คณะทำงานโครงการศึกษาความเหมาะสมโครงการปรับปรุงการส่งน้ำและบำรุงรักษาปัตตานี ได้ลงพื้นที่ ณ.โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาปัตตานี เขื่อนปัตตานี ต.ตาเซะอ.เมือง จ.ปัตตานี เพื่อพบปะหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงประชาชนในพื้นที่ 9 อำเภอ จ.ปัตตานี ซึ่งเป็นพื้นที่ท้ายน้ำและได้รับผลกระทบจากอุทกภัยและพื้นที่เกษตรกรรม ทั้งนี้เพื่อหารือและนำเสนอร่วมแนวทางการดำเนินการของโครงการดังกล่าว เนื่องจากกรมชลประทาน เตรียมทุ่มงบ 17,000 ล้านบาท ในการดำเนินการปรับปรุงทั้งระบบในโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาปัตตานี ได้แก่ หัวงานเขื่อนปัตตานีอ่างเก็บน้ำ อาคารระบายน้ำล้นฉุกเฉิน คลองระบายน้ำ ประตูระบายน้ำ คลองส่งน้ำชลประทาน ระบบกระจายน้ำ และอาคารประกอบต่างๆ การบริหารจัดการน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการส่งน้ำ และการระบายน้ำ เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนในช่วงน้ำท่วม และปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงหน้าแล้ง และปัญหาอื่นๆ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น โดยได้ดำเนินการ ทั้งหมด 9 อำเภอของ จ.ปัตตานีประกอบด้วย อ.เมือง อ.โคกโพธิ์ อ.แม่ลาน อ.หนองจิก อ.ปะนาเระ อ.มายอ อ.ยะหริ่งอ.ยะรัง และ อ.เมืองยะลา โดยมีทั้ง 89 ตำบล มีพื้นที่ 691,820 ไร่ และพื้นที่ชลประทาน 385,622 ไร่
เดิมทีกรมชลประทานเริ่มก่อสร้างโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาปัตตานี ในปี พ.ศ. 2511 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2537 เป็นโครงการชลประทานขนาดใหญ่ประเภททดน้ำและส่งน้ำพร้อมทั้งระบายน้ำ แต่เนื่องด้วยการใช้งานมาเป็นเวลานาน จึงเริ่มเสื่อมสภาพลง ในปี 2544-2546 ส่งผลให้เกิดปัญหา และเกิดความเสียหายเป็นจำนวนมากประกอบด้วย
1.ปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง 2.ปัญหาการแพร่กระจายน้ำเนื่องจากคลองส่งน้ำ คูส่งน้ำ มีสภาพชำรุดทรุดโทรม บางส่วนเป็นคลองดิน 3.ปัญหาการระบายน้ำและน้ำท่วม เพราะคลองระบายน้ำมีศักยภาพไม่เพียงพอที่จะรองรับปริมาณน้ำในช่วงฤดูน้ำหลากได้ 4.ระบบชลประทานและอาคารชลประทานก่อสร้างมาเป็นเวลานาน มีสภาพชำรุดทรุดโทรม ไม่ครอบคลุมพื้นที่ชลประทาน และมีการสูญเสียน้ำมาก 5.ปัญหาน้ำเค็มรุกล้ำพื้นที่การเกษตรบริเวณชายฝั่งทะเลของพื้นที่โครงการ และ 6.อัตรากำลังไม่เพียงพอที่จะดูแลและบำรุงรักษาอาคารต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพ
ข่าวน่าสนใจ:
- DSI ร่วมบริจาคน้ำดื่มให้ท่านจุฬาราชมนตรี เพื่อช่วยเหลือและเยียวยาผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
- สอ.สามัญศึกษาเพชรบูรณ์ประชุมใหญ่ โชว์กำไร 52 ล้าน พร้อมเลือกตั้งกรรมการและผู้ตรวจสอบกิจการ
- นครพนม น้องขวัญ นำทัพกลุ่มนครพนมร่วมใจ เปิดตัว ส.อบจ.นครพนม ทั้ง 30 เขต
- นครพนม : หมอสงค์ หมอผู้สร้าง เปิดตัวสมัครนายก อบจ.นครพนม พร้อม ส.อบจ.นครพนม
จากข้อมูลเหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมา พบว่าพื้นที่จังหวัดปัตตานีเกิดน้ำท่วม ตั้งแต่ พ.ศ. 2510 2518 2531 2536 2542 2543 2548 2551 2552 2555 2560 2563 2564 2565 และ 2566 พบว่าช่วง 10 ปีที่ย้อนหลัง เกิดน้ำท่วมบ่อยครั้ง เฉลี่ย ปีละ 1-2 ครั้งต่อปี หรือมากกว่า 8 ครั้ง ในรอบ 14 ปี และเกิดน้ำท่วมหนักขึ้นทุกๆปี
โดยเฉพาะเส้นทางน้ำจากเขื่อนปัตตานี ที่น้ำหลากลงไปสู่แม่น้ำปัตตานีเข้าในหลายอำเภอรวมไปถึงตัวเทศบาลเมืองปัตตานี ส่งผลให้น้ำหลากได้เข้าท่วม และขยายเป็นวงกว้างมากขึ้นกว่าเดิม ทำให้ประชาชนได้รับความเดือนร้อนเป็นจำนวนมาก เช่นเดียวกับเส้นทางน้ำ D 2(เส้นสีชมพู) และD8 (เส้นที่ส้ม) น้ำได้เออล้นตลิ่งขยายเข้าท่วมบ้านเรือนมากขึ้นทุกปี
สำหรับการปรับปรุงของโครงการนี้ โดยหลักๆแล้วประกอบด้วย การเพิ่มความจุของอ่างเก็บน้ำในเขื่อนปัตตานี โดยการเสริมเส้นทางระบายน้ำ หรือ spillway จากระดับ12.75 เมตร จะเพิ่มสูงขึ้น 30 ซม.เป็นระดับ 13.05 เมตร และจะทำการขุดลอกอ่างเก็บน้ำลึกลงไปอีก 1 เมตร จะทำให้ระดับพื้นที่ขุดลอกประมาน 11.75 เมตร ทำให้มีปริมาณกักเก็บน้ำเพิ่มอีก 7.6 ลบ. ซึ่งปัจจุบันความจุอ่างเก็บน้ำที่ระดับเก็บกัก 8.30 ลบ. และเมื่อหากเสริม spillway และขุดลอก สามารถจุอ่างเก็บน้ำเพิ่มขึ้น เป็น 8.5 ลบ.
และเส้นทางน้ำ D 2(เส้นสีชมพู) ระยะทาง 26 กม. ที่จะผันน้ำจากเขื่อนปัตตานีเพื่อเลี่ยงน้ำลงแม่น้ำปัตตานี แต่จะผันน้ำไปทางเขต อ.หนองจิก จากเดิมความกว้าง 50 เมตร จะมีการขุดขยายเป็น 100 เมตร เพื่อเพิ่มความจุของน้ำก่อนไหลลงสู่ทะเลในเขตพื้นที่อ.หนองจิก จ.ปัตตานี และเสริมคอนกรีนเหล็กสีเหลียมผืนผ้า ขณะที่เส้นทางน้ำ D8 (เส้นสีส้ม)ก็จะมีการเสริมคอนกรีนเหล็กสีเหลียมผืนผ้าเช่นเดียวกัน ซึ่งยังจะมีการปรับปรุงอีกหลายจุด ทั้งการขยายประตูระบายน้ำ การขุดลอก การเสริมคอนกรีนตามเส้นทางน้ำต่างๆด้วย
นอกจากนี้ จะมีการขยายพื้นที่ชลประทาน เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงน้ำได้ง่ายยิ่งขึ้นในการทำเกษตรกรรม เนื่องจากปัจจุบัน พบว่า มีการทำเกษตรกรรมและมีความต้องการน้ำชลประทานมากขึ้น ในเขตพื้นที่ อ.ยะรัง และ อ.ยะหริ่ง โดยปัจจุบันมีพื้นที่ชลประทาน 385,622 ไร่ และมีแนวคิดจะขยายพื้นที่ชลประทาน ประมาณ 50,000 ไร่เมื่อปรับปรุงแล้วเสร็จ พื้นที่ชลประมานจะเพิ่มขึ้นเป็น 436,622 ไร่
อย่างไรก็ตาม หากโครงการแล้วเสร็จ จะได้รับประโยชน์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะประโยชน์ทางการเกษตร ประโยชน์ด้านการใช้น้ำอุปโภคบริโภค ประโยชน์ด้านการบรรเทาอุทกภัยน้ำท่วม จาก 129,131 ไร่ ลดลงเหลือ 65,219ไร่ รวมไปถึง ประโยชน์ด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยว สร้างแหล่งสันทนาการ และสร้างสถานที่ผักผ่อนหย่อนใจของชุมชน
ล่าสุด ที่โรงแรมซีเอส ปัตตานี กรมชลประทาน ได้มีการปัจฉิมนิเทศโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาปัตตานี เพื่อนำเสนอผลการศึกษาความเหมาะสมในการปรับปรุงโครงการทั้งระบบ โดยได้เชิญ มีผู้เกี่ยวข้องกับโครงการทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้นำท้องถิ่นประชาชน และสื่อมวลชน เข้าร่วมชี้แจ้งทำความเข้าใจ หารือผลดำเนินการ ร่วมถึงให้ประชาชนเสนอความคิดเห็น และเสนอปัญหาต่างเพื่อแก้ปัญหาอย่างประสิทธิภาพ
โดยที่ผ่านมาด้านกรมชลประทาน มีการศึกษาความเหมาะสมการปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาปัตตานี โดยได้เริ่มศึกษาตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย.66 – 29 ส.ค. 67 และลงพื้นที่สอบถามความคิดเห็นของประชาชนเพื่อหวังประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนในพื้นที่ ก่อนเริ่มดำเนินการทั้งระบบ
นายไพโรจน์ แซ่ด่าน ผอ.โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาปัตตานี เปิดเผยว่า ด้านที่ 1 จะมีการปรับปรุงด้านอุทกภัย เดิมทีระบบระบายน้ำที่มีอยู่ มีศักยภาพไม่เกิน 600 ลบ.ต่อวินาที ครั้งนี้จะปรับปรุงให้สามารถระบายมากกว่า 1280 ลบ. ด้านที่ 2 จะมีการปรับปรุงซ่อมแซม คลองส่งน้ำ คลองระบายน้ำ ระบบชลประทาน ร่วมถึงอาคารประกอบ ซึ่งได้ก่อสร้างมานานแล้ว มีสภาพชำรุด อายุ 40-50 ปี ด้านที่ 3 ปรับปรุงให้สามารถเพิ่มพื้นที่ชลประทาน ประมาน 50,000 ไร่ ด้านที่ 4 จะมีการปรับปรุงและเพิ่มศักยภาพกับกลุ่มผู้ใช้น้ำให้มีความเข้มแข็ง และเข้ามามีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น ด้านที่ 5 จะมีการปรับปรุงโดยการใช้เทคโนโลยีทันสมัยในการชลประทานในการบริหารจัดการน้ำ
นายไพโรจน์ แซ่ด่าน เปิดเผยต่ออีกว่า สำหรับประโยชน์ที่จะได้รับ คือการลดความเสียหายของปัญหาอุทกภัย การเพิ่มมูลค่าผลผลิตด้านการเกษตร ลดความเสียงเรื่องน้ำเค็มรุกล้ำเพราะมีการสร้างประตูระบายน้ำกั้นบริเวณปลายคลอง การเพิ่มแลนมาร์คให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว การสร้างเขื่อนกั้น 2 ฝั่งแม่น้ำ และมีพื้นที่ว่างในการปรับภูมิทัศ ซึ่งหน่วยงานท้องถิ่น สามารถเข้ามาทำประโยชน์ส่วนนี้ได้
นายไพโรจน์ แซ่ด่าน เปิดเผยตอนท้ายว่า ในการของบประมาณมีทั่วประเทศอยู่แล้วเพราะฉะนั้นเราก็ต้องจัดลำดับความสำคัญในการจัดสรรงบประมาณเพื่อจะพัฒนาปรับปรุงโครงการต่างๆ แต่เมื่อเรามีผลการศึกษาโครงการก็จะได้รับพิจารณากรณีพิเศษ เพราะมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน มีผลการศึกษาชัดเจน หลังจากที่เราสำรวจและออกแบบแล้ว กรมก็อาจจะพิจารณาจัดสรรงบประมานเป็นงบประมานต่อเนื่อง 3 ปี 5 ปีคือระสั้น ระยะกลาง และระยะยาวคาดว่าภายใน 5-10 ปีก็จะแล้วเสร็จ
นายไพรัตน์ วีรุตมเสน ผู้จัดการโครงการ กล่าวว่า สภาพการระบายน้ำในเขตพื้นที่โครงการฯ มีแม่น้ำปัตตานีเป็นทางระบายน้ำหลักออกสู่ทะเล มีคลองตุยง คลองระบายน้ำ D8 และคลองระบายน้ำ D9 ที่ช่วยแบ่งน้ำระบายออกสู่ทะเล มีประตูระบายน้ำเพื่อควบคุมปริมาณน้ำในคลองให้อยู่ในระดับที่ไม่ทำให้เกิดน้ำท่วม มีชุมชนหลักที่สำคัญคือ เทศบาลเมืองปัตตานี ริมแม่น้ำปัตตานี เทศบาลตำบลหนองจิก ริมคลองตุยง และชุมชนขนาดเล็กริมแม่น้ำปัตตานีและคลองสาขา เช่น ชุมชนในเขตต.ปะกาฮะรัง ในที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำปัตตานี เป็นต้น
ปัจจุบันแม่น้ำปัตตานี คลองตุยง และคลองระบาย D8 ซึ่งเป็นทางระบายน้ำหลัก รับน้ำต่อเนื่องมาจากเขื่อนปัตตานี สามารถระบายน้ำหลากได้ประมาณ 300 200 และ 100 ลบ.ม./วินาที ตามลำดับ ซึ่งโดยปกติประตูระบายน้ำของเขื่อนปัตตานีจะระบายน้ำหลากได้สูงสุดไม่เกิน 750 ลบ.ม./วินาที โดยระดับน้ำสูงสุดหน้าเขื่อนอยู่ที่ระดับสันทางระบายน้ำล้น มีค่าใกล้เคียงกับความสามารถในการระบายน้ำออกสู่ทะเลของคลองระบายน้ำสายต่าง ๆ แต่ถ้ามีปริมาณน้ำหลากมากกว่า 750 ลบ.ม./วินาที จะมีปริมาณน้ำส่วนเกินระบายผ่านทางระบายน้ำล้นของเขื่อนปัตตานีลงไปรวมกับปริมาณน้ำที่ไหลผ่านประตูระบายน้ำ
สรุปได้ว่า ปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่น้ำปัตตานีตอนล่าง จะเกิดขึ้นเมื่อมีปริมาณน้ำหลากไหลผ่านเขื่อนปัตตานีมากกว่า 750 ลบ.ม./วินาที (ยกเว้นพื้นที่ลุ่มต่ำในต.ปะกาฮะรังที่อาจถูกน้ำท่วมแม้อัตราการไหลผ่านเขื่อนปัตตานีจะน้อยกว่า 750 ลบ.ม./วินาที) ทำให้เกิดน้ำหลากไหลล้นทางระบายน้ำล้นของเขื่อนปัตตานี จนคลองระบายน้ำสายต่าง ๆ ไม่สามารถระบายน้ำออกสู่ทะเลได้ทัน เกิดน้ำล้นตลิ่งแล้วไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่ราบริมแม่น้ำปัตตานี คลองตุยง และคลองระบายน้ำ D8 หากโดยปกติ น้ำหลากจะไหลบ่าห่างจากลำน้ำไม่มากนัก เนื่องจากคลองระบายน้ำแทบทุกสายจะมีคลองส่งน้ำชลประทานของโครงการฯ ซึ่งมีระดับหลังคันคลองสูงขนานไปทั้งสองฝั่งคลองตลอดแนว พื้นที่น้ำท่วมจะจำกัดอยู่ระหว่างคันคลองส่งน้ำ แต่ถ้าปีใดน้ำหลากไหลผ่านเขื่อนปัตตานีมาก หรือคันคลองส่งน้ำถูกชาวบ้านทำลาย น้ำหลากจะไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่ราบตอนล่างเป็นบริเวณกว้าง
สำหรับแผนการดำเนินงานปรับปรุงโครงการ1.แผนการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพโครงการ ประกอบด้วย แผนงานปรับปรุงซ่อมแซมคลองส่งน้ำ คลองระบายน้ำและอาคารประกอบ แผนงานบรรเทาอุทกภัย แผนงานขยายพื้นที่ชลประทาน และแผนการปรับปรุงด้านองค์กรและการบริหารจัดการน้ำแบบอัจฉริยะ (Smart Farming) 2.ระยะของแผนปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพโครงการ จัดตามลำดับความสำคัญและบรรจุเข้าแผนระยะสั้น 3 ปี ระยะกลาง 3 ปี และระยาว 4 ปี รวมระยะเวลาดำเนินการ 10 ปี ดังนี้1.แผนระยะสั้น การปรับปรุงระบบส่งน้ำและระบายน้ำเดิมในแต่ละพื้นที่ส่งน้ำและบำรุงรักษา ที่ผลการประเมินอาคารมีความเสียหายอยู่ในระดับมาก 2.แผนระยะกลาง การปรับปรุงระบบส่งน้ำ ระบายน้ำเดิมในแต่ละพื้นที่ส่งน้ำการบำรุงรักษา ที่ผลการประเมินอาคารมีความเสียหายอยู่ในระดับปานกลาง 3.ระยะยาว งานบำรุงรักษาอาคารต่างๆ
นายนิล คงคูณเพิ่ม ประชาชน ได้กล่าวในการประชุมและเสนอแนะให้กับทางกรมชลฯว่า การสร้างเขือนนั้นจะต้องมีการดูแล เพราะชิ้นส่วนบางอย่างที่เป็นเหล็กมักมีคนเข้ามาขโมยบ่องมาก ส่วนฤดูน้ำหลาก ซึ่งน้ำลงมาจากภูเขา และได้เข้าท่วมบ้านเรือน แต่กลับไม่มีช่องระบายน้ำไหล่ลงสู่แม่น้ำ เพราะว่ามีเขือนกันคลอง 2 ฝั่งขวางทางน้ำไว้ ก็อย่างให้มีการสร้างสะพานน้ำ หรือที่ระบายน้ำที่จะไหล่ลงสู่แม่น้ำได้คล่องตัว…
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: