กฟผ. จัดงาน EGAT INNOVATION SHOWCASE 2018 นำเสนอนวัตกรรมพลังงานเพื่ออนาคตที่ช่วยเสริมศักยภาพความมั่นคงของระบบไฟฟ้า ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนด้วยนวัตกรรมตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0
นายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นประธานในพิธีเปิดงาน EGAT INNOVATION SHOWCASE 2018 ภายใต้แนวคิด “นวัตกรรมพลังงานไฟฟ้าเพื่อชีวิตที่ดีกว่า” สนองตอบนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาล ในการสร้างสรรค์ผลงานวิจัย นวัตกรรมคุณภาพ ที่ช่วยเสริมให้ระบบไฟฟ้ามีความมั่นคงด้วยการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ประชาชนสามารถใช้ไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องแม้มีการซ่อมบำรุง ควบคู่กับการดูแลสังคม ชุมชน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาประเทศไปสู่ความยั่งยืน ณ หอประชุมเกษม จาติกวณิช สำนักงานกลาง กฟผ. อ.บางกรวย จ.นนทบุรี
นายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย กล่าวว่า ในยุค Energy 4.0 ที่ต้องปรับตัวให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี กฟผ. จึงส่งเสริมการคิดค้นนวัตกรรม และงานวิจัยที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและเสริมความมั่นคงของระบไฟฟ้า อาทิ หุ่นยนต์ทำความสะอาดลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้าขณะจ่ายไฟ ป้องกันการลัดวงจรของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เกิดจากความสกปรกบนลูกถ้วย โดยไม่กระทบต่อการใช้ไฟฟ้าของประชาชน การพัฒนาซอฟท์แวร์ และแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ต่างๆ เพื่อเสริมประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าและระบบส่งในยุคดิจิตอล
ข่าวน่าสนใจ:
- ตรัง จัดใหญ่ 12 วัน งานฉลองรัฐธรรมนูญและงานกาชาดจ.ตรัง 4-15 ธ.ค.นี้ รีแบร์นใหม่! ย้อนยุคงานเหลิมแต่แรก แสดงบินโดรนพิธีเปิด วธ.ทุ่ม 3.4 ล้าน…
- พาณิชย์ จ.สมุทรปราการ จัดงาน 'ปากน้ำโกอินเตอร์'ให้ชาว จ.ระยอง ชิมช้อปอย่างจุใจ
- ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีฯ จัดกิจกรรม"วันกิมจิ"เผยแพร่การทำกิมจิ ผู้สนใจเข้าร่วมงานกว่า 700 คน
ได้แก่ การแก้ปัญหา Power System Oscillation ที่ช่วยลดความไม่เสถียรของระบบไฟฟ้าซึ่งมักเกิดขึ้นกับสายส่งที่มีระยะทางไกล เช่น ในพื้นที่ภาคใต้ ไม่ให้เกิดปัญหาไฟฟ้าดับในวงกว้าง ซึ่งทั้ง 2 ผลงานสิ่งประดิษฐ์ยังสามารถคว้ารางวัลเหรียญทองจากเวทีนานาชาติในการประกวด “46th International Exhibition of Inventions Geneva” ณ กรุงเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส โดยมีนักวิจัยจากทั่วโลกนำผลงานเข้าประกวดกว่า 1,000 ผลงาน รวมถึงรางวัลพิเศษจากประเทศจีนด้วย
นอกจากนี้ กฟผ. ยังมุ่งมั่นดูแลสิ่งแวดล้อมและชุมชน วิจัยและพัฒนาผลพลอยได้จากการผลิตไฟฟ้าให้เป็นผลิตภัณฑ์ สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและรายได้ให้กับชุมชน อาทิ การนำเถ้าหนักจากการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าแม่เมาะมาผลิตเป็นบล็อกก่อผนังมวลเบาซึ่งมีความเป็นฉนวนความร้อนดีกว่าคอนกรีตบล็อกทั่วไป โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการทางเคมีหรือให้ความร้อนจึงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีต้นทุนต่ำ การสกัดกรดฮิวมิกจากลีโอนาร์ไดต์ที่ได้จากกระบวนการทำเหมือง ซึ่งมีธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับพืชจำนวนมาก นำมาผสมกับวัสดุเหลือใช้ต่างๆ เช่น มูลไก่ กากส่าเหล้า และกากตะกอนอ้อย กลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์ หรือสารปรับปรุงคุณภาพดินให้กับวิสาหกิจชุมชนนำไปใช้
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: