ฉะเชิงเทรา – ล็อคพื้นที่แปดริ้ว ต่อเนื่องแบบยาวนานอีกนับเดือน ขณะ อบจ.ฉะเชิงเทรา ถอดใจในวัคซีนซิโนฟาร์มทำวุ่น หลังถูกชาวบ้านกล่าวขานบ่นต่อว่ามาระงม จากการสั่งจองแล้ว ปชช.ส่วนใหญ่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ ทั้งยังมีการทยอยส่งมาให้แบบกะปริดกะปรอย ก่อนเตรียมนำเรื่องเข้าหารือภายในเพื่อยกเลิกการสั่งจองในที่สุด
วันที่ 2 ส.ค.64 เวลา 21.49 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานประชาสัมพันธ์ จ.ฉะเชิงเทรา ได้มีการเผยแพร่ คำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อ จ.ฉะเชิงเทรา ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อ จ.ฉะเชิงเทรา ครั้งที่ 47/2564 โดยมีนายไมตรี ไตรติลานันท์ ผู้ว่าราชการ จ.ฉะเชิงเทรา เป็นประธาน ได้เห็นชอบให้ขยายเวลาในการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ตามคำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อ จ.ฉะเชิงเทรา ฉบับที่ 66 และ 69
ข่าวน่าสนใจ:
- สจ.เปี๊ยกไม่ปลื้ม นายกไก่เปลี่ยนใจยอมสยบฉายแสง สุดท้ายกลายเป็นมาให้กำลังใจ
- กกต.อบจ.เพชรบูรณ์ ประกาศผลเลือกตั้ง "อัครเดช"รั้งแชมป์สมัย 7 ผู้ใช้สิทธิ์ไม่ถึงร้อยละ 50 ปชช.สงสัยผู้ใช้สิทธิกับบัตรลงคะแนน เลขเขย่งถามสาเหตุ
- พร้อมรับสมัครเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภา อบจ.พังงา เชิญชวนคนดีมีความสามารถมาสมัคร 23-27 ธันวาคมนี้
- พบผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านสาว ผมยาวดั่งราพันเซล เผยไว้ผมยาวมานับแต่สมัยเรียน
เกี่ยวกับมาตรการในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดต่อไปอีกเป็นเวลา 29 วันนับจากวันที่ 3-31 ส.ค.64 แต่ได้มีการปรับแก้ในส่วนเพิ่มเติม โดยให้ร้านอาหารในห้างสรรพสินค้าหรือผู้ค้าในลักษณะเดียวกัน สามารถเปิดให้บริการได้ในรูปแบบเดลิเวอรี่ โดยห้ามมิให้มีการจำหน่ายโดยตรงแก่ลูกค้าภายในร้าน
สำหรับในส่วนของมาตรการสำหรับคลัสเตอร์ในโรงงานอุตสาหกรรมนั้น ให้ดำเนินการตามมาตรการควบคุมโรค เมื่อพบผู้ติดเชื้อ ต้องทำการบับเบิลแอนด์ซีลหรือจำกัดพื้นที่ตามแผนเผชิญเหตุ 4 แผนตามที่ ศบค.ฉะเชิงเทรา ได้เคยกำหนดไว้ ประกอบด้วยแผนคน คือ คนงานต้องควบคุมได้ ถ้าเป็นโรคแล้วต้องมีสถานที่รักษา และไม่ให้มีการออกไปแพร่ระบาดเชื้อได้ทั้งในครอบครัวหรือชุมชน
โดยยังต้องมีแผนในการเดินทางหรือซีลรูท ระหว่างที่พักกับสถานที่ทำงาน ที่จะต้องห้ามแวะไปยังในที่ใด และต้องมีระยะห่างเพียงพอระหว่างการเดินทาง จากนั้นเมื่อมาถึงยังโรงงานแล้วจะต้องมีจุดคัดกรองตามมาตรการทางด้านสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด รวมถึงการบริโภคอาหาร ตลอดจนการใช้ห้องน้ำและการใช้สิ่งของร่วมกันของคนงาน หากมีผู้ติดเชื้อแล้วจะต้องมีศูนย์พักคอยหรือสถานที่ในการรักษา
รวมถึงจะต้องมีศูนย์สำหรับกักตัว ให้ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงอยู่แต่ภายในโรงงานตลอดระยะเวลา 14 วันจนกว่าจะไม่มีการตรวจพบเชื้อ จึงจะสามารถกลับเข้ามาทำงานได้ตามปกติ โดยที่จะไม่มีการออกมายังภายนอกโรงงานอย่างเด็ดขาด หรือ เป็นการบับเบิลแอนด์ซีลในโรงงาน นายไมตรี ระบุในที่ประชุม
ขณะเดียวกันผู้สื่อข่าวรายงานว่าในวันนี้ นายกิตติ เป้าเปี่ยมทรัพย์ นายก อบจ.ฉะเชิงเทรา ได้เปิดเผยต่อสื่อมวลชนถึงความอึดอัดใจ หลังจากที่ทาง อบจ.ฉะเชิงเทรา ได้ทำการสั่งจองวัคซีนซิโนฟาร์มจากทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ว่า หลังจากทาง อบจ.ฉะเชิงเทรา ได้ทำการสั่งจองวัคซีนซิโนฟาร์มไปแล้วจำนวน 1 แสนโดส เพื่อนำมาฉีดให้แก่ประชาชนในพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา จำนวน 5 หมื่นคน
แต่ในครั้งแรกกลับได้รับวัคซีนมาได้เพียงแค่ 5 พันคนหรือ 1 หมื่นโดส ทั้งยังมีข้อจำกัดไว้ที่จะต้องฉีดให้แก่ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงวัคซีนทางช่องทางต่างๆ ได้ ส่วนในครั้งต่อมาที่กำลังจะได้รับการจัดสรรมาให้นั้น ได้มีการระบุมาว่าจะได้รับมาเพิ่มเติมอีกเพียงแค่ 1,000 โดสหรือฉีดให้แก่ประชาชนได้แค่ 5 ร้อยคน ทั้งะยังไม่ทราบว่าวัคซีนจะมาถึงยังที่ จ.ฉะเชิงเทรา เมื่อใด จึงรู้สึกอึดอัดใจมาก
ในขณะนี้จึงได้เตรียมที่จะพิจารณาหารือกันภายในกับหัวหน้าส่วนราชการที่รับผิดชอบ เพื่อหาแนวทางที่จะลดจำนวนการสั่งจอง หรือยกเลิกการสั่งจองวัคซีนซิโนฟาร์มจากทางราชวิทยาลัยฯ เนื่องจากได้ใช้เงินงบประมาณในการนำมาจัดสร้าง รพ.สนามใต้ร่มพระบารมี ที่ อ.บ้านโพธิ์ไปมากถึงกว่า 20 ล้านบาทแล้ว ขณะเดียวกันทางด้านรัฐบาลยังได้มีการจัดสรรวัคซีนเข้ามายังในพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา เพิ่มมากขึ้นแล้วด้วย
สำหรับในการสั่งจองวัคซีนซิโนฟาร์มนั้น ครั้งแรกตนมีความเข้าใจว่าจะได้รับมาพร้อมกันเพียงครั้งเดียว คือ จำนวน 1 แสนโดสเพื่อฉีดให้แก่ประชาชนชาว จ.ฉะเชิงเทรา ได้จำนวน 5 หมื่นคน แต่กลับได้รับมาเพียงครั้งละ 5 พันคนและ 500 คนตามลำดับนั้น ทำให้ถูกชาวบ้านใน จ.ฉะเชิงเทรา ต่อว่ามายัง อบจ.ฉะเชิงเทรา เกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นจำนวนมาก นายกิตติ กล่าว
–รพ.สนามขนาดยักษ์ 1.4 พันเตียง อบจ.แปดริ้วเนรมิตเสร็จพร้อมใช้แล้ว
–รพ.สนามขนาดยักษ์ 1.4 พันเตียง อบจ.แปดริ้วเนรมิตเสร็จพร้อมใช้แล้ว
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: