X
ต้องแยกคน เก่งเฉพาะทาง

ฝ่ากระแสนักเรียนนักเลง วท.ฉะเชิงเทรา สร้างเครือข่ายเรียกเชื่อมั่นเรียนจบมีงานทำ

ฉะเชิงเทรา – ฝ่ากระแสนักเรียนนักเลง วท.ฉะเชิงเทรา เร่งสร้างเครือข่ายความร่วมมือเรียกคืนความเชื่อมั่นการเรียนสายอาชีพ หลังจบแล้วมีงานทำตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานในพื้นที่พัฒนาพิเศษ (EEC) ที่ยังต้องการแรงงานฝีมือเข้าสู่ระบบสายงานอาชีพมากถึงกว่า 4.75 แสนอัตรา เผยเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชาติตัวจริง

วันที่ 11 มี.ค.64 ที่ห้องประชุมพุทธโสธร 2 วิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา ทางวิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา ได้จัดทำโครงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทุกภาคส่วน ในการลงนามทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีขึ้นระหว่าง ว่าที่พันตรีวัชรพล ลักษณลม้าย ผอ.วิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 3 และสถานประกอบการอีก 10 แห่งประกอบด้วย

ผอ.วิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา

บริษัทอาร์พีเอสซัพพลายจำกัด บริษัทศิริเอกลักษณ์อุตสาหกรรมจำกัด บริษัทดูเวลล์อินเตอร์เทรดจำกัด บริษัทเอสอาร์ไทร์จำกัด บริษัทเมทัลเวิร์คนิวแมติค (ไทยแลนด์) จำกัด บริษัทวีซีเอส (ไทยแลนด์) จำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัดดีทีมอเตอร์กรุ๊ปจำกัด อู่ไซโล ศูนย์บริการทีช๊อปโมบาย และร้าน ณ 299 เซลส์แอนด์เซอร์วิท โดยมี ดร.อภิชาต ทองอยู่ ประธานคณะทำงานประสานงานด้านการพัฒนาบุคลากรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC-HDC) มาร่วมเป็นสักขีพยานและบรรยายพิเศษ

ร่วมมือกันเป็นเครือข่าย

พร้อมด้วย ดร.ธวัชชัย อุ่ยพานิช ที่ปรึกษาด้านการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาสนับสนุนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก มาเป็นประธานในพิธีลงนาม โดย ดร.ธวัชชัย กล่าวในระหว่างพิธีเปิดการลงนามความร่วมมือในการสร้างเครือข่ายทุกภาคส่วนประจำปีการศึกษา 2563 ในครั้งนี้ว่า ในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีได้กำหนดแนวทางให้ปะเทศไทยเป็นประเทศที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน มีความสามารถในการแข่งขันในทุกเวที

ดร.ธวัชชัย อุ่ยพานิช

ขณะเดียวกันในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 2 ยังได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศเอาไว้หลายด้าน โดยเฉพาะการพัฒนาภาค พัฒนาเมืองและพื้นที่พิเศษ ที่สำคัญคือพื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ที่รัฐบาลได้พยายามผลักดันให้เป็นฐานเศรษฐกิจที่สำคัญในอาเชี่ยน ซึ่งมีแนวทางสำคัญในการเตรียมคนรองรับในการพัฒนาพื้นที่อีอีซี และเป็นความหวังของประเทศ

ร่วมมือกับภาคเอกชน

วิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทราแห่งนี้จึงเป็นศูนย์ในการผลิตและพัฒนาคน เพื่อรองรับอีอีซีและยังเป็นวิทยาลัยต้นแบบในพื้นที่ ในการกำหนดแนวทางในการจัดการศึกษาที่ต้องการพัฒนากำลังคนซึ่งเป็นโจทย์ใหญ่ของ EEC-HDC จากการสำรวจความต้องการกำลังคนจากสถานประกอบการต่างๆ นั้น พื้นที่พัฒนาพิเศษมีความต้องการใช้กำลังคนเป็นจำนวนมากถึง 475,000 อัตราตามประมาณการ จึงถือเป็นตัวเลขที่ท้าทาย

จึงได้ให้ความสำคัญในการจัดการศึกษาแบบไทป์เอ (Type-A) ซึ่งเป็นการศึกษาเพื่อการมีงานทำร้อยเปอร์เซ็นต์ โดยที่สถานประกอบการและทางวิทยาลัย จะต้องร่วมกันกำหนดหลักสูตรการเรียนการสอน และจัดรูปแบบในการฝึกงานฝึกประสบการณ์ให้กับผู้เรียน และการที่จะรับผู้จบหลักสูตรเข้าไปทำงาน ซึ่งเป็นรูปแบบเอ หรือไทป์เอที่เป็นความคาดหวัง และเป็นความตั้งใจของสำนักงานอีอีซี ที่อยากให้ทางวิทยาลัยต่างๆ นั้น ยึดถือเป็นแนวทางให้ร่วมกันเดินไปในการพัฒนาคนตามทิศทางนี้

บริษัทเอกชนร่วมทวิภาคี

นอกจากนี้ยังจะมีหลักสูตรระยะสั้น ที่เรียกว่าไทป์บี ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยกับสถานประกอบการในการกำหนดหลักสูตรในการพัฒนาคนเพื่อให้ตอบโจทย์ที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมในอนาคต โดยเป็นความร่วมมือที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องออกค่าใช้จ่ายร่วมกัน สถานศึกษาจึงต้องจัดให้การศึกษาที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของสถานประกอบการหรือผู้ใช้ ทั้งความรู้ ทักษะ สมรรถนะ และคุณลักษณะที่ดี จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทางวิทยาลัยจะต้องจัดให้พร้อม

ทั้งในเรื่องความขยัน ความซื่อสัตย์ ความปลอดภัย และความตรงต่อเวลา ถือเป็นสิ่งที่สถานประกอบการต้องการมาก จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาก่อนที่จะส่งไปฝึกงานยังสถานประกอบการ จึงอยากจะฝากให้ทางวิทยาลัยสร้างความร่วมมือสร้างความเข้มแข็งทั้งภายในภายนอก รวมถึงเครือข่ายภายในโรงเรียนให้เป็นน้ำหนึ่งในเดียวกัน พร้อมกับการศึกษานโยบาย ศึกษาทิศทางของต้นสังกัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อตอบโจทน์ในอุตสาหกรรมเป้าหมายในอนาคต

ร่วมเป็นเครือพัฒนาให้ทันโลก

ตลอดจนการสร้างความร่วมมือหรือภาคีเครือข่ายกับสถานประกอบการนั้น เพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าไปเรียนรู้และศึกษาเทคโนโลยีสมัยใหม่ หรือเทคโนโลยีขั้นสูงที่มีอยู่ในสถานประกอบการในการพัฒนาคนให้ทันสมัย เนื่องครุภัณฑ์ที่มีอยู่ในสถานศึกษาต่างๆ นั้น อาจมีไม่เพียงพอหรือล้าสมัยกว่าในสถานประกอบการ ดร.ธวัชชัย กล่าว

ดร.อภิชาต ทองอยู่

ด้าน ดร.อภิชาต ทองอยู่ กล่าวว่า ขณะนี้เราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการพัฒนาเพื่อยกระดับความก้าวหน้าใหม่ เนื่องจากในอดีตประเทศเรามีรายได้จากการพัฒนาตามโครงการพัฒนาอีสเทิร์นซีบอร์ด และถือเป็นรายได้หลักของประเทศ ซึ่งเป็นรายได้ที่นำไปใช้ในการพัฒนาประเทศ ที่ได้มาจากในกรุงเทพฯ และภาคตะวันออก จากภาคอุตสาหกรรมเป็นหลัก ขณะที่ภาคเหนือมีรายได้เข้ามาประมาณ 9 เปอร์เซ็นต์ภาคใต้ประมาณ 8 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

วิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา

แต่การพัฒนาในยุคเก่านั้นเปรียบเสมือนร้านค้าโชห่วยในการหารายได้หล่อเลี้ยงประเทศ ที่เริ่มล้าหลังไปแล้ว จึงต้องมีการพัฒนารูปใหม่โดยเปลี่ยนเป็นร้านค้าแบบอีคอมเมิร์ช หรือดีพาร์ทเมนต์สโตร์แทน ซึ่งพื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) นั้นจึงเปรียบเสมือนร้านค้ารูปแบบใหม่ ที่จะต้องพัฒนาไปและหากจะไม่พัฒนาเปลี่ยนจากร้านโชห่วยในการหาเลี้ยงประเทศ ก็จะไม่ทันประเทศอื่นเขาหรือไม่ทันกิน

ดร.อภิชาต ทองอยู่ บรรยายพิเศษ

ฉะนั้นโครงการอีอีซีจึงมีบทบาทสูงมากในการที่จะเปลี่ยนประเทศไทยให้เข้าไปสู่โลกยุคใหม่ การปรับตัวให้มีความก้าวหน้ามากอย่างรวดเร็วนั้น เพื่อให้ทันต่อการพัฒนาของเทคโนโลยีใหม่ จึงเป็นการยกระดับประเทศครั้งใหม่ ครั้งใหญ่อย่างรวดเร็ว เป็นการสร้างเป้าหมายเพื่อเปลี่ยนประเทศให้มีอนาคตใหม่เพื่อก้าวให้ทันโลกใหม่ การศึกษาเป็นระบบหนึ่งที่กำลังถูกทำลายล้าง จึงอาจจะต้องแยกออกเป็นสาขาตามความสามารถเฉพาะของแต่ละแห่งที่อาจจะเก่งคนละด้าน

บุคคลากรสายอาชีวะ

เช่น การคัดแยกบุคคลากรที่มีความเก่งเฉพาะทาง หรือแต่ละด้านในแต่ละสถานศึกษา ให้มาหลอมรวมกันในสถานที่แห่งเดียวกัน ให้เป็นสถานศึกษาแบบเฉพาะทาง เพื่อกำหนดเป้าหมายของผู้มาเรียนได้อย่างชัดเจนมากขึ้น ว่าต้องการให้เก่งในด้านใด จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนใหม่กันทั้งระบบ ดร.อภิชาต กล่าวเพียงบางส่วนระหว่างการบรรยายพิเศษในวันนี้

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

Picture of สนทะนาพร อินจันทร์

สนทะนาพร อินจันทร์

ลุยงานช่วยเหลือคนเดือดร้อนมาทั้งชีวิต อย่างไม่คิดเรียกสิ่งตอบแทน