ฉะเชิงเทรา – เหลือเพียงฟาร์มร้าง จากแหล่งเลี้ยงสุกรขุนอันดับหนึ่งของประเทศกว่า 300 รายเมื่อ 20 ปีก่อน หลังเกิดโรคระบาดซ้ำซากทำเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยขาดทุนล้มลงเหลือไม่ถึง 40 ราย ล่าสุดยังมีอหิวาต์แอฟริกาหรือ ASF เข้ามาระบาดซ้ำเติม ทำผู้เลี้ยงรายย่อยแทบสูญพันธุ์ เหตุจากส่วนใหญ่หยุดเลี้ยง พักฟาร์มรอคอยวัคซีนมานานตั้งแต่ต้นปี 2564 ช่วงการระบาดเริ่มแรก ต้นเหตุที่แท้จริงทำสุกรหายไปจากตลาดเกือบทั้งระบบ
วันที่ 17 ม.ค.64 เวลา 07.00 น. ผู้สื่อข่าวได้รับการเปิดเผยจาก นายสมจิตร์ วัฒนกิจวิชัย อายุ 73 ปี อยู่บ้านเลขที่ 77 ม.4 ต.สาวชะโงก อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อย ขนาดฟาร์ม 1 พันตัว ในอดีตว่า ขณะนี้ตนเองพร้อมด้วยเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยในพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา เกือบทั้งหมดจำนวนกว่า 40 ราย ได้หยุดเลี้ยงสุกรหรือพักฟาร์มมาตั้งแต่เมื่อช่วงต้นปี 2564 ที่ผ่านมาเป็นเวลาเกือบ 1 ปีแล้ว
ข่าวน่าสนใจ:
- ชวน” คลี่ปมขัดแย้งแก้พ.ร.บ.กลาโหม นักการเมือง-ทหาร ไม่ไวใจกันเอง สลับกันแก้หวังกระชับอำนาจ อ้างตัดไฟรปห.แค่ปลายเหตุ ต้นเหตุเพราะนักการเมืองโกง!
- กกต.ตรัง พร้อมเปิดสนาม จัดเลือกตั้งอบจ. เปิดยิม 4,000 ที่นั่งรับสมัคร พื้นที่กว้างขวางรองรับกองเชียร์ผอ.กกต.ตรัง เผยการข่าวพบ 3…
- สจ.เปี๊ยกไม่ปลื้ม นายกไก่เปลี่ยนใจยอมสยบฉายแสง สุดท้ายกลายเป็นมาให้กำลังใจ
- เครื่องกั้นรถไฟคลองแขวงกลั่นพังบ่อย ล่าสุดลงปิดขวางถนนนานข้ามคืน
หลังจากได้มีโรคอหิวาต์แอฟริกา ASF เข้ามาระบาดในพื้นที่เมื่อประมาณเดือน ม.ค.64 ที่ผ่านมา จนทำให้สุกรที่เกษตรกรเลี้ยงไว้ทยอยป่วยล้มตายไปเป็นจำนวนมาก จนหมดเกลี้ยงทั้งฟาร์ม ตั้งแต่เมื่อประมาณเดือน มี.ค.- เม.ย.64 ที่ผ่านมา โดยมีเกษตรกรที่ได้แจ้งให้แก่ทางปศุสัตว์เข้ามาทำลายฝังกลบเพื่อขอรับเงินค่าชดเชยในราคาตัวละ 9 พันบาทไปแล้ว ตั้งแต่ในช่วงของการระบาดครั้งนั้น แต่มีบางรายที่ไม่ได้แจ้งทำลาย
โดยที่ฟาร์มของตนในขณะนั้น มีสุกรอยู่ในฟาร์มประมาณ 800 ตัว ทั้งสุกรขุนและแม่พันธุ์ ได้รับความเสียหายไปด้วยทั้งหมด แต่ตนเองไม่ได้แจ้งเพื่อขอรับเงินค่าชดเชย เนื่องจากไม่คิดว่าจะได้รับการเยียวยาชดเชยจากทางภาครัฐในขณะนั้น จึงได้ทยอยขายออกไปบางส่วนและเสียหายไปบางส่วน หลังจากนั้นจึงได้หยุดเลี้ยงและพักฟาร์มมาอย่างยาวนานจนเกือบตลอด 1 ปีเต็มแล้ว
ซึ่งขณะนี้ในพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา นั้น ยังคงมีเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรเหลืออยู่เพียงไม่ถึง 10 รายจากทั่วทั้งจังหวัด ทั้งที่ในอดีตนั้น จ.ฉะเชิงเทรา ถือเป็นแหล่งผลิตเนื้อสุกรมากที่สุดในประเทศ ที่มีเกษตรกรทั้งรายใหญ่ที่มีการเลี้ยงกันนับหมื่นไปจนถึงแสนตัว และฟาร์มขนาดกลางจำนวน 5 พันไปจนถึง 1 หมื่นตัวรวมถึงรายย่อยที่เลี้ยงต่ำกว่า 5 พันตัวลงมาถึงกว่า 300 รายเมื่อ 20 ปีก่อน แต่หลังเกิดโรคระบาดในสุกรบ่อยครั้งในช่วงที่ผ่านมา ประกอบกับทายาทคนรุ่นหนุ่มสาวไม่นิยมที่จะประกอบอาชีพเลี้ยงสุกรต่อไปอีกแล้ว
จึงทำให้เกษตรกรหลายรายต้องเลิกเลี้ยงกันไปเป็นจำนวนมาก จนเหลือไม่ถึง 100 ราย ในช่วงก่อนหน้าเกิดการเข้ามาระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกา (ASF) และเหลือเพียงประมาณ 10 รายที่ยังเลี้ยงอยู่ในขณะนี้ ซึ่งหากมีวัคซีนหรือยารักษาโรค ที่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคได้ เชื่อว่าจะยังคงมีเกษตรกรอีกหลายฟาร์ม ที่ต้องการที่จะกลับมาเลี้ยงใหม่ เนื่องจากยังคงมีโรงเรือน เล้าสุกร และอุปกรณ์ในการเลี้ยงเดิมอยู่แล้ว
แต่อาจจะมีบางรายที่จะไม่กลับมาเลี้ยงใหม่อีก เนื่องจากไม่มีคนสืบทอดที่จะมาทำอาชีพนี้ต่อไป โดยเฉพาะที่ฟาร์มของตนนั้น คนรุ่นใหม่ๆ ได้หันไปทำอาชีพอื่นกันหมด ส่วนตนเริ่มมีอายุมากขึ้นแล้วอาจจะทำต่อไปอีกไม่ไหว และที่สำคัญการที่เกษตรกรจะกลับมาเลี้ยงสุกรใหม่ได้นั้นจะต้องมีวัคซีนในการควบคุมโรค ซึ่งไม่ทราบว่าจะมีวัคซีนเกิดขึ้นได้เมื่อไหร่ และจะต้องรอไปอีกนานมากน้อยแค่ไหน นายสมจิตร์ กล่าว
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: