X

สร้างเปลือกทุเรียนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม แก้ขยะนับล้านตัน

ชุมพร-สร้างมูลค่าเปลือกทุเรียนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม แก้ขยะนับล้านตัน

วันที่ 9 กันยายน 2567  เวลา 10.30  ณ วิสาหกิจชุมชนหลังสวนพัฒนายั่งยืน ตำบลนาขา อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร นายธนนท์ พรรพีภาส รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานเปิดงาน  “วัน Kick Off สร้างมูลค่าเปลือกทุเรียนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม” ซึ่งจังหวัดชุมพร ร่วมกับ นายสุบรรณ์ รักษ์ทอง เกษตรจังหวัดชุมพรสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร และวิสาหกิจชุมชนหลังสวนพัฒนายั่งยืน ตำบลนาขา อำเภอหลังสวนจังหวัดชุมพร

นายธนนท์ พรรพีภาส  กล่าวว่า ทุเรียนเป็นไม้ผลเศรษฐกิจถือเป็นผลไม้ที่มีความสำคัญต่อภาคเกษตรไทย   เป็นผลไม้เศรษฐกิจที่มีมูลค่าสูง ช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร นำรายได้เข้าสู่ประเทศจากการส่งออกไปตลาดต่างประเทศช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่น ทำให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาพบว่า ผลผลิตทุเรียนโดยเฉพาะทุเรียนผลสดถือเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของไทย ที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด สะท้อนได้จากมูลค่าส่งออกที่เพิ่มขึ้น ปี 2566 มีการส่งออกทุเรียนสดและผลิตภัณฑ์ 1,094,360 ตัน มีมูลค่า 164,225 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก   ปี 2565  ที่มีปริมาณ 916,851 ตัน มีมูลค่า 125,819 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.36 และ ร้อยละ 30.52 ตามลำดับ เนื่องจากตลาดมีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาดจีนซึ่งมีสัดส่วนการส่งออกกว่าร้อยละ 95 ของการส่งออกทุเรียนทั้งหมด จังหวัดชุมพรเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและเอื้ออำนวยต่อการปลูกทุเรียนอย่างมาก ด้วยสภาพดินที่เหมาะสมสำหรับการปลูกทุเรียน ปัจจุบันจังหวัดชุมพรมีพื้นที่ปลูกทุเรียนเป็นอันดับ 1 ของภาคใต้ โดยมีพื้นที่ปลูกทุเรียนในปี 2567 ทั้งสิ้น 327,793 ไร่ ซึ่งให้ผลผลิตแล้ว 288,672 ไร่ คาดการณ์ผลผลิต ประมาณ 250,115 ตัน

นายสุบรรณ์ รักษ์ทอง  กล่าวว่า”การจัดงาน”วัน Kick Off สร้างมูลค่าเปลือกทุเรียนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม”    เนื่องจากจังหวัดชุมพรและอีก 13 จังหวัดภาคใต้ มีพื้นที่การปลูกทุเรียน รวมประมาณ 814,414  ไร่  ผลผลิต 526,005 ตัน จังหวัดชุมพรเป็นแหล่งรวบรวมผลผลิตที่สำคัญ ซึ่งมีแหล่งรวบรวม(ล้ง) ประมาณกว่า 400  แหล่ง ปี 2567 จังหวัดชุมพร มีผลผลิตทุเรียน จำนวน 250,115 ตัน หากคำนวณด้วยสัดส่วนทุเรียน 1 ผล ประกอบด้วยเปลือก 58.56 เปอร์เซ็นต์ เนื้อ 28.51 เปอร์เซ็นต์และเมล็ด 12.93 เปอร์เซ็นต์ จะมีเปลือกทุเรียนเหลือทิ้งประมาณ 146467 ตัน มีเนื้อ 71307.79 ตัน และเมล็ด  32339  ตัน โดยเป็นเปลือกทุเรียนจากโรงงานแปรรูปทุเรียนแช่แข็งหรือทุเรียนฟรีซดราย 25 โรงงาน ประมาณการเปลือกทุเรียนเหลือทิ้ง จำนวน 42,848 ตันต่อปี ที่เป็นขยะในพื้นที่จังหวัดชุมพร ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาของเน่าเสียส่งผลกระทบต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม เกิดการระบาด และการสะสมของศัตรูพืชเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นจึงมี  การรณรงค์การใช้เปลือกทุเรียนให้มีประโยชน์และลดปัญหาการกำจัดขยะ  โดยจัดงานขึ้นในวันนี้ ณ วิสาหกิจชุมชนหลังสวนพัฒนายั่งยืน ตำบล  นาขา อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร

การบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับสร้างมูลค่าเปลือกทุเรียนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม วิทยากรจากหน่วยงานภาครัฐและภาคการศึกษา การจัดนิทรรศการ ประกอบด้วย การผลิตปุ๋ยหมักจาก เปลือกทุเรียนด้วยสูตรวิศวกรรมแม่โจ้ 1 โดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร  การผลิตถ่านชีวภาพจากเปลือกทุเรียน โดยสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดชุมพร  การนำเปลือกทุเรียนมาผลิตเป็นอาหารสัตว์  โดยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร การผลิตปุ๋ยหมักเปลือกทุเรียนร่วมกับการใช้สารชีวภัณฑ์  โดย สมาคมชาวสวนไม้ผลชุมพร  การเพิ่มมูลค่าเปลือกทุเรียน (กระดาษสา) โดยกลุ่มแปลงใหญ่ทุเรียนรับร่อ ตำบลรับร่อ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร และการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากเปลือกทุเรียน โดยวิสาหกิจชุมชนหลังสวนพัฒนายั่งยืน

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

Picture of สาธิต ศรีหฤทัย

สาธิต ศรีหฤทัย

สังคมที่ดี จะได้ชีวิตที่ดี