X

ลูกถ้วยบนฟ้า” สู่ “บ้านปลาใต้น้ำ

บ้านปลาปะการังเทียมจากลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้าบนยอดเสาส่งไฟฟ้าแรงสูงที่ผ่านการใช้งานจนครบวาระของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) คือ ความตั้งใจของ กฟผ. ที่จะช่วยเหลือชาวประมงขนาดเล็กที่ประสบความเดือดร้อนจากความเสื่อมโทรมของทรัพยากรชายฝั่ง สนองพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2552 เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา

 

ฟื้นระบบนิเวศ ลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้ากลายเป็นบ้านปลาที่อุดมสมบูรณ์ใต้ท้องทะเลในพื้นที่ จ.ชลบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ จ.ปัตตานี และ จ.นราธิวาส เต็มไปด้วยปลาเศรษฐกิจหลายชนิด อาทิ ปลากะพงข้างปาน ปลาสร้อยนกเขา และปลาสาก ช่องว่างของบ้านปลาจากลูกถ้วยยังทำให้ปลามีที่หลบภัย วางไข่ และอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน จึงมีอัตราการรอดสูงขึ้น

ผลการวิจัยยืนยันว่า ไม่พบการชะละลายของโลหะหนักจากผิวของลูกถ้วย ดังนั้น ลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้าสามารถทำบ้านปลาได้ โดยไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม” ผศ. ดร. ธีรกมล เพ็งสกุล อาจารย์ประจำคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

 

ฟื้นชีวิตชุมชนชายฝั่ง นายรอซดี ดาโอะ ชาวประมงบ้านทอน ต.โคกเคียน จ.นราธิวาส ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่การวางบ้านปลา กฟผ. เปิดเผยว่า เมื่อก่อนสัตว์น้ำเหลือน้อย เรือประมงต้องจอดทิ้งเพราะขาดทุน ชาวบ้านต้องจากบ้านเกิดไปทำงานที่อื่นเพราะไม่มีอาชีพ ไม่มีรายได้ แต่หลังจากวางแนวปะการังเทียม ท้องทะเลก็ฟื้นตัวอุดมสมบูรณ์ขึ้น เดี๋ยวนี้ชาวประมงจับปลาได้เยอะขึ้น ทั้งปลาสาก ปลาอินทรี รวมถึงหมึกใกล้ฝั่ง ทำให้ชาวบ้านเลี้ยงตัวเองได้ บางครั้งนักท่องเที่ยวก็มาเช่าเรือไปตกปลาตรงแนวปะการังทำให้มีรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มอีกทางหนึ่ง”

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

Picture of สิทธิชัย สิขวัตร

สิทธิชัย สิขวัตร

ปริญาตรี วัฒนธรรมศึกษา สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช รักอิสระ ไม่สังกัดพรรคการเมือง