ฉะเชิงเทรา – ผู้ประกอบการ จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมขานรับ วิทยาลัยสายอาชีวะปรับหลักสูตรรองรับอุตสาหกรรมเทคโนโลยีใหม่ เผยเตรียมลงนามสัญญา MOU ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการผลิตบุคคลากรแรงงานยุค 4.0 ตั้งแต่แรกเริ่มพร้อมกัน 17 สถาบันในพื้นที่เขตการพัฒนาพิเศษ 3 จังหวัดภาคตะวันออก
วันที่ 19 พ.ย.62 เวลา 14.00 น. นายกนิษฐ์พงษ์ บุษบงค์ ผอ.โครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม บลูเทค ซิตี้ ต.เขาดิน อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา กล่าวถึงกรณีที่วิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาหลัก ด้านสายอาชีพขนาดใหญ่ของจังหวัด ได้มีการเตรียมปรับหลักสูตรและแผนการเรียนการสอนใหม่ เพื่อให้ตรงกับความต้องการบุคคลากรของตลาดแรงงานในอนาคตว่า
ข่าวน่าสนใจ:
- คอหวยแห้ว เลขหางประทัดขบวนเรือหลวงพ่อโสธรไม่ปรากฏให้เสี่ยงทาย
- ผู้ว่าตรังสั่งซ่อมด่วนหลังคาท่าเรือปากเมง หวั่นอันตรายนทท. กระทบภาพลักษณ์จว. ลั่นพร้อมออกเงินส่วนตัว 2.3 หมื่นค่าวัสดุ…
- ฝนกระหน่ำพัทยาท่วมรับเทศกาลลอยกระทง ทำจราจรติดยาวหลาย กม.แบริเออร์ลอยน้ำเกลื่อน เก๋งจมน้ำ
- มรภ.ราชนครินทร์ ผุดหลักสูตรคลายเหงาผู้สูงวัย รองรับสังคมไทยในอนาคต
ทางโครงการเห็นว่าเป็นเรื่องที่ดี เนื่องจากหากนิคมอุตสาหกรรมบลูเทคซิตี้ เกิดขึ้นแล้ว ได้มีการประมาณการด้านแรงงานไว้เบื้องต้นจำนวน 1.3 หมื่นอัตรา ทั้งด้านยานยนต์ไฟฟ้าสมัยใหม่ หรือ อีวี และอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการกักเก็บพลังงานหรือแบตเตอรี่ ซึ่งมีความต้องการบุคคลากรทั้งทางด้านอาชีวะ และปริญญาตรี ปริญญาโท โดยสาขาที่ต้องการรับเข้ามาทำงาน คือ สาขาแมคคาทรอนิกส์ แมคคานิคอล และสาขาช่างไฟฟ้า
จึงได้มีการเข้าไปสนับสนุนให้ทุนการศึกษาตั้งแต่แรกเริ่มแบบรายปี และจะมีการเข้าไปกำหนดหลักสูตรทางการศึกษาร่วมกัน เพื่อให้ตรงกับสายงานหรือสอดคล้องกันกับธุรกิจทางด้านยานยนต์สมัยใหม่ และ เมื่อจบออกมาแล้วสามารถเข้าทำงานได้ในทันที หรือทางเราจะสามารถรับผู้จบการศึกษาตามหลักสูตรเข้ามาทำงานได้เลย จึงเป็นการเรียนแล้วมีงานทำไม่ใช่เรียนแล้วตกงาน ซึ่งทางโครงการได้มีการเตรียมการวางแผนไว้รองรับแล้ว นายกนิษฐ์พงษ์ กล่าว
ขณะที่ น.ส.กุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา ผู้บริหารโครงการฉะเชิงเทรา บลูเทคซิตี้ กล่าวว่า ขณะนี้ทางโครงการบลูเทค ซิตี้ ได้เตรียมที่จะทำสัญญาลงนามความร่วมมือ (MOU) เพื่อให้การสนับสนุนมหาวิทยาลัยและสถานศึกษาในพื้นที่ทั้ง 3 จังหวัด ในเขตพื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) รวม 17 สถาบันการศึกษา ทั้งอุดมศึกษา และสายอาชีวะศึกษา เพื่อให้มีศักยภาพในการผลิตบุคคลากรที่สอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรมสมัยใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น
และทางเราพร้อมที่จะถ่ายทอดเทคโนโลยีในกระบวนการผลิต หรือเปิดหลักสูตรเฉพาะให้แก่ทางมหาวิทยาลัยโดยตรง เพื่อให้ผู้ที่เข้ารับการศึกษาตามสัญญาความร่วมมือนี้ ได้เข้ามาฝึกงานในสถานประกอบการจริง มีรายได้ และมีงานทำหลังจากจบหลักสูตรในทันที น.ส.กุลพรภัสร์ กล่าว
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: