้จัดพิธีลงนาม บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ MOU ระหว่างวัดอินทาราม สำนักงานเทศบาลตำบลหนองขาว ชมรมท่องเที่ยวหมู่บ้านวัฒนธรรมหนองขาว ศูนย์จัดจำหน่ายสินค้าพื้นบ้านตำบลหนองขาวและโรงเรียนวัดอินทาราม (โกวิทอินทาราม)ซึ่งเป็นกลไกความร่วมมือกับหน่วยงานเครือข่ายในพื้นที่เพื่อเป็นแกนกลางในการพัฒนาหมู่บ้านอุตสาหกรรมชนบทเพื่อการท่องเที่ยว (หมู่บ้านJBIC) บ้านหนองขาว ให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและสังคมยุคใหม่เป็นโมเดลต้นแบบขยายผลสู่ 17 พื้นที่ในภูมิภาคเป้าหมายนายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรม ซึ่งปัจจุบันใช้ชื่อว่า กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ดำเนินโครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรมชนบทเพื่อการท่องเที่ยว (โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาอาชีพและกระจายรายได้สู่หมู่บ้านชนบท)เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมและพัฒนาอาชีพและกระจายรายได้สู่ชนบทโดยใช้การท่องเที่ยวและหัตถกรรมชนบทจากภูมิปัญญาพื้นบ้านในการสร้างความสนใจแก่นักท่องเที่ยว โดยได้ดำเนินการพัฒนาหมู่บ้านอุตสาหกรรมในชนบทให้เป็นหมู่บ้านอุตสาหกรรมชนบทเพื่อการท่องเที่ยวด้านอาชีพอุตสาหกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม และพัฒนาอาชีพสร้างรายได้ให้แก่ราษฎรอย่างยังยืนด้วยการดำเนินการก่อสร้างอาคารศูนย์กลางชุมชนในแต่ละพื้นที่จำนวน 18 พื้นที่เพื่อใช้เป็นสถานที่สาธิตจำหน่ายผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมของชุมชนและเป็นที่ต้อนรับนักท่องเที่ยวผู้มาเยือนชมหมู่บ้านโดยใช้งบประมาณก่อสร้างจากเงินกู้ตามโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยว Japan Bank Of International Cooperation : JBICในปัจจุบันหมู่บ้านอุตสาหกรรมชนบทเพื่อการท่องเที่ยว (หมู่บ้านJBIC) ได้รับการพัฒนาอย่างไม่ต่อเนื่องจึงเห็นควรได้รับการฟื้นฟูเพื่อให้สามารถรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและสังคมยุคใหม่เพื่อนำไปสู่การกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ให้เกิดการบูรณาการความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการชุมชนหมู่บ้านอุตสาหกรรมชนบทเพื่อการท่องเที่ยว กลุ่มวิสาหกิจชุมชน หน่วยงานภาครัฐ และเอกชนในพื้นที่ในการบริหารจัดการโครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรมชนบทเพื่อการท่องเที่ยวให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้นนายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวต่อว่า จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นในปี 2566 “ดีพร้อม” ได้ลงพื้นที่สำรวจและประเมินศักยภาพหมู่บ้าน JBIC ใน 18 พื้นที่เป้าหมาย วางแผนเร่งฟื้นฟูหมู่บ้าน JIBC และคัดเลือกหมู่บ้านหนองขาว ต.หนองขาว อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี ซึ่งเป็นชุมชนที่มีศักยภาพในอันดับต้น เป็นหมู่บ้าน JBIC ต้นแบบ “ดีพร้อม” ได้นำนโยบาย MIND มาชายฟื้นฟูหมู่บ้าน JBIC ให้เติบโตอย่างยั่งยืนประกอบด้วย 1.ค้นหาและบอกต่อมุ้งเฟ้น หาผู้นำชุมชนทางธุรกิจเป็นต้นแบบที่ดำเนินธุรกิจร่วมกับสังคมโดยรอบอย่างยั่งยืน เป็นผู้นำทางธุรกิจที่มีศักยภาพในการพัฒนาและขับเคลื่อนหมู่บ้านทางอุตสาหกรรมชนบทเพื่อการท่องเที่ยวให้เศรษฐกิจเติบโต สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนอย่างยั่งยืน 2. ประสานประโยชน์ บูรณาการความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการชุมชนหมู่บ้านอุตสาหกรรมชนบทเพื่อการท่องเที่ยวกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ในการบริหารจัดการศูนย์จำหน่ายสินค้าพื้นบ้านให้เกิดประโยชน์สูงสุดก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น 3. เสริมแกร่ง ให้กับชุมชนหมู่บ้านอุตสาหกรรมชนบทเพื่อการท่องเที่ยว โดยการเสริมแนวคิดการทำแผนธุรกิจชุมชน เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ประชาสัมพันธ์สู่ช่องทางการทำตลาดใหม่ 4.ยกระดับ เป็นกระบวนการบ่มเพาะ “ผู้นำชุมชน” ให้เป็นนักธุรกิจเพื่อสังคมยกระดับสู่การเป็นผู้นำทางธุรกิจ เพื่อต่อยอดธุรกิจร่วมกับชุมชนและสังคมได้อย่างยั่งยืนนายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล้าวทิ้งท้าย “ดีพร้อม” พร้อมฟื้นฟูอาคาร JBIC ให้เป็นศูนย์กลางจำหน่ายสินค้าชุมชนให้กับกลุ่มเป้าหมายในภูมิภาค โดยการเชื่อมกับหน่วยงานต่างๆ ให้เกิดการมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนา การบริหารจัดการการท่องเที่ยว ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน สนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนภายใต้ฐานภูมิปัญญาและวิถีชีวิตของชุมชน ทางด้านคุณภาพและบรรจุภัณฑ์ เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าและสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่เข้าสู่ตลาดชุมชนเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวผู้มาเยือน ได้เห็นถึงศิลปวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกชุมชนที่เป็นเอกลักษณ์ รวมถึงการนำเสนอโบราณสถาณ โบราณวัตถุ และสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาตินอกจากนี้ “ดีพร้อม” ยังให้ความสำคัญกับนักเรียนและเยาวชนในท้องถิ่น ใช้อาคารศูนย์กลางจำหน่ายสินค้าชุมชนเป็นสถานที่สำหรับเป็นแหล่งเรียนรู้ ฝึกอาชีพทั้งการผลิต การบริการ และส่งเสริมให้เป็นจุดบริการการท่องเที่ยวชุมชนอย่างครบวงจร ก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ ทำให้ชุมชนเข้มแข็งจากภายในและคาดว่าเศรษฐกิจระดับฐานราก ในภูมิภาคจะเติบโตกว่า 30% สร้างมูลค่าเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 12 ล้านบาท และตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะขยายผลไปอีก 17 พื้นที่ในเร็วๆนี้
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ข่าวน่าสนใจ:
- ทหารพราน 48 ลุย! จัดระบบทางน้ำไหล - รับมืออุทกภัย !!!!
- UNDP และ ม.อ๊อกซ์ฟอร์ด เผยวิจัยใหม่ แนะแนวทางยุติความยากจนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- ศุภาลัย เปิดบ้านซีรีส์ใหม่ Tropical Modern ครั้งแรก! ในสุราษฎร์ฯ ปักหมุดแบรนด์ “ปาล์มวิลล์ โกเตง” ตอบโจทย์ชีวิตติดเมือง
- พะเยา สุดเศร้า!! เจ้าของลูกสุนัขช่วยสุนัขถูกวางยารอด 2 ตาย 3
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: