X

ไม่ถอย!! ศึกษาสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน

ชุมพร-ไม่ถอย!! ศึกษาสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน

เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 2 มีค.63 ที่ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ศาสตราจารย์ ดร.จำลอง โพธิ์บุญ หัวหน้าโครงการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ สำหรับพื้นที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในภาคใต้ เปิดเผยว่า “สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ได้ให้การสนับสนุนการวิจัยแก่สถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ โดยศูนย์บริการวิชาการ ในการดำเนินโครงการการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์สำหรับพื้นที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในภาคใต้ ตามบันทึกข้อตกลงที่อ้างถึงนั้น โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาความเหมาะสมและวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีของทางเลือกต่าง ๆ ในการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของ ทุกภาคส่วน

โครงการการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์สำหรับพื้นที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในภาคใต้ การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment: SEA) เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดการสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่มุ่งหวังต่อการพัฒนาใหเกิดความสมดุล ระหว่าง 3 มิติของการพัฒนาประเทศ คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม โครงการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์สำหรับพื้นที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในภาคใต้ เป็นการศึกษาที่เกิดขึ้นภายใต้บันทึกข้อตกลงกับกลุ่มผู้คัดค้านและกลุ่มผู้สนับสนุนเกี่ยวกับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน โดยใช้เครื่องมือการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) เข้ามาช่วยในการ ประเมินเปรียบเทียบความเหมาะสมระหว่างการก่อสร้างและการไม่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน รวมทั้งทางเลือกอื่น ๆ ในการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าภาคใต้โดยศึกษาผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบที่เกิดจากการผลิตโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิง/เทคโนโลยีชนิดต่าง ๆ ซึ่งแบ่งออกเป็น เชื้อเพลิงประเภทฟอสซิล ได้แก่ ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ และเชื้อเพลิง/เทคโนโลยีประเภทพลังงานหมุนเวียน ได้แก่ แสงอาทิตย์ ชีวมวล ก๊าซชีวภาพ ลม น้ำ และขยะมูลฝอย ซึ่งเชื้อเพลิง/เทคโนโลยีแต่ละประเภทมีข้อดีและข้อจำกัดที่แตกต่างกันและมีผลต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งความมั่นคงทางด้านพลังงานต่างกันออกไปเช่นเดียวกัน

เป้าหมายของโครงการ เพื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ภาคใต้ว่าควรมีโรงไฟฟ้าถ่านหินหรือไม่ หากมีพื้นที่ใดบ้างที่มีความเหมาะสมในการจัดตั้งโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง รวมทั้งเปรียบเทียบความเหมาะสมกับสถานที่ตั้งโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่กระบี่และเทพา  เพื่อรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ทรงคุณวุฒิ/นักวิชาการ เกี่ยวกับข้อมูลประกอบการประเมินทางเลือกเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อประเมินทางเลือกเชิงยุทธศาสตร์โดยกระบวนการมีส่วนร่วม ตลอดจนเสนอแนะแนวทางใน การนำผลการศึกษาไปสู่การปฏิบัติต่อไป

 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน