เมื่อเวลา 14.00 น.วันที่ 10 ตค 67 ที่ตำบลกึ๊ดช้าง อำเภอแม่แตงจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นสถานที่เกิดเหตุช้างล้ม 2 ตัวในช่วงสถานการณ์น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ปางช้างจำนวนหลายปางแต่มีเพียงปางเดียวที่เกิดช้างล้มจำนวน 2 เชือกในวันนี้ได้มีเจ้าหน้าที่และทีมงานจากสมาคมสหพันธ์ช้างไทย ปศุสัตว์อำเภอแม่แตง สัตวแพทย์ และ อาสาสมัครอีกจำนวนหนึ่งเดินทางเข้าไปที่ตำบลบ้านขึ้นช้างหลังจากที่ได้มีข่าว ในการจะย้ายที่อยู่ของช้างจำนวน 2 เชือก คือพลาย ดอกแก้ว และพลายขุนเดช
โดยกลุ่มคนทั้งหมดได้ร่วมกันประชุมที่ห้องประชุม อบต.กื้ดช้าง และ ได้แลกเปลี่ยนความเห็นกันว่า ในส่วนของ ช้างทั้ง 2 ตัว ตัวหนึ่งอยู่ในความ รับผิดชอบของนางสาวกาญจนา ศิลปอาชา ส่วนอีกตัวนึงเป็นช้างที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมอุทยานแห่งชาติ พันธุ์พืชและสัตว์ป่า ในการย้าย จะสามารถย้ายได้เพียงตัวเดียว ที่เป็นช้างของนางสาวกาญจนา ศิลปอาชา ซึ่งฝากเลี้ยงไว้ ส่วนช้างของกรมอุทยานแห่งชาติพันธุ์พืชและสัตว์ป่านั้นต้องเป็นคำสั่งของอธิบดีหลังจากนั้นที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนถึงความละเอียดอ่อนในการเคลื่อนย้ายช้างและความเหมาะสมในหลายๆด้านพบว่า การจะย้ายช้างไปอยู่ในสถานที่หนึ่งนั้น ต้องทำให้ช้างคุ้นเคยกับควาญช้างคนใหม่ที่จะเข้ามาดูแลและมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์พร้อมที่จะย้ายไปยังสถานที่แห่งใหม่ ซึ่งจะทำให้ช้างต้องพบสิ่งใหม่ๆและต้องปรับตัว อีกเป็นเวลาหลายวันรวมถึงสถานที่ที่เป็นที่อยู่ของอาศัยของช้าง ณ ปัจจุบันนี้ก็ยังไม่สะดวกที่จะให้นำรถขนาดใหญ่เข้าไป บรรทุกช้าออกมาจนถึงที่สุดที่ประชุมได้มีความเห็นว่าควรจะใช้เวลาให้ควาญช้างคนใหม่เข้าไปทำความคุ้มคุ้นเคยกับช้างอย่างน้อยวันละ 1 ช่วงเวลา และใช้เวลาตั้งแต่ 2 อาทิตย์ถึง 1 เดือน ถ้าสถานการณ์รอบด้านต่างๆดีขึ้นก็จะได้เร่งย้ายช้างไปอยู่ในสถานที่เหมาะสมกับช้างทั้ง 2 เชือกนี้
นสพ.อดุลย์ แสงทอง หัวหน้าสัตวแพทย์ มูลนิธิอนุรักษ์ ช้างและสิ่งแวดล้อม (ปางช้างที่ช้างตาย) กล่าวว่า ต่อข้อถาม ถึง การเลี้ยงช้าง ของ ทางมูลนิธิ นายสัตวแพทย์ อดุลย์ กล่าวว่า การเลี้ยงทั้ง 2 รูปแบบมีทั้งข้อดีและข้อเสียถ้าเกิดเลี้ยงแบบวิธีการเดิมโดยการใช้ล่ามโซ่ในบางครั้งอาจจะมีข้อจำกัดในการเลี้ยงดูคนดูแลส่วนของการเลี้ยงของมูลนิธิตั้งแต่ตอนต้นมี Concept ที่ว่าช้างที่มีอายุมาก และมีความเจ็บป่วยอยู่แล้ว ทำให้การเดินเหินของช้างค่อนข้างช้าและช้างมีอายุมาก มูลนิธิมีพื้นที่เพียงพอค่อนข้างกว้างและมีอิสรภาพในตัวของช้าง ดังนั้น ต้องมอง ว่าเราดูแลช้างเพื่อวัตถุประสงค์ใด ซึ่งตรงนี้เป็นการดูแลลักษณะช้างป่วยเพื่อให้เขามีชีวิตในบั้นปลายอย่างมีความสุขมากที่สุด ฉะนั้นเราจะ ให้เขาได้อยู่อย่างสบายคือพื้นที่ของเขา 1 ตัวต่อ 1 ไร่ครึ่งสามารถเดินภายในโรงนอนสามารถออกไปใช้ชีวิตข้างนอกเดินเล่นได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นหรือตัวอื่นที่ไม่ทะเลาะกันอยู่ร่วมกันได้ในส่วนของการดูแล แบบนี้กะว่าทำให้การเคลื่อนย้ายสัตว์ไม่ทันเวลาที่เกิดเหตุการณ์นายสัตวแพทย์กล่าวว่าการเลี้ยงแบบนี้ไม่ส่งผลต่อการเกิด การเคลื่อนย้ายไม่ทันถึงแม้ว่าจะเกิดเหตุการณ์แต่เหตุการณ์ในครั้งนี้เกิดด้วยสภาวะแวดล้อมหลายอย่างอาทิเช่นน้ำมาเร็วเกินไปซึ่งเราก็ได้ย้ายมาแล้วบางส่วนแต่น้ำมาเร็วเกินที่จะย้ายได้ทั้งหมดซึ่งเราก็ไม่ได้มีช้างแค่เชือกหรือ 2 เชือกแต่เรามีเป็นร้อยเชื่อก็ต้องบริหารวิกฤตให้ทันกับทุกๆชีวิตเพราะเราจะไม่ทิ้งชีวิตในชีวิตหนึ่งไว้ข้างหลังไม่ว่าจะเป็นสุนัข 1 ตัวทุกชีวิตมีค่าเท่ากันฉะนั้นการบริหารอย่างไรให้ทุกชนิด รอดเท่ากันซึ่งอยากจะวอนสื่อว่าอย่าสร้างประเด็นดราม่าเพราะที่เอาชีวิตรอดขึ้นมาได้ถึงตอนนี้ก็ถือว่าดีมากๆ แล้วเพราะมันคือภัยพิบัติอันดับร้ายแรงมากๆ ของชีวิตในพื้นที่เชียงใหม่ภัยพิบัติไม่มีใครทราบล่วงหน้าและไม่มีใครคาดการณ์ได้ทั้งหมดจึงอยากให้ส่งกำลังใจช่วยเหลือกันให้มากกว่า
ข่าวน่าสนใจ:
- นนทบุรี ศพชายปริศนาลอยอืดกลางคลองย่านไทรน้อย จนท.พบลักษณะคล้ายบาดแผลฉีกขาดที่แขนและใบหูขาด
- โหดเหี้ยม!หนุ่มถูกมีดฟันยับดับกลางถนน คาดทะเลาะในวงเหล้า
- คู่แข่งนอกสายตานายก ก้อย “พนธ์ มรุชพงษ์สาธร” ขอวัดดีกรีว่าที่นายก อบจ.แปดริ้ว
- “เฉลิมชัย” รมว.ทรัพยากรธรรมชาติฯ ลงพื้นที่ติดตามการทำหมันลิงเขาช่องกระจก ล๊อตแรก 300 ตัว
ทางด้านนายธีรภัทร ตรังปราการ นายกสมาคมสหพันธุ์ช้างไทย กล่าวว่าการเลี้ยงช้างทั้ง 2 ลักษณะมีข้อดีและข้อด้อยในทุกระบบ ในภาวะน้ำท่วมฉับพลันระบบมัดย้ายสามารถเคลื่อนย้ายได้ภายใน 5 นาทีส่วนในระบบ 1 นั้น สามารถปฏิบัติการได้ช้า เพียงแต่สั่งหรือขอให้ช้างปฏิบัติก็มีเรื่องยุ่งยากตั้งแต่เรื่องของการเปิดประตูเนื่องจากประตูไม่เคยเปิดมาเป็นเวลา 10 ปีแล้วใครจะไปเป็นคนเปิดในส่วนของระบบมัดย้ายหรือมาเลี้ยงเหมาะสมกับประเทศที่เป็นป่าเขา ลำเนาไพร รวมทั้งต้นทุนในการเลี้ยงดูช้าง จะต่ำ เพราะสามารถพาไป กินนู่นนี่นั่นทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ส่วนระบบ ขังเป็นการเลี้ยงช้างที่มั่นใจได้ว่าจะไม่ออกแต่ควรจะเป็นช้างที่ไม่มีอันตราย สำหรับการมาช่วย ย้ายช้างในครั้งนี้ก็ได้รับการร้องขอจากต้นทางคือคุณกาญจนาศิลปะอาชาหรือหนูนาซึ่งท่านก็มีความเกรงใจเจ้าของปางอยู่ในระดับสูงอยู่แล้ว แต่เมื่อเกิดภาวะน้ำท่วมสัตว์ก็ต้องดูแล ช้างที่มีจำนวนน้อยกว่านี้รวมถึงสัตว์อื่นๆเพราะฉะนั้นความวุ่นวายที่เกิดขึ้นก็ถือได้ว่ามาช่วยกันดูแลช้างน่าจะดีกว่าส่วนจะย้ายในวันนี้หรือไม่อยู่ที่ประชุมหลายฝ่ายที่จะมานั่งพูดคุยกัน สำหรับสถานที่จะรองรับการย้ายช้างไปอยู่นั้นมีความพร้อมและก็จะเปลี่ยนการเลี้ยงจากระบบขังมาเป็นระบบมัดย้ายและมีชีวิตแบบช้างบ้านสามารถพัฒนาองค์ความรู้ของความหรือผู้เลี้ยงได้ด้วย
ในส่วนของแผลช้างที่ขานั้นก็ต้องดูว่าช้างสามารถจะลงเท้าได้มากขนาดไหนในเวลาที่ยืนอยู่บนรถ และก็เป็นประสบการณ์ใหม่สำหรับชีวิตช้างที่ไม่เคยออกไปไหนเลยตั้งแต่มาอยู่ที่ปางช้างแห่งนี้ ในตัวของ ช้างดอกแก้ว มีความสมบูรณ์ ส่วนพายขุนเดชนั้นถือว่าเป็นช้างป่าที่จะต้องผ่านคำสั่งจากอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติพันธุ์พืชและสัตว์ป่าเท่านั้นก็เป็นเรื่องละเอียดอ่อน และมีข้อแตกต่างคือภายดอกแก้วมีอายุ 10-12 ปีส่วนขุนเดชเป็นช้างที่มีเจ้าของถูกต้องตามกฎหมายสามารถย้ายภายในจังหวัดได้ และเป็นช้างที่สามารถเข้าใกล้เอาอาหารไปล่อได้ส่วนอีกตัวนึงนั้นไม่มีคนเข้าใกล้ในระยะเวลา 10 ปีจึงเป็นไปได้ว่าต้องใช้หลายวิธีการในการเคลื่อนย้ายช้างและดูว่าจะมีความดุร้ายด้วยหรือไม่ สำหรับทีมงานที่เข้ามาช่วยในครั้งนี้ไม่ใช่มีแต่คนของสมาคม ช้างไทยยังมีปานช้างอีกหลายๆ ที่ในอำเภอแม่แตงและจังหวัดอื่นเข้ามาช่วยเหลือซึ่งก็ต้องเข้าไปดูสภาพช้างอย่างละเอียดโดยเฉพาะต้องดูว่าตัวช้างได้แค่อยู่ในน้ำนานมากน้อยค่ะขนาดไหนที่ผ่านมาอาจจะยังไม่แสดงอาการอะไรออกมาและต้องฟังทางสัตวแพทย์ว่ามีเหตุผลหรือการตัดสินใจอย่างไรพร้อมที่จะย้ายหรือไม่
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: