X

เนรมิตที่ดิน 6 ไร่ รวมกลุ่มแปรรูปข้าวไร่ อนาคตต่อยอดท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ทำได้จริง!ปราชญ์ชาวบ้าน คลองท่อม นำคำสอน ศก.พอเพียง ‘พ่อหลวง ร.9’ มาปรับใช้ เนรมิตที่ดิน 6 ไร่ รวมกลุ่มแปรรูปข้าวไร่ อนาคตต่อยอดท่องเที่ยวเชิงเกษตร ที่ศูนย์ต้นแบบชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง หมู่ที่4 ต.เพหลา อ.คลองท่อม จ.กระบี่ ซึ่งรวมกลุ่มทำผลิตภัณฑ์ชุมชนตามภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยมีนายอารี ศรีเมือง ประธานกลุ่มข้าวไร่และโรงสีข้าวชุมชนเพหลา นายประสาร เขียวน้อย รองประธานกลุ่มฯ และสมาชิกกลุ่มกว่า 60 คน จากการให้ความสนใจของชาวบ้านและหันมารวมกลุ่มกัน เพื่อทำการเกษตรแบบผสมผสานและสินค้า ผลิตภัณฑ์ชุมชน ตามหลักปรัชญาเกษตรกิจพอเพียง อาทิเช่น ทำข้าวไร่ จมูกข้าว น้ำส้มควันไม้ ไม้กวาด ไอติมสูตรชุมชน ผักปลอดสารพิษ เลี้ยงสัตว์ และสินค้าทางการเกษตรอีกมากมาย

โดยได้มีงบประมาณส่วนหนึ่งมาจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ซึ่งส่วนใหญ่ทางกลุ่มจะมุ่งเน้นไปที่จมูกข้าวเป็นหลักเนื่องจากจมูกข้าวนั้นมีคุณประโยชน์เป็นอย่างมาก โดยทางกลุ่มนั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นให้มีคุณค่าและสามารถสร้างรายได้เสริมให้แก่ชุมชน และเพื่อส่งเสริมด้านการตลาดของผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายและสร้างความมั่นใจ ให้กับผู้ผลิตระดับชุมชนในการทำผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และมุ่งเน้นให้มีการพัฒนาแบบยั่งยืนเพื่อผลักดันให้เป็นการท่องเที่ยวเชิงเกษตร

นายอารี ศรีเมือง อายุ 56 ปี บ้านเลขที่ 52/1 ม.9 ต.เพหลา กล่าวว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนครอบครัวเกษตรพอเพียงกลุ่มนี้ เป็นกลุ่มแรกของตำบลเพหลา ซึ่งอยากให้ชุมชนรู้จักออม รู้จักประหยัด มีความสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และให้รู้จักทำมาหากิน โดยทางกลุ่มได้นำออกจำหน่ายไปยังเกษตรจังหวัด ตลาดประชารัฐ และตลาดสินค้าทางการเกษตรอีกมากมาย ซึ่งได้รับการตอบรับจากผู้ซื้อเป็นอย่างดี ส่วนการทำไร่นั้นประเด็นแรกคือเพื่อให้ชาวบ้านในชุมชนร่วมกันรณรงค์ในการรับประทานข้าวสารและอาหารปลอดสารพิษ และสิ่งเหลือใช้จากการเกษตรได้นำมาใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่องเช่น รำข้าว แกลบ ปลายข้าว ซึ่งสามรถนำมาแปรรูปเป็นจมูกข้าว ไอติม ปุ๋ยหมัก และนำมาแปรรูปเป็นอาหารสัตว์

นายประสาร เขียวน้อย อายุ 54 ปี บ้านเลขที่ 10/4 ม.4 ต.เพหลา กล่าวว่า ศูนย์ต้นแบบชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง หมู่ที่4 ต.เพหลา นั้นเป็นการรวมกลุ่มกันเพื่อผลิตสินค้าทางการเกษตร และแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของชาวบ้าน โดยยึดหลักปรัชญาเกษตรกิจพอเพียงของในหลวง ร.9 ซึ่งทำให้ได้มีคณะศึกษาดูงานมาศึกษาทำการวิจัยเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงตามแบบเกษตรผสมผสานและสินค้าผลิตภัณฑ์ของชุมชนอย่างเรื่อยมา และทางกลุ่มของเราก็จะพยายามกระจายเครือข่ายในแต่ละหมู่บ้าน แต่ละตำบล ให้มีศูนย์การเรียนรู้เพื่อได้แนะนำให้กับชาวบ้านและประชาชนในการทำการเกษตรต่อไป

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

Picture of สิทธิชัย สิขวัตร

สิทธิชัย สิขวัตร

ปริญาตรี วัฒนธรรมศึกษา สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช รักอิสระ ไม่สังกัดพรรคการเมือง