แห่ขึ้นทะเบียนแหวนหัวปลาโรนินกับทางประมง พบมีร้านค้าที่สุสานหอยจำนวนมากที่ต้องมาขึ้นทะเบียน หลังมีการประกาศให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎหมาย ภายในวันที่ 29 พ.ย. หากไม่แจ้ง มีโทษปรับ 40,000 บาท
วันที่ 25 ก.ย.61 ที่สำนักงานประมงจังหวัดกระบี่ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้ได้มีประชาชนที่ครอบครองซากของกระเบนท้องน้ำ หรือ ปลาโรนิน มาขึ้นทะเบียนแล้ว จำนวนมากรวมกว่า 50 รายแล้ว ซึ่งพบว่าในจำนวนนี้ เป็นกลุ่มแม่ค้าพ่อค้าที่สุสานหอย 75 ล้านปีของจังหวัดกระบี่ที่จำหน่ายสินค้าประเภทของฝากจากเปลือกหอยและหัวแหวนกรระเบน ทยอยเดินทางมา เนื่องจากแต่ละรายจะมีสินค้าอยู่จำนวนมาก หลังจากที่ สำนักงานประมงจังหวัดกระบี่ แจ้งให้ผู้ครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองชั่วคราว ซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง หรือ ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากซากของสัตว์ป่าคุ้มครองให้นำรูปภาพ หรือของจริง ประกอบด้วย แหวนหัวกระเบนท้องน้ำที่มีขายทั่วไป เป็นส่วนหนามบนหัวปลาโรนิน มาขึ้นทะเบียนและจะสิ้นสุดวันที่ 29 พย.นี้
ข่าวน่าสนใจ:
- THACCA ร่วมกับ วธ. สนับสนุน 220 ล้านบาท ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมภาพยนตร์และซอฟต์พาวเวอร์ไทย
- มุกดาหาร -รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมเปิดใช้ถนนมห.3019 แยก ทล.212 -…
- มุกดาหาร -รับสมัครนายก อบจ.มุกดาหาร วันแรกสุดคึกคัก อดีตนักการเมืองแห่สมัครชิงเก้าอี้
- ศึกชิงเก้าอี้ "นายก อบจ." เดือดแน่..ลุ้นใครล้มช้าง 5 สมัย?
นายแสน ศรีงาม ประมงจังหวัดกระบี่ เปิดเผยว่า ตามกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ออกประกาศกฎกระทรวงกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง โดยเป็นพันธุ์สัตว์น้ำอีก 12 ชนิด ในบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองท้ายกฎกระทรวง กำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ.2546 ได้แก่ ปลากระเบนปีศาจครีบโค้ง ปลากระเบนปีศาจครีบสั้น ปลากระเบนปีศาจแคระ ปลากระเบนปีศาจหางหนาม ปลากระเบนแมนต้าแนวปะการัง ปลากระเบนแมนต้ายักษ์ ปลากระเบนราหูน้ำจืด หรือปลากระเบนเจ้าพระยา ปลาโรนิน หรือปลากระเบนท้องน้ำ ปลาฉนากเขียว ปลาฉนากปากแหลม ปลาฉนากฟันเล็ก และ ปลาฉนากยักษ์ ซึ่งปกติสัตว์ป่าและสัตว์น้ำที่ได้รับการคุ้มครองนั้น เป็นสัตว์ที่ห้ามทำการเพาะพันธุ์ เว้นบางสายพันธุ์เท่านั้นที่ทำการเพาะพันธุ์ได้
ซึ่งสัตว์น้ำตาม กฎกระทรวงฉบับนี้มี ปลากระเบนราหูน้ำจืด หรือปลากระเบนเจ้าพระยา ที่อนุญาตให้ประชาชนเพาะพันธุ์ได้ ตามกฎกระทรวง กำหนดชนิดของสัตว์ป่าคุ้มครองให้เป็นสัตว์ป่าชนิดที่เพาะพันธุ์ได้ ฉบับที่ 3 พ.ศ.2561
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: