รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเร่งขับเคลื่อนปัญหายาเสพติดในจังหวัดชายแดนใต้
วันที่ 2 มีนาคม 67 ที่ ศูนย์พัฒนาพฤตินิสัย กรมควบคุมประพฤติปัตตานี ต.บ่อทองอ.หนองจิก จ.ปัตตานี พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและ แก้ปัญหายาเสพติดแห่งชาติ ได้เดินทางมาดูความคืบหน้าของโครงการ Drip Model ของแกนนำ ตำบลอาสาแก้ปัญหายาเสพติดชายแดนใต้ ที่จะแก้ปัญหายาเสพติดในจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้คลี่คลายลง เพื่อตอบสนองความต้องการ และแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ให้ได้ นอกจากการแก้ปัญหาหลัก ที่ทำมาต่อเนื่องตามแผนงานประจำปีและตามสถานการณ์ โดยมีหน่วยราชการในพื้นที่ทั้ง พลเรือน ตำรวจ ทหาร และการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ทั้ง5 จังหวัด
อีกทั้งโครงการนี้ยังมีการเพิ่มความพยายาม เพิ่มน้ำหนัก และเพิ่มมิติในการแก้ปัญหาให้มีโอกาสสำเร็จเพิ่มมากขึ้น ทางรัฐมนตรียังได้แต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อน การแก้ปัญหายาเสพติดในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภาคประชาชนขึ้นมา มีหน้าที่หลักคือขับเคลื่อนภาคประชาชนและมวลชน ให้อาสาเข้ามาแก้ปัญหายาเสพติดในชุมชนของตนเอง และมีการกำหนดกรอบแนวทางการแก้ปัญหากว้างๆไว้ 4 ประการคือ
ข่าวน่าสนใจ:
- ผู้ต้องสงสัยคดีคาร์บอมขัดขืน ดึงพวงมาลัยจนรถเสียหลักพุ่งชนคอสะพานยับ ทหารตาย 1 เจ็บ 3 ส่วนคนร้ายหนีเข้าป่า
- ผู้ว่าฯขอนแก่น ลุยตรวจค้นเรือนจำ ตอกย้ำมาตรการคุมเข้มยาเสพติดทุกรูปแบบ
- ศึกชิงเก้าอี้ "นายก อบจ." เดือดแน่..ลุ้นใครล้มช้าง 5 สมัย?
- ผบช.สตม.ปล่อยแถว ตม.ทั่วประเทศ กวาดล้างอาชญากรรมช่วงเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ 2568
1. กำหนดจุดศูนย์ดุลของการแก้ปัญหา อยู่ที่ชุมชนระดับดำบล หมายถึงการวางแผนการดำเนินงานและการวัดผล จะทำที่ชุมชนเป็นหลัก
2. แนวทางการแก้ปัญหา เปลี่ยนจาก ราชการวางแผนและแก้ โดยมีประชาชนมีส่วนร่วม เป็นประชาชนหรือชุมชนวางแผนและแก้ โดยมีราชการมีส่วนร่วมและสนับสนุน
3. กำหนดงานสำคัญที่ต้องดำเนินการควบคู่กัน 5 งานคือ 1.งานข่าวเพื่อX-Ray และเฝ้าระวังชุมชน, 2. งานปราบปรามผู้ค้า, 3. งานบำบัดรักษาผู้เสพ, 4.งานสนับสนุนและส่งเสริมการประกอบอาชีพ, 5. งานสนับสนุนและส่งเสริมการเล่นกีฬา
4. กำหนดผลลัพธ์ที่ต้องการคือ ภายในวันที่ 30 ก.ย.2567 ชุมชนอาสา จะต้องไม่มี ผู้ค้าและผู้เสพ ทั้งรายใหม่และรายเก่า อีกต่อไป
สำหรับความคืบหน้าการดำเนินงานของคณะทำงานฯที่ผ่านมาได้จัดงานรวมพลังมวลชน แก้ปัญหายาเสพติดชายแดนได้ เพื่อสร้างกระแสและ สร้างการรับรู้ ที่จังหวัดยะลา และนราธิวาส ส่วนที่จังหวัดปัตตานี สงขลา และสตูล ซึ่งได้มีการติดต่อประสานงานเชิญชวนแกนนำชุมชนระดับตำบลให้อาสาแก้ปัญหา ยาเสพติดของชุมชนตนเองปัจจุบันได้อาสาแล้ว 30 ตำบล และคาดว่าจะมีการอาสาเพิ่มขึ้น อีกเรื่อย ๆ เมื่อได้รับรู้และเห็นผลการดำเนินงานของตำบลอาสาชุดแรกที่ชัดเจนขึ้น โดยตั้งเป้าไว้ว่าในปี2567 มีตำบลอาสา 50 ตำบล และปีต่อๆไป จะเพิ่มขึ้นอีก ทั่วทั้งจังหวัด ชายแดนภาคใต้
พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ให้สัมภาษณ์ว่า วันนี้มาให้กำลังใจกับอาสาสมัครชุมชน ที่มีจำนวน30 ตำบล 5 จังหวัดภาคใต้ ซึ่งเป็นโครงการฟื้นฟูบำบัดผู้ที่ติดยาเสพติด ซึ่งเราจะนำผู้ที่ติดยาเสพติดที่รุนแรงและมีแนวโน้มว่าจะเป็นภัยต่อชุมชน เอาเข้ามาในโครงการเพื่อบำบัดฟื้นฟู จนสุดท้ายจะสามารถสร้างอาชีพ และติดตามผล ซึ่งเป้าหมายแรกจะไม่ให้ทำซ้ำเป็นหลัก และต่อมาก็จะดูความก้าวหน้าของเป้าหมายต่อไป ซึ่งเป้าหมายของหมู่บ้านที่เข้าโครงการมา จะต้องไม่มีผู้ค้ายาเสพติด ผู้ติดยาเสพติดจะต้องได้รับการดูแล
ซึ่งทางรัฐบาลในขณะนี้มีความมุ่งมั่นว่าจะต้องแก้ไขปัญหายาเสพติด ภายใน 1 ปีให้เห็นผลเป็นรูปธรรม ซึ่งปัญหายาเสพติด มันเป็นปัญหาของประชาชนทุกคน ซึ่งทางเราต้องขอความร่วมมือประชาชนทุกคน ถ้าพบเห็นผู้ใดที่เกี่ยวข้อกับยาเสพติด รวมไปถึงข้าราชการคนใดที่เกี่ยวข้องนั้น สามารถแจ้งมาได้ที่กระทรวงยุติธรรม ซึ่งทางเรารับรองว่าจะให้เป็นความลับ แล้วจะจัดการอย่างตรงไปตรงมา.
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: