เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น ค.1 โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนกระบี่ (ส่วนขยาย ครั้งที่ 1) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน บรรยากาศสงบเรียบร้อย
วันที่ 28 มกราม 2561 เวลา 13.30น. ที่ทำการ อบต.คลองขนาน ต.คลองขนาน อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ นายสมควร ขันเงิน รองผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ เป็นประธานเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น ของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียในการกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (Public Scoping หรือ ค.1) โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนกระบี่ (ส่วนขยาย ครั้งที่ 1) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน
ข่าวน่าสนใจ:
- พิธีเปิดนิทรรศการฟอสซิลช้างดึกดำบรรพ์และสัตว์ร่วมยุคในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา
- รับสมัคร นายกอบจ.-ส.อบจ.ตรัง วันแรกคึกคัก! บ้านใหญ่ตระกูลโล่ฯ-ส.ส.ตรังทุกพรรค-กองเชียร์นับพัน แห่ให้กำลังใจ “ทีมนายกบุ่นเล้ง” สู้ศึกอีกสมัย…
- พะเยา หนุ่มขโมยย่องฉกเงินร้านข้าวมันไก่ 3 ครั้งเจ้าของสุดทนแจ้งตรจับ
- บรรยากาศคึกคัก รับสมัครเลือกตั้งนายก อบจ. ส.อบจ. สกลนคร วันแรก
โดยมีประ ชาชนในพื้นที่ 4ตำบล ในอำเภอเหนือคลอง ประกอบด้วย ตำบลคลองขนาน ตำบลเหนือคลอง ตำบลตลิ่งชัน ตำบลปกาสัย รวมไปถึง ตำบลคลองท่อมใต้ และ ตำบลโคกยาง อ.คลองท่อม รวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานราชการ สถานศึกษา ศาสนสถาน และองค์กรด้านสิ่งแวดล้อม เดินทางมาลงทะเบียนเข้าร่วม ลง ทะเบียน จำนวน กว่า 2,500 คน ท่ามกลางการดูแลรักษาความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่อย่างเข้มงวดโดยมีนำเครื่องแสกน มาไว้ที่ประตูทางเข้าเวที เพื่อป้องกันพกพาอาวุธเข้าในบริเวณเวทีรับฟังความคิดเห็นฯ
นายสมควร กล่าวว่า การจัดรับฟังความคิดเห็น ค.1 เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการมีส่วนหนึ่งของกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ(EHIA) โดยทุกความเห็นปละข้อเสนอแนะของประชาชนในวันนี้ จะเป็นประโยชน์ในการกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของโครงการให้ครบถ้วนรอบด้าน ครอบคลุมทุกข้อกังวลและเกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน
สำหรับการจัดรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้ ได้แยกออกเป็น2 แบบ คือ 1 การแสดงความแสดงความคิดเห็นการกรอกแบบสอบถาม และมีการแสดงคิดเห็นด้วยวาจา โดยจะให้เวลา คนละ 5 นาที ซึ่งบรรยากาศในการแสดงความคิดเห็นเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
กฟผ.ได้ดำเนินการตามหนังสือของสำนักงานโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 ที่ให้ กฟผ. ศึกษาและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) โครงการโรงไฟฟ้ากระบี่ใหม่ โดยเปิดกว้างให้ประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นอย่างโปร่งใส เพื่อให้การจัดทำรายงาน EHIA ครอบคลุมทุกข้อห่วงกังวล พร้อมทั้งนำข้อคิดเห็นของคณะกรรมการไตรภาคี คณะกรรมการศึกษาการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดกระบี่ (คณะกรรมการไตรภาคี) รวมถึงข้อคิดเห็นจากคณะอนุกรรมการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ ภาคประชาชน (คณะกรรมการไตรภาคี) มาศึกษาเพิ่มเติมด้วย
สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนกระบี่ (ส่วนขยาย ครั้งที่ 1) บรรจุอยู่ในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย 2558-2579 (PDP 2015) ตั้งอยู่ในพื้นที่ของโรงไฟฟ้ากระบี่ปัจจุบัน ในตำบลคลองขนาน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ มีขนาดกำลังผลิตติดตั้งประมาณ 870 เมกะวัตต์ ใช้ถ่านหินคุณภาพดีประเภทซับบิทูมินัสหรือบิทูมินัส นำเข้าจากต่างประเทศเป็นเชื้อเพลิงหลัก และเลือกใช้เทคโนโลยี ในการผลิตไฟฟ้าและระบบกำจัดมลสารที่มีประสิทธิภาพและทันสมัยในระดับสากล เพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและชุมชน และโครงการได้ออกแบบเพิ่มเติมให้สามารถใช้เชื้อเพลิงประเภทชีวมวลในอัตราส่วน ไม่เกินร้อยละ 2 เพื่อส่งเสริมอาชีพและนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรของชุมชนในพื้นที่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ซึ่งโรงไฟฟ้าใหม่ที่สร้างขึ้นจะให้พื้นที่มีไฟฟ้าเพียงพอต่อความต้องการใช้ รองรับการเติบโตด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของภาคใต้ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนเพื่อเสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในภาคใต้ ลดความเสี่ยงการเกิดไฟฟ้าดับจากการพึ่งพาพลังงานไฟฟ้าจากภาคกลางที่มีข้อจำกัดด้านระบบส่ง และการรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศมาเลเซียที่มีราคาสูงและไม่มีความแน่นอน
ทั้งนี้ ก่อนการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ค.1 ในวันนี้ บริษัทที่ปรึกษาและ กฟผ.ได้สื่อสาร สร้างความรู้และความเข้าใจให้กับประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผ่านหลายช่องทาง เช่น แผ่นพับให้ความรู้ สถานีวิทยุชุมชน ป้ายประกาศ รถแห่ประชาสัมพันธ์ ประกาศทางเว็บไซต์สำนักนายกรัฐมนตรี เว็บไซต์ของ กฟผ. และบริษัทที่ปรึกษา รวมถึงช่องทางสื่อสารออนไลน์และสื่อโซเชียลมีเดีย พร้อมทั้งส่งจดหมายเชิญไปยังผู้มีส่วนได้เสียทุกครัวเรือนที่อยู่ในรัศมี 5 กิโลเมตร เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง ครบถ้วนในทุกประเด็น
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: