เอาหรือไม่เอา!!ก.พลังงาน ลุยถามสร้างโรงไฟฟ้าภาคใต้
โรงแรม ลอฟท์ มาเนีย บูติค โฮเทล อ.เมือง จ.ชุมพร กระทรวงพลังงาน โดยสถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์(นิด้า) จัดสานเสวนา หัวข้อ การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment ; SEA) “การพัฒนาพลังงานไฟฟ้าในภาคใต้” โดยได้เชิญ ชาวบ้านจากหลายจังหวัดในภาคใต้ มาร่วมพูดคุย ร่วม 300 คน
ข่าวน่าสนใจ:
- นครพนม : หมอสงค์ หมอผู้สร้าง เปิดตัวสมัครนายก อบจ.นครพนม พร้อม ส.อบจ.นครพนม
- พรรคประชาชนเปิดตัว นายแพทย์จิรชาติ เรื่องวัชรินทร์ หรือ หมอมุดสัง ชิง นายก อบจ.สุราษฎร์ ฯ สมัครจันทร์นี้
- คู่แข่งนอกสายตานายก ก้อย “พนธ์ มรุชพงษ์สาธร” ขอวัดดีกรีว่าที่นายก อบจ.แปดริ้ว
- กาญจนบุรี พิธีตักบาตรพระ 10,000 รูป ฉลองตั้งเมือง 193 ปี พร้อมอุทิศส่วนกุศลแด่บรรพบุรุษผู้มีพระคุณต่อประเทศชาติ
การจัดสานเสวนา หัวข้อ การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment ; SEA) “การพัฒนาพลังงานไฟฟ้าในภาคใต้ ในครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อวิเคราะห์และประเมินทางเลือกระดับยุทธศาสตร์ การพัฒนาพลังงานไฟฟ้าภาคใต้ โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อศึกษาทางเลือกในการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าภาคใต้ โดยพิจารณาความเหมาะสมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และความเป็นไปได้ทางเทคโนโลยี
กรณีที่จำเป็นต้องมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ พื้นที่ใดบ้างที่มีความเหมาะสม กรณีที่ไม่จำเป็นต้องก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่จะมีแนวทางการพัฒนาพลังงานในรูปแบบอื่น ๆ อย่างไร เพื่อนำเสนอทางเลือกโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และการประเมินผลกระทบของทางเลือกในการพัฒนาโรงไฟฟ้าในภาคใต้ รวมทั้งมาตรการบรรเทาผลกระทบในทุกทางเลือก เพื่อนำเสนอผลการศึกษาและพื้นที่ทางเลือกให้แก่หน่วยงานของรัฐ กลุ่ม/องค์กรทางสังคม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน รวบรวมข้อคิดเห็นประกอบการพิจารณาแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศ
ทีมวิจัย ของ นิด้า ที่มาร่วมนำเสนอ รับฟัง เพื่อการนำสู่การวิจัย อาทิ ศ.ดร.จำลอง โพธิ์บุญ ดร. วิชัย รูปขำดี รศ.ดร.โสฬส ศิริไสย์ ดร.สมภพ รุ่งสุภา ดร.พิรียุตม์ วรรณพฤกษ์ ดร.แสงแข บุญศิริ ดร.ภวัต ตั้งตรงจิตร และ ดร.สันต์ ศรีอรรฆ์ธำรง พร้อมด้วยทีมงานวิจัยอีกจำนวนหนึ่ง
ในส่วนผู้เข้าร่วมจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งในพื้นที่เป้าหมายในจังหวัดชุมพร ระนอง และประจวบคีรีขันธ์ อีกทั้งมีผู้สนในจากจังหวัดใกล้เคียง เช่น สุราษฎร์ และสงขลา ทางด้านผลการสานเสวนาจะได้ข้อเสนอแนะต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคใต้ และทางเลือก รวมถึงข้อห่วงกังวลต่อความต้องการพลังงานไฟฟ้าในอนาคตของภาคใต้ที่เพิ่มขึ้น
กลุ่มผุ้เข้าร่วมสานเสวนา ได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็น อย่างกว้างขวาง ส่วนหนึ่งมีประสบการณ์ในการต่อต้าน โรงไฟฟ้าถ่านหิน ของ กฟฝ.มาในหลายพื้นที่ อีกทั้งยังมีการเสนอให้ใช้โรงไฟฟ้า หรือการผลิตกระแสไฟฟ้า ที่ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานธรรมชาติ ก่อนจะจบลงด้วยมีผู้เข้าร่วมเสวนาแสดงความเห็นต้องการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ทำให้ผู้เข้าร่วมเสวนา พากันแสดงความไม่พอใจ แต่ ไม่มีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้น
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: