ฉะเชิงเทรา – ตอบโจทย์ ตลาดแรงงานราชภัฎแปดริ้ว เดินหน้าพัฒนาหลักสูตรวิศวกรรมสายพันธุ์ใหม่รองรับอุตสาหกรรมยุค 4.0 หลังทำ MOU ร่วมสมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทย ให้นักศึกษาเข้าทำงานจริงในโรงงานอุตสาหกรรม พร้อมรับการถ่ายทอดจากวิศวกรโดยตรง เติมเต็มให้ผู้จบหลักสูตรสาขาใหม่มีงานทำในทันทีหลังจบการศึกษา เป็นการก้าวย่างสู่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก อย่างเต็มรูปแบบ
วันที่ 18 ก.ค.61 เวลา 14.00 น. ที่ห้องประชุมเจ้าเสวย ชั้น 4 อาคารราชนครินทร์ มรภ.ราชนครินทร์ อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา รองศาสตราจารย์ ดร.ดวงพร ภู่ผะกา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์ นายชนาธิป สุรชัยสิทธิกุล นายกสมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทยพร้อมคณะผู้บริหารสมาคม และ นายชนินทร์ ขาวจันทร์ ผอ.ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ตลอดจนบุคลากรทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยจำนวนกว่า 30 คน
ข่าวน่าสนใจ:
ได้ร่วมจัดพิธีลงนามทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ทางวิชาการในการจัดการศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิตอัตโนมัติ เพื่อให้ความร่วมมือระหว่างกันในการผลิตบุคคลากรให้ตรงกับสาขาความต้องการของตลาดแรงงานในเขตพื้นที่การพัฒนาระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ป้อนเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ และส่งเสริมทางด้านการเรียนการสอนในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร เพื่อรองรับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาล
โดยนายจักรพันธ์ ปิ่นทอง ประธานหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิตอัตโนมัติ และ ผศ.ดร.ชัชวาล มงคล เลขานุการหลักสูตร กล่าวว่า สำหรับหลักสูตรวิศวกรรมการผลิตอัตโนมัติ ที่มีการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการร่วมกับการทำงาน และเป็นการเปิดหลักสูตรใหม่ขึ้นนี้จะเปิดรับนักเรียนที่จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เข้ามาทำการศึกษาในหลักสูตรโดยไม่จำกัดเพศ จำนวนปีการศึกษาละ 40 คน
โดยใช้ระยะเวลาในศึกษา 4 ปี ซึ่งจะมีการเรียนการสอนอยู่ภายในมหาวิทยาลัย 3 ปี และเข้าไปฝึกปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการโดยมีวิศวกรพี่เลี้ยงทำการควบคุมและฝึกการทำงานให้แก่นักศึกษาเป็นเวลา 1 ปี โดยที่นักศึกษาจะได้รับการสนับสนุนในเรื่องค่าใช้จ่ายจากทางสถานประกอบการอย่างน้อยเดือนละ 12,000 บาท พร้อมกับการจัดให้มีสวัสดิการให้ เปรียบเสมือนเป็นหนึ่งในพนักงานประจำของบริษัท
ขณะที่สมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทยนั้น มีโรงงานที่พร้อมจะรองรับนักศึกษาและเข้าร่วมทำตามข้อตกลงในวันนี้จำนวน 500 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ประกอบการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: