25 ก.ย. 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่วัดวาลุการาม (วัดโตนด) หมู่ 2 ต.โตนด อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย ได้มีชาวบ้านผู้สูงวัยเป็นคุณปู่และคุณตา อายุ 70-90 ปี กว่า 10 คน รวมกลุ่มกันมาช่วยบูรณะซ่อมแซม “ล้ออิแอ่ว” หรือเกวียนโบราณเก่าแก่เกือบ 200 ปี เพื่ออนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นหลังได้เห็น โดยช่างฝีมือหนึ่งในนั้นเป็นคุณปู่ อายุ 92 ปี ถีบจักรยานคู่ใจจากบ้านมาที่วัด ไปกลับวันละ 6 กิโลเมตร เพื่อมาช่วยซ่อมล้ออิแอ่ว
นายประเทือง ชำนาญ อายุ 92 ปี ชาวบ้านโตนด บอกว่า พระครูธำรงบุญเขต เจ้าคณะตำบลโตนด และเจ้าอาวาสวัดวาลุการาม ได้รวบรวมเครื่องมือของใช้โบราณไว้จำนวนมาก และมีความตั้งใจจะอนุรักษ์ “ล้ออิแอ่ว” หรือเกวียนโบราณ อายุเกือบ 200 ปี ไว้ให้ลูกหลานรุ่นหลังได้ดูได้ศึกษา ดังนั้นคนเฒ่าคนแก่ที่พอมีฝีมือช่าง ก็เลยมารวมตัวกันช่วยบูรณะล้ออิแอ่วให้คงสภาพดีดังเดิม โดยใช้เชือกหวายและไม้ประดู่เป็นชิ้นส่วนประกอบ มีซ่อมแซมครั้งแรกจำนวน 3 ลำ
ข่าวน่าสนใจ:
- จ.สุโขทัย 40 สาวงามขึ้นเวทีประชันโฉม ชิงตำแหน่งนางนพมาศ ในงาน "ประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ" ประจำปี 2567
- พะเยา เถื่อนจัด!! หนุ่มแวะซื้อโรตีถูกวัยรุ่นมีดฟันนิ้วเกือบขาด
- ตรัง จี้ซ่อมด่วนก่อนปิดท่าเรือปากเมงทรุด กระเบื้องร่วง-โป๊ะพัง-รังแตนอาละวาด หวั่นนักท่องเที่ยวอันตรายถึงชีวิต
- ตม.สระแก้ว ร่วมกับเจ้าหน้าที่ทหารกองกำลังป้องกันชายแดน จับกุมชาวจีน 2 ราย หลบหนีเข้าเมือง
นายประเทือง เล่าให้ฟังว่า คนที่นี่สมัยก่อนจะใช้ควายเทียมล้ออิแอ่ว เป็นยานพาหนะในการเดินทาง และบรรทุกข้าวเปลือก พอเวลาล้อหมุนทำให้เพลาที่เป็นไม้เกิดการเสียดสีกัน จะมีเสียงดังอิแอ่วๆๆๆไปตลอดทาง ชาวบ้านจึงเรียกว่า “ล้ออิแอ่ว” ส่วนคำว่า “ล้อเกวียน” นั้นมาทีหลัง ห่างกันเป็นร้อยปี และต่างกันตรงที่ล้อเกวียนจะมีแผ่นเหล็กหุ้ม และเพลาก็เป็นเหล็กกลม แต่ล้ออิแอ่วนั้นทำจากชิ้นส่วนไม้ทั้งหมด ไม่มีเหล็กปน ชื่อเรียกกับความหมายจึงแตกต่างกัน
และนอกจาก “ล้ออิแอ่ว” ที่วัดวาลุการามแห่งนี้ ก็ยังมีการสานตะข้องยักษ์ กระบุงยักษ์ กระด้งยักษ์ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 เมตร ตั้งแสดงอยู่บนศาลาการเปรียญ เพื่อให้ญาติโยมและเยาวชนรุ่นหลังได้ดูอีกด้วย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: