มอ.ปัตตานี จัดงาน ม.อ.วิชาการ ประจำปี 2567 ชูมหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรม สังคม และการพัฒนาที่ยั่งยืน
ทุกคณะหน่วยงานในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี นำเสนอนวัตกรรมและผลงานวิชาการ ในงาน ม.อ.วิชาการ ในรูปแบบออนไลน์ผ่านทางFacebook : :psupattanicampus และออนไซต์
เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2567 ภายใต้แนวคิด “ม.อ.สืบต่อปณิธานสานประโยชน์เพื่อเพื่อนมนุษย์“ ชูประเด็นมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นวัตกรรมเพื่อสังคมที่ยั่งยืน เชื่อมั่นถึงความมุ่งมั่นของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในการเป็นผู้นำด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนและมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมให้ก้าวหน้า โดยมี นางพาตีเมาะ สะดียามู ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี เป็นประธานในพิธีเปิด และมอบรางวัลการประกวดอ่านข่าวในหัวข้อ “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” ผศ. ดร.อรุณีวรรณ บัวเนี่ยว รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพันธกิจสังคม วิทยาเขตปัตตานี กล่าวรายงาน กิจกรรมประกอบด้วย การแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรม การเสวนาด้านวิชาการ การบรรยายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดแสดงนิทรรศการ การแข่งขันและการประกวดทักษะด้านวิชาการ และสิ่งประดิษฐ์ การจัดแสดงนิทรรศการและผลิตภัณฑ์ชุมชน
ข่าวน่าสนใจ:
- นายกฯ พบปะนักเรียนจากทั่วอีสาน ชูโครงการ "หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน" เพิ่มโอกาสชีวิต
- นครพนม เปิดคลิป วัยรุ่น เหิมหนัก ยกพวกใช้มีดไล่ฟันคู่อริ พร้อมทุบทำลายทรัพย์สินอย่างไม่เกรงกลัวกฏหมาย
- สอ.สามัญศึกษาเพชรบูรณ์ประชุมใหญ่ โชว์กำไร 52 ล้าน พร้อมเลือกตั้งกรรมการและผู้ตรวจสอบกิจการ
- DSI ร่วมบริจาคน้ำดื่มให้ท่านจุฬาราชมนตรี เพื่อช่วยเหลือและเยียวยาผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ผศ. ดร.อรุณีวรรณ บัวเนี่ยว รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพันธกิจสังคม วิทยาเขตปัตตานี กล่าวรายงานการจัดงาน ม.อ.วิชาการ ประจำปี 2567 ว่า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นโดยมีเจตนารมณ์ที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยหลักของภาคใต้ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการ และทำบำรุงศิลปวัฒนธรรม การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัย จึงมุ่งเน้นที่การพัฒนาคนเพื่อให้เป็นกำลังหลักของสังคม และยึดตามแนวทางการจัดการศึกษาของชาติที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ได้แก่ การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ การใช้โครงงาน เป็นฐาน และการเรียนรู้โดยการบริการสังคม โดยยึดพระราชปณิธานของสมเด็จ พระบรมราชชนก “ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดาเนินการขับเคลื่อนภารกิจหลักทั้ง 4 ด้านดังกล่าว นำไปสู่การผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ และมีคุณธรรม รวมทั้งการสร้างองค์ความรู้ด้านการวิจัยและนวัตกรรมมาสร้างคุณประโยชน์ ต่อสังคม และยกระดับการบริการวิชาการที่เอื้อต่อการพัฒนาชุมชน เป็นที่พึ่งของชุมชนและประเทศ ส่งเสริมการเรียนรู้ให้ชุมชนสามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ได้ตลอดชีวิต และสร้างศักยภาพของชุมชนให้มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ดังนั้น มหาวิทยาลัยจึงจัดงานม.อ.วิชาการ ประจำปี 2567 ภายใต้แนวคิด“ม.อ.สืบต่อปณิธาน สานประโยชน์ เพื่อเพื่อนมนุษย์” นำเสนอภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์สู่การเป็น “มหาวิทยาลัยนวัตกรรมเพื่อสังคมอย่างยั่งยืน” เพื่อเผยแพร่ภารกิจ
ด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และศิลปวัฒนธรรมให้สาธารณชนรับทราบ เผยแพร่ความรู้วิทยาการ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และนวัตกรรม รวมทั้งเป็นแบบอย่างการต่อยอด องค์ความรู้สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
นางพาตีเมาะ สะดียามู ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ประธานพิธีเปิดงาน ม.อ.วิชาการ ปี 2567 กล่าวว่า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มุ่งดำเนินงานด้านการพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ ขับเคลื่อนการวิจัยและสร้างสรรค์นวัตกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์มนุษยศาสตร์ และสหวิทยาการ เพื่อพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศชาติ โดยมีภารกิจหลักด้านการผลิตบัณฑิต โดยจัดการศึกษาที่ได้มาตรฐานสากล พัฒนาบัณฑิตที่มีสมรรถนะสูง ด้านวิจัยโดยมุ่งสร้างนวัตกรรม สนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมในระดับประเทศ ด้านบริการวิชาการ โดยนำผลงานวิจัย นวัตกรรม และความเชี่ยวชาญไปบริการวิชาการที่เกิดประโยชน์ต่อสังคม และด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยธำรงรักษาและสืบสานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ เพื่อมุ่งไปสู่การเป็น “มหาวิทยาลัยยั่งยืน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจฐานราก”
กิจกรรม ม.อ.วิชาการ ในครั้งนี้ จัดขึ้นภายใต้แนวคิด ม.อ.สืบต่อปณิธานสานประโยชน์เพื่อเพื่อนมนุษย์ “มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นวัตกรรมเพื่อสังคมอย่างยั่งยืน” ด้วยการบูรณาการความร่วมมือของหน่วยงานภายใน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี เพื่อเผยแพร่และนำเสนอผลงาน วิทยาการ เทคโนโลยี การคิดค้นนวัตกรรม การถ่ายทอดองค์ความรู้และส่งเสริมแนวคิดการนำองค์ความรู้ สู่การพัฒนาเพื่อให้สังคมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้และสาธารณชนได้ประจักษ์ และเกิดความเชื่อมั่นถึงศักยภาพของมหาวิทยาลัยในมิติต่าง ๆ ที่มีความพร้อมทั้งในด้านวิชาการ วิจัย นวัตกรรม และบริการวิชาการ เป็นสถาบันอุดมศึกษาในภูมิภาคอาเซียนที่มีความโดดเด่นและมีความพร้อมที่จะเป็นฟันเฟืองสำคัญช่วยหนุนเสริมและยกระดับการพัฒนาพื้นที่ และประเทศให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น
“คาดหวังงว่า ผลลัพธ์จากการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ คือ การสร้างความตระหนักรู้ให้แก่สังคมถึงความสำคัญของการนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคส่วนต่างๆ ในสังคม และการสร้างแรงบันดาลใจให้นักศึกษา บุคลากร และประชาชนทั่วไปได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ นับเป็นการแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในการเป็นผู้นำด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน และมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมให้ก้าวหน้า” นางพาตีเมาะ สะดียามู กล่าวเพิ่มเติม
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: