ชุมพร-วอนนักข่าวช่วยบ้านเด็กกำพร้า คนปิดทองหลังพระนานร่วม20ปี เด็กๆวอนขอแค่ความรักจากสังคม
บ้านเอื้อพร หมู่ที่ 9 ต.ละแม อ.ละแม จ.ชุมพร ผู้สื่อข่าว จ.ชุมพรอาศัยช่วงเวลาเย็นในวันนักข่าว ปี 61 ได้นำข้าวสาร และ เครื่องอุปโภค จำนวนหนึ่งที่ได้จากผุ้ร่วมบริจาคสมทบทุน เพื่อร่วมทำบุญในวันนักข่าว เดินทางไปยังบ้านเอื้อพร เพื่อมอบให้กับเด็กกำพร้าที่อาศัยที่บ้านดังกล่าว มีนางนารดา แก้วนาพันธ์ อายุ 54 ปี ผู้รับอนุญาตดำเนินการมูลนิธิบ้านเอื้อพร ให้การต้อนรับพร้อมด้วย ด็กๆ อีก จำนวนหนึ่งเด็กๆบ้านเอื้อพรพากันดีใจมากที่มีผู้เดินทางไปเยี่ยมเยียนและมอบสิ่งของจำเป็นให้ โดยเฉพาะเครื่องดื่มน้ำแดง ที่เป็นที่ชื่นชอบในช่วงฤดูร้อน รวมถึงของใช้ที่จำเป็นอีกจำนวนหนึ่งต่างพากันมาช่วยขนสิ่งของบริจาค พร้อมกับร่วมถ่ายภาพด้วยกัน เป็นที่สนุกสนานตามประสาวัยเด็กที่ยังไม่รู้เดียงสา
ข่าวน่าสนใจ:
นางนารดา กล่าวว่าในขณะนี้มีจำนวนเด็ก42 คน ตั้งแต่อายุเข้าสู่วัยรุ่น จนถึงวัยเด็กอายุต่ำกว่า 7 ขวบ ส่วนหนึ่งเกิดจาก ปัญหาสังคมในหลายด้านด้วยกันหรือเป็นเด็กที่อยู่ระหว่างการฟื้นฟู จากปัญหาการถูกล่วงละเมิดทางเพศจากพ่อหรือเเด็กที่กระทำผิดกฏหมาย เด็กที่ป่วยด้วยโรคติดต่อร้ายแรงเด็กที่มีอาการไม่สมบูรณ์ ทางด้านสมอง
บ้านเอื้อพร จะพยายามดูแลเด็กจนกว่าจะช่วยเหลือตัวเองได้ ด้วยการสอนให้เรียนหนังสือ และ ประกอบอาชีพเลี้ยงชีพได้ การดำเนินงานบ้านเอื้อพรในปัจจุบันได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องเป็นสถานสงเคราะห์เอกชนที่ทำงานร่วมกัน หน่วยงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ แต่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากทางราชการไม่มากนัก ส่วนใหญ่จะได้จากเงินบริจาค เริ่มเปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการมานานร่วม 20 ปี จากการที่พยายามเปิดโรงเรียนสอนเด็กแต่พบว่ามีเด็กที่มีปัญหาจำนวนมาก ที่ไม่รู้จะไปอยู่ที่ไหน ในสมัยนั้นยังไม่มีสถานสงเคราะห์ของทางราชการ โดยเฉพาะในตอนล่าง ของ จ.ชุมพร จึงได้เปลี่ยนจากโรงเรียนที่เก็บค่าเทอม มาเป็นสถานสงเคราะห์ที่ต้องทำด้วยหัวใจ อีกทั้งเป็นนักสงคมสงเคราะห์อยู่แล้ว ก็จะพยายามทำไปจนกว่า ลมหายใจสุดท้าย แต่ได้พยายามปลูกฝังลูกๆให้สืบทอด ผุ้ต้องการช่วยเหลือ หรือบริจาคสิ่งของ เงิน ให้กับบ้านเอื้อพร ติดต่อได้ที่ หมายเลข 0971924939
ในขณะที่ วันนักข่าว ควรจะเป็นวันที่คนมีอาชีพนักข่าวได้ทำในสิ่งที่ดีเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นมากกว่า การเลี้ยงสังสรรค์เพียงอย่างเดียว หรือ ให้น้ำหนักไปที่การดื่มกินเมา ไม่ได้เป็นตัวอย่างที่ดีของสังคม ในภาวะที่เกิดวิกฤติในอาชีพนักข่าว ภาพพจน์ของวงการสื่อมวลชนที่เสื่อมลงในบางด้าน มีกลุ่มแอบอ้างเป็นสื่อเทียมมากขึ้น มีกลุ่มทุนหลายกลุ่มที่พยายามเอาสื่อเป็นฐานทางธุรกิจแสวงหาความร่ำรวยจากการเป็นเจ้าของธุรกิจสื่อ จนไม่สนใจมาตรฐานอาชีพสื่อหรือสื่อของรัฐที่รับใช้นักการเมืองที่ชั่วร้ายจนลืมบทบาทหน้าที่ของตนเอง อีกทั้งในโลกโซเซียลที่ใครก็สามารถทำหน้าที่สื่อได้ ถ้าผู้ที่มีอาชีพสื่อไม่วางตัวให้ น่าเชื่อถือหรือเป็นตัวอย่างที่ดีแก่สังคมอีกไม่นานคำว่านักข่าวก็จะไม่ได้รับการยอมรับจากสังคมได้”
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: