30 มิ.ย. 64 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สุโขทัยมีนโยบายในการพัฒนาจังหวัดในประเด็นพัฒนาระบบ บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และพัฒนาเกษตรปลอดภัย เกษตรอินทรีย์ โดยลดการใช้สารเคมี ซึ่งช่วยลดก๊าซเรือนกระจก ส่งเสริมให้องค์ความรู้แก่เกษตรกรในพื้นที่ ได้รู้ถึงความยั่งยืนในการทำเกษตรปลอดภัย ทุกพืชเศรษฐกิจและพืชทดแทนทางเลือก
นายวิรุฬ พรรณเทวี ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย ได้ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ “การพัฒนาแนวทางลดก๊าซเรือนกระจกระดับจังหวัด” กับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) เพื่อที่จะนำไปบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกได้อย่างเหมาะสม ตอบสนองต่อประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด ด้านบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นระบบพื้นฐานการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อให้จังหวัดสุโขทัยเป็นเมืองเศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่ำ และเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป
ข่าวน่าสนใจ:
- ชัยภูมิฮือฮาจัดแข่งกีฬาสีโรงเรียนนำช้างโชว์ความแสนรู้เตะฟุตบอล!
- ปราจีนบุรี ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพ ปั่นปันน้ำใจ ฉะเชิงเทรา-หนองคาย
- เพชรบูรณ์-มาตามนัด! ชาวบ้านบ่นอุบทริปน้ำไม่อาบ ซิ่งจยย.เสียงดังกระหึ่ม แกนนำทริป"วางโลงศพ-พวงหรีด"โชว์เกาะกลางถนน
- คึกคัก นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย-ต่างชาติ แห่เที่ยวจับจ่ายหาของกินคาวหวาน-อาหารทะเลในงาน ‘หาดแม่รำพึง หร่อยริมเล’ ครั้งที่ 2 แน่นงาน
สำนักงานเกษตรจังหวัดสุโขทัยให้ความสำคัญ ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรให้มีความรู้ ทักษะ และมีความชำนาญในการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย และได้มาตรฐานตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยพัฒนากระบวนการผลิตสินค้าเกษตรของเกษตรกร (ต้นทาง) ให้ปลอดภัยและได้มาตรฐาน ตามระบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) และเกษตรอินทรีย์ รวมถึงการส่งเสริมหยุดเผาพื้นที่การเกษตร เพื่อลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งในการเกิดภาวะโลกร้อน
นายเนตร สมบัติ เกษตรจังหวัดสุโขทัย เปิดเผยว่า ในปี 2564 สำนักงานเกษตรจังหวัดสุโขทัย ได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ อบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพ การศึกษาดูงานในพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แนวคิด และการปฏิบัติจริง
ผลการดำเนินโครงการที่สำคัญ มีดังนี้ 1.) การผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยได้มาตรฐาน ดำเนินการทั้ง 9 อำเภอ โดยมีเกษตรกรได้รับใบรับรอง GAP 636 ราย พื้นที่ 5,039 ไร่ 2.) เกษตรอินทรีย์ ดำเนินการทั้ง 9 อำเภอ โดยมีเกษตรกรได้รับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ 93 ราย 3.) ส่งเสริมหยุดเผาในพื้นที่เกษตร เป้าหมายดำเนินการปี 2564 จำนวน 7 อำเภอ เกษตรกรจำนวน 300 ราย และเครือข่ายเกษตรปลอดการเผา เพื่อสร้างกลไกในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตร ในศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก) จำนวน 7 ศูนย์
ตัวอย่างเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จ ในการปรับเปลี่ยนเกษตรเคมีมาเป็นเกษตรอินทรีย์ คือ นายภูมิปณต มะวาฬ smart farmer (เกษตรกรปราดเปรื่อง) ชาว ต.ปากน้ำ อ.สวรรคโลก ได้เข้าอบรมการทำเกษตร GAP และทำเกษตรอินทรีย์ จึงนำกลับมาปรับใช้ในสวน จากเดิมที่รุ่นพ่อทำเป็นเกษตรเคมี 100% ปรับเปลี่ยนมาเป็นเกษตรอินทรีย์ 5 ปี พร้อมกับยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำเกษตรแบบผสมผสาน พืชเด่นของสวน คือ อินทผลัม เป็นหลัก จำหน่ายผ่านระบบออนไลน์ ในราคากิโลกรัมละ 500 บาท รายได้ปีละกว่าแสนบาท ได้ผลผลิตมากขึ้นทุกปี
เนื่องจากเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ มีความรู้เรื่องการทำตลาดออนไลน์ ทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องตลาด อย่างไรก็ตาม ยังมีปัญหาและอุปสรรคในเรื่องทัศนคติของเกษตรกรรายอื่นๆ เกี่ยวกับการผลิตพืชปลอดภัยที่ต้องใช้ความอดทนสูง ใช้เวลานานกว่าจะได้รับผลตอบแทนในช่วงแรก และความเคยชินกับการใช้ปุ๋ยและสารเคมี
การทำให้เห็นและเป็นตัวอย่าง ดังเช่น เกษตรกรต้นแบบดังกล่าว จึงเป็นวิธีที่ดีที่จะช่วยส่งเสริมเกษตรกรรายอื่นๆ ให้เริ่มที่จะคิดปรับเปลี่ยนมาทำเกษตรปลอดภัยอย่างเต็มตัว
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: