ฉะเชิงเทรา – ผู้พัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ เร่งรัดเดินหน้าผุดนิคมฯ ในพื้นที่ EEC ต่อเนื่องหลังเว้นวรรคทิ้งช่วงระยะห่างทางสังคมมานานถึงกว่า 4 เดือนเต็มในช่วงสถานการณ์ภาวะโรคติดเชื้อโควิด19 ระบาด พร้อมระดมจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยรอบพื้นที่ ในรัศมี 5 กม.เป็นครั้งที่ 3 แบบเหมารวมในวันเดียว 4 เวทีรวดทั้ง 14 ตำบล
วันที่ 23 ก.ค.63 เวลา 14.30 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บริเวณหอประชุมที่ว่าการอำเภอบางปะกง และที่อาคารเอนกประสงค์ อบต.เขาดิน สองฝั่งลำน้ำบางปะกง ใน อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา บริษัทดับเบิ้ลพีแลนด์ ผู้ดำเนินการจัดตั้งโครงการนิคมอุตสาหกรรมฉะเชิงเทรา บลูเทคซิตี้ ในพื้นที่ ต.เขาดิน จำนวน 1,235.55 ไร่ ได้เร่งทำการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมแบบคู่ขนานพร้อมกันรวม 4 เวทีภายในวันเดียว
ข่าวน่าสนใจ:
- เตือนชาวบ้านอย่าตกเป็นเครื่องมือคนร้ายที่พยายามสร้างความขัดแย้งในพื้นที่
- สยบข่าวลือ สจ.ธรรมชาติ หนีซุกเขมร หลังถูกทนายดังแฉเอี่ยวรีดเว็บพนัน
- จนมุมเพราะไก่ชน!! ตำรวจบางละมุงวางแผนเหนือเมฆ หลอกแก๊งค์ค้ายานรกมาซื้อไก่ชน ก่อนตามรวบยกแก๊งค์ ยึดยาบ้าแสนเม็ด - ไอซ์ 1 กก. พร้อมรถ 2 คัน…
- สงขลา M79 ถล่มเเคมป์คนงานสร้างเจ้าแม่กวนอิม บาดเจ็บ 3 ราย พื้นที่ อ.เทพา
โดยได้แบ่งการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเป็นแบบรอบเช้าและรอบบ่ายแห่งละ 2 รอบ รวม 4 เวที เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะความคิดเห็นจากภาคประชาชนในพื้นที่โดยรอบโครงการในรัศมี 5 กม. รวม 14 ตำบลใน 3 อำเภอ ประกอบด้วย อ.บางปะกง อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา และ อ.พานทอง จ.ชลบุรี นำไปประกอบการจัดทำรายงานการการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ของโครงการ โดยมีประชาชนเดินทางเข้ามาร่วมรับฟังเวทีละประมาณ 400-500 คน
โดย น.ส.กุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา ผู้บริหารโครงการฯ กล่าวว่า เดิมทางบริษัทได้มีกำหนดการที่จะจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาชนมาตั้งเมื่อวันที่ 16 มี.ค.63 แต่เนื่องจากในขณะนั้นได้มีสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 จึงได้เลื่อนการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นออกมาเป็นระยะเวลานานถึงกว่า 4 เดือนเต็มแล้ว
ในวันนี้จึงได้เริ่มดำเนินโครงการต่อเนื่อง ด้วยการจัดเวทีขึ้นพร้อมกันในวันเดียวรวม 2 แห่งแบ่งเป็น 4 ครั้ง เพื่อรักษาระยะห่างทางสังคมตามข้อกำหนดด้านสาธารณสุข ก่อนที่จะรวบรวมนำไปใช้ในรายงานให้แก่ทาง สำนักงานนโยบายและแผน (สผ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกอบการพิจารณาอนุมัติให้มีการจัดตั้งโครงการต่อไป
โดยหากโครงการผ่านการพิจารณาแล้ว จะสามารถดำเนินโครงการได้ในระยะเวลาประมาณ 2 ปี ก่อนที่ผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายใน 10 อุตสาหกรรมหลักตามนโยบายของรับบาล จะสามารถเข้ามาดำเนินกิจการในพื้นที่ได้ ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และมีนโยบายในการพัฒนาเชิงพื้นที่ การลงทุนและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ กำหนดเป็นเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง เป็นเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
เพื่อพัฒนาส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษ ให้เกิดการลงทุนในธุรกิจที่มีรายได้สูง และการลงทุนที่มีเทคโนโลยีระดับสูง สามารถแข่งขันกับประเทศในภูมิภาคและระดับโลกได้ จึงต้องการให้ใช้พื้นที่เป็นพื้นที่สำหรับอุตสาหกรรมใหม่เข้ามาดำเนินการ ซึ่งคาดว่ายังต้องใช้เวลาในการดำเนินการอีกกว่า 4-5 ปี อุตสาหกรรมผลิตแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้า จึงจะสามารถเข้ามาก่อตั้งในพื้นที่ และเริ่มดำเนินการผลิตได้
การระดมจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้ จึงไม่ใช่การเร่งรัดที่จะเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันเดียว เนื่องจากโครงการมีความล่าช้ามานานมากแล้ว จากสถานการณ์ที่ไม่ปกติที่เกิดขึ้นดังกล่าว น.ส.กุลพรภัสร์ กล่าว
ขณะเดียวกันในเวทีรับฟังความคิดเห็นในวันนี้ ได้มีผู้ส่งคำถามเข้ามาซักถามยังผู้ดำเนินรายการ ทั้งปัญหาด้านการจราจรที่อาจจะเกิดขึ้นหลังการจัดตั้งนิคมฯ เนื่องจากเส้นทางเดิมนั้นเป็นเพียงทางคู่ขนานถนนมอเตอร์เวย์ (สาย 7) ซึ่งมีความคับแคบ และหวั่นเกรงในเรื่องของผลกระทบทางด้านมลภาวะ ทั้งน้ำเสีย เสียง และอากาศ รวมถึงการกำจัดขยะกากของเสียจากอุตสาหกรรม
โดยที่ผู้ดำเนินรายการได้ตอบข้อซักถามต่างๆ ว่า ทางผู้จัดตั้งโครงการและวิศวกรโครงการ ได้มีการคำนึงถึงผลกระทบในด้านต่างๆ ไว้ในขั้นสูงสุดแล้ว ซึ่งปัญหาผลกระทบที่ผู้ซักถามหวั่นเกรงว่าจะเกิดขึ้นนั้น ได้มีการเตรียมการไว้แล้ว เช่น การจัดตั้งสถานีตรวจวัดค่ามลพิษ คุณภาพอากาศ การบำบัดน้ำเสียให้อยู่ในเกณฑ์ที่สูงกว่ามาตรฐานของกรมชลประทานกำหนดไว้ การจัดตั้งสถานีตรวจวัดเสียงที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงการจัดตั้งแนวป้องกันน้ำท่วม
ส่วนปัญหาด้านการจราจร ทางโครงการได้รับอนุญาตให้ทำการขยายเส้นทางเดิมจาก 2 ช่องจราจร เป็น 4 ช่องจราจรจากกรมทางหลวงแล้ว ซึ่งจะมีการดำเนินการต่อไป หลังจากโครงการได้รับการอนุมัติผ่านทุกขั้นตอนแล้ว และสำหรับการกำจัดของเสียจากกากอุตสาหกรรมนั้น ในกระบวนการผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนนั้น มีกากของเสียน้อยมาก
อีกทั้งแบตเตอรี่เก่าหลังจากหมดอายุการใช้งานถอดเปลี่ยนออกจากรถยนต์แล้ว ยังสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ และหากมีของเสียที่จำเป็นจะต้องนำไปกำจัดทิ้งบางส่วนนั้น ทางนิคมอุตสาหกรรมได้มีการเตรียมการว่าจ้างบริษัทผู้ได้รับอนุญาตให้รับกำจัดของเสียจากภาคอุตสาหกรรม เข้ามาดำเนินการนำไปกำจัดด้วยวิธีที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไป
ซึ่งกระบวนการแก้ไขปัญหาต่างๆ ทางด้านสิ่งแวดล้อมนั้น ได้เตรียมที่จะจัดให้มีคณะกรรมการไตรภาคี ทั้งหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ภาคประชาชนในพื้นที่ และผู้ประกอบการเป็นคณะกรรมการเข้าตรวจสอบร่วมกัน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: