วันที่ 23 มิถุนายน 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พบแมลงมวนแดงฝ้ายจำนวนนับร้อยตัวโพล่ออกมาจากโพร่งต้นมะฝ่อที่ขึ้นอยู่ในบริเวณเขื่อน ตำบลช่องสะเดา อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี สร้างความน่าขนลุกแก่ผู้พบเห็น เนื่องตัวมวนแดงฝ้ายเป็นแมลงที่มีลักษณะพิเศษคือปีกคู่หน้าที่เป็นแบบกึ่งอ่อน กึ่งแข็ง ซึ่งแมลงชนิดนี้ที่เห็นเป็นสีดำ เหมือนผม คือปลายปีกหน้าที่มีลักษณะอ่อน ส่วนโคนปีกที่เป็นสีเหลือง มีลวดลายขีดสีดำเหมือนตา มีลักษณะค่อนข้างแข็ง ส่วนสามเหลี่ยม เหมือนจมูก ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของแมลงชนิดนี้ ชาวบ้านจึงเรียกกันทั่วไปว่า มวนหน้าคนนายวสันต์ สุนจิรัตน์ กำนัน ต.ช่องสะเดา อ.เมือง จ.กาญจนบุรี บอกว่า เมื่อก่อนพื้นที่ตรงนี้เคยเป็นไร่มันประมาณกว่า70 ไร่ แต่ได้เลิกเพาะปลูกไป ทำให้ไม่มีต้นไม้กลายเป็นพื้นที่โล่งๆชาวบ้านจึงได้รวมกัน ฟื้นฟูพื้นที่บริเวณนี้ด้วยการปลูกต้นไม้จนพื้นที่บริเวณนี้อุดมสมบูรณ์กลับเป็นป่าเหมือนเดิม จนทำให้ทุกวันนี้มีหิงห้อย และเหล่าแมลงหลากหลายชนิดที่ไม่ค่อยพบเห็นกลับมาอาศัยอยู่ตามต้นไม้เหมือนแต่ครั้งในอดีตสำหรับมวนแดงฝ้ายเป็นแมลงที่มีขนาดเล็ก ขนาดของตัวเต็มวัยยาวราว 1.5 เซนติเมตร ไข่มีสีครีมขุ่นออกขาว เมื่อเจริญเป็นตัวเต็มวัยจะมีสีแดงบริเวณหัวและมีสีส้มบริเวณอก ระหว่างหัวและอกจะมีเส้นสีขาวตัดขวางอยู่ บริเวณสันหลังมีสีดำ มีสีส้มจุดดำที่ปีกแข็ง และสีดำล้วนที่ปีกบาง หนวดและขามีสีดำสนิท บริเวณท้องมีสีแดงอมส้ม และมีลายเส้นสีขาวบริเวณลำตัว นอกจากต้นฝ้ายแล้ว แมลงชนิดนี้ยังรุกรานพืชชนิดอื่น เช่น มะเขือมอญ กระเจี๊ยบ น้ำเต้ากะหล่ำปลี และ นุ่น
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ข่าวน่าสนใจ:
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: