ฉะเชิงเทรา – ผู้ว่าแปดริ้ว เปิดตัวเลขประชาชนในพื้นที่ได้รับวัคซีนโควิด 19 แล้วถึงเกือบครึ่งหนึ่งของจังหวัด โวอยู่ในชั้นแถวหน้าของประเทศ ที่บริหารจัดการวัคซีนได้อย่างทั่วถึง ทำคนในจังหวัดได้รับการฉีดแล้วถึงกว่าร้อยละ 47 พร้อมเชิญชวนให้ผู้ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนเข็มแรกวอร์กอินเข้าไปยัง รพ.ประจำอำเภอของรัฐ และติดต่อ อปท.ท้องที่เพื่อรับวัคซีนทางเลือก “ซิโนฟาร์ม” เป็นเข็มแรกในท้องถิ่นที่มีการสั่งซื้อ ตั้งเป้าฉีดให้ได้มากที่สุดถึง 5.6 แสนคนเป็นอย่างน้อยก่อนสิ้นปีนี้
วันที่ 20 ส.ค.64 เวลา 15.50 น. ผู้สื่อข่าวได้รับการเปิดเผยตัวเลขของประชาชนในพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา ที่ได้รับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด 19 เข็มแรกแล้ว จากนายไมตรี ไตรติลานันท์ ผู้ว่าราชการ จ.ฉะเชิงเทรา ผ่านทางสำนักงานประชาสัมพันธ์ จ.ฉะเชิงเทรา ว่า จากข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 17 ส.ค.64 ที่ผ่านมามีประชาชนชาว จ.ฉะเชิงเทรา ได้รับการฉีดวัคซีนเข็มแรกไปแล้วจำนวน 310,000 คน นับตั้งแต่เริ่มทำการฉีดเมื่อเดือน เม.ย.64 ที่ผ่านมา
ข่าวน่าสนใจ:
- เพชรบูรณ์ - "ยุพราช"ชี้! นักการเมืองไม่จำเป็นต้องรวย แค่เคียงข้าง ปชช.ไม่ทุจริตโกงบ้านเมืองก็พอ
- สจ.เปี๊ยกไม่ปลื้ม นายกไก่เปลี่ยนใจยอมสยบฉายแสง สุดท้ายกลายเป็นมาให้กำลังใจ
- พบช้างป่าอยู่ใกล้ที่ทำร้ายคนเสียชีวิตเร่งผลักดันหวั่นเกิดเหตุซ้ำ จ.ปราจีนบุรี
- กกต.อบจ.เพชรบูรณ์ ประกาศผลเลือกตั้ง "อัครเดช"รั้งแชมป์สมัย 7 ผู้ใช้สิทธิ์ไม่ถึงร้อยละ 50 ปชช.สงสัยผู้ใช้สิทธิกับบัตรลงคะแนน เลขเขย่งถามสาเหตุ
หรือคิดเป็นร้อยละ 47 ของจำนวนประชากรกว่า 7 แสนคนในพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา ขณะที่เป้าหมายการฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนของจังหวัดก่อนสิ้นปีนี้ นั้นคือจำนวน 560,000 คน แต่อย่างไรก็ตามในขณะนี้ได้ถือว่าชาว จ.ฉะเชิงเทรา ได้รับการฉีดวัคซีนเข็มแรกเป็นจำนวนมากที่สุดในลำดับต้นๆ หรือเป็นหนี่งในสิบจังหวัดที่ประชาชนได้รับวัคซีนแล้วมากที่สุดของประเทศ
ขณะที่ในเดือน ส.ค.64 นี้ จ.ฉะเชิงเทรา ได้รับการจัดสรรวัคซีนเข้ามาอีกจำนวน 100,000 โดส ทางเจ้าหน้าที่จึงได้เร่งทำการฉีดให้แก่ประชาชนในทุกๆ วัน ขณะนี้จึงยังคงมีวัคซีนซิโนแวคเหลืออยู่อีก 5,000 โดส วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าจำนวน 9,000 โดส และไฟเซอร์อีก 16,000 โดส จึงขอเชิญชวนประชาชนที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนเข็มแรก เข้าไปรับการฉีดวัคซีนได้ที่โรงพยาบาลประจำอำเภอทุกแห่งในพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา
โดยวัคซีนไฟเซอร์นั้น ขอให้เป็นกลุ่มบุคลากรด่านหน้า เช่น บุคลากรทางการแพทย์ พยาบาล ก่อน จากนั้นจึงจะฉีดให้ผู้มีภาวะเสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิตจากการติดเชื้อต่อไป เช่น ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคเรื้อรังใน 7 กลุ่มโรค และเด็กที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไป หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 12 สัปดาห์ โดย จ.ฉะเชิงเทรา ได้กระจายวัคซีนไฟเซอร์ไปในทุกอำเภออย่างทั่วถึงทั้ง 11 อำเภอแล้ว ส่วนผู้ที่ต้องการวัคซีนทางเลือก “ซิโนฟาร์ม” นั้น ให้ไปติดต่อยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 15 แห่ง ที่ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการโรคติดต่อ จ.ฉะเชิงเทรา
ในการจัดหาวัคซีนซิโนฟาร์มมาจากทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ประกอบด้วย อบจ.ฉะเชิงเทรา เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา ทต.เทพราช อบต.เทพราช ทต.ลาดขวาง อบต.คลองประเวศ ใน อ.บ้านโพธิ์ ทต.บางสมัคร ทต.บางวัวคณารักษ์ ทต.ท่าสะอ้าน ทต.บางวัว ใน อ.บางปะกง อบต.พนมสารคาม อบต.เขาหินซ้อน ทต.เขาหินซ้อน ใน อ.พนมสารคาม และ ทต.บางคล้า ทต.ปากน้ำ ใน อ.บางคล้า ซึ่ง อปท.ทั้ง 15 แห่งนี้ได้จัดหาวัคซีนซิโนฟาร์มมาได้รวมทั้งหมด 132,000 โดส ขณะนี้ได้ทำการฉีดให้แก่กลุ่มเปาะบางไปแล้ว จำนวน 54,600 โดส
ส่วนในช่วงปลายเดือน ส.ค.64 นี้ ทาง จ.ฉะเชิงเทรา ได้สั่งการให้ทางสำนักงานเกษตรจังหวัด ร่วมกับทางศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้เตรียมต้นกล้าฟ้าทะลายโจรไว้ประมาณ 25,000 ต้น เพื่อเตรียมนำมาแจกจ่ายให้แก่ประชาชนชาว จ.ฉะเชิงเทรา นอกจากนี้ยังได้มีการผลิตสมุนไพรฟ้าทะลายโจรแบบบรรจุแคปซูลเพื่อจะนำมาแจกจ่ายให้แก่ประชาชนพร้อมกับต้นกล้าด้วย โดยที่จะทำการแจกให้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรมแก่ประชาชน นายไมตรี กล่าว
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: