ฉะเชิงเทรา – ขยับก้าวพัฒนาคน นวัตกรรมการศึกษายุคใหม่ “จบออกมา ต้องมีงานทำ” เป็นคำประกาศกร้าวของประธานคณะทำงานประสานงานด้านการพัฒนาบุคลากรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หลังการลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกับกลุ่มทุนยักษ์ใหญ่ ที่เตรียมเข้ามาลงทุนในพื้นที่การพัฒนาพิเศษ ระหว่างการลงนาม เอ็มโอยู ต่อสถานศึกษา 11 สถาบันในพื้นที่ภาคตะวันออกวันนี้
วันที่ 29 พ.ย.62 เวลา 09.30 น. ที่หอประชุมธำรงบัวศรี ภายในมหาวิทยาลัยบูรพา จ.ชลบุรี กลุ่มบริษัทพลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA นำโดยนายอมร ทรัพย์ทวีกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฯ พร้อมด้วย น.ส.กุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา ผู้บริหารบริษัทดับเบิ้ลพี แลนด์ จำกัด ในฐานะผู้บริหารโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมฉะเชิงเทรา บลูเทค ซิตี้ ดร.อภิชาติ ทองอยู่ ประธานคณะทำงานประสานงานด้านการพัฒนาบุคลากรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)
ข่าวน่าสนใจ:
ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกับสถาบันการศึกษาในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกรวม 11 แห่ง ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (วิทยาเขตระยอง) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (วิทยาเขตศรีราชา) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์พัทยา) วิทยาลัยเทคนิคปราจีนบุรี วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี วิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา วิทยาลัยอาชีวศึกษาฉะเชิงเทรา วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ และวิทยาลัยเทคนิคระยอง
มีนายประสงค์ คงเคารพธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา เดินทางมาร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ เพื่อการพัฒนาบุคลากรออกสู่ตลาดแรงงานด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่ เกี่ยวกับระบบกักเก็บพลังงานประสิทธิภาพสูง และอุตสาหกรรมด้านโอลิโอเคมีคัล อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่
โดยมีบริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตแบตเตอรี่ยานยนต์ บริษัท อีเอไบโออินโนเวชั่น จำกัด ผู้ผลิตสารเคลือบผลิตภัณฑ์สกัดจากปาล์ม บริษัท ไมน์โมบิลีตี คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ที่เตรียมเข้ามาก่อตั้งโรงงานผลิตยานยนต์ไฟฟ้า EV ในเขตพื้นที่ อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา
ซึ่งระหว่างพิธีลงนาม ดร.อภิชาติ ทองอยู่ ในฐานะที่ปรึกษาเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และประธานคณะทำงานประสานงานด้านการพัฒนาบุคลากรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก กล่าวถึงพัฒนาการทางด้านการศึกษาในอนาคต ว่า ในอดีตสถาบันการศึกษาผลิตบุคลากรหรือบัณฑิตออกมาสู่ตลาดแรงงานแล้ว มีคนตกงานมากถึงกว่า 450,000 คน
เนื่องจากไม่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน แต่ในอนาคตข้างหน้า การพัฒนาการทางด้านการศึกษายุคใหม่ ที่มีการจัดการอย่างเป็นระบบ โดยสถานประกอบการได้เข้ามามีส่วนร่วมกับสถานศึกษา ในการกำหนดหลักสูตรทักษะความสามารถของบุคคลากรที่ต้องการ พร้อมกับการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาสู่ระบบการเรียนการสอน เพื่อให้สถาบันการศึกษาสามารถผลิตบุคคลากรออกมา ตรงกับความต้องการของสถานประกอบการในตลาดแรงงานได้
ต่อไปในอนาคตจะไม่มีคนว่างงาน หรือ “จบออกมาแล้ว ต้องมีงานทำ” เนื่องจากในการพัฒนาพื้นที่อีอีซี ยังคงต้องการบุคคลากรอีกมากถึงกว่า 475,668 อัตรา ภายในระยะเวลา 5 ปีใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยจะไม่ปล่อยให้เกิดการศึกษาที่สูญเปล่าอีกต่อไป ดร.อภิชาติ กล่าวระหว่างการบรรยายพิเศษบนเวทีการลงนามบันทึกความเข้าใจในครั้งนี้
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: