ฉะเชิงเทรา – ปัญหาทุเลาลงแล้ว หลังช้างป่าเขาอ่างฤาไนพักยก ถอนกำลังออกนอกพื้นที่ทำกินชาวบ้านเกือบหมดเกลี้ยง ลดเจ็บตายลงมาได้อย่างมากนับแต่เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ด้านผู้นำท้องถิ่นเผยเหตุจากสิ้นสุดฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิตของเกษตรกรลงแล้ว ทำให้ไม่มีอาหารล่อใจช้างให้เดินออกมาจากป่าอีก แต่ยังคงมีช้างป่าหัวกระเด็นที่เดินเดี่ยวในพื้นที่อยู่อย่างประปราย ถือเป็นสิ่งที่ยังต้องพึงระวัง
วันที่ 25 พ.ค.66 เวลา 13.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่าได้รับการเปิดเผยข้อมูลจาก นายทรัพย์ทวี กุลสารี นายก อบต.ท่ากระดาน อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา ว่า ขณะนี้ปัญหาเรื่องช้างป่าบุกเข้ามาทำร้ายชาวบ้านในเขตพื้นที่ของ ต.ท่ากระดาน เริ่มทุเลาลดลงไปอย่างมากแล้ว หลังสิ้นสุดฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตของเกษตรกรในพื้นที่ ตั้งแต่เมื่อช่วงปลายปี 2565 ที่ผ่านมา
ข่าวน่าสนใจ:
- กัมพูชารวบแล้ว!! "จ่าเอ็ม" มือยิงอดีต สส.ฝ่ายค้านกัมพูชาได้ที่ จ.พระตะบอง ขณะหลบหนีและนำตัวไปพนมเปญ
- คู่แข่งตัวจริงมาวันสุดท้าย “กัปตันโป้ง” ท้าชิงเมียนายกก้อย ขอนั่งเก้าอี้นายก ทม.
- หนุ่มขับคอกขนส่งจอดหลับยาว 3 วัน พบเป็นศพคามอเตอร์เวย์
- มุกดาหาร -วงจรปิดจับภาพ ไอ้ตีนผีซิ่งชนสองตายายดับ หนึ่งเจ็บสาหัสหนึ่ง ก่อนทิ้งรถหนีลอยนวล
โดยพบว่าปัญหาได้เริ่มลดลงไปตั้งแต่ในช่วงต้นปี 2566 ที่ไม่พบว่ามีเหตุช้างป่าบุกเข้ามาทำร้ายชาวบ้านจนถึงขั้นได้รับอันตราย บาดเจ็บและเสียชีวิตอีกเลย เนื่องจากเมื่อช้างเดินออกมาในพื้นที่ทำกินและที่อยู่อาศัยของคนแล้ว ไม่มีอาหารกิน จึงได้พากันเดินกลับเข้าป่าไปกันเกือบหมด จนเหลือแต่เพียงช้างกระเด็น หรือช้างที่แตกฝูงออกมาหากินแต่เพียงลำพังเท่านั้น เช่น กรณีที่พบซากช้างตายเมื่อวานนี้ ซึ่งน่าจะเป็นช้างกระเด็นที่หากินอยู่เพียงลำพังตัวเดียว
สำหรับพื้นที่ใน ต.ท่ากระดาน นี้มีช้างป่าโขลงใหญ่ที่ออกมาทำลายพืชสวนและทำร้ายชาวบ้านจนได้รับบาดเจ็บล้มตายกันไปเป็นจำนวนมากนั้น มีอยู่ด้วยกันจำนวน 2 โขลงใหญ่กว่า 200 ตัวคือ โขลงแรกนั้นมีจำนวนกว่า 100 ตัวจึงถูกเรียกว่าโขลงร้อยบวก และโขลงที่ 2 นั้นมีจำนวนกว่า 40 ตัวจึงเรียกว่าโขลงสี่สิบบวก โดยทั้งสองโขลงนี้มีพฤติกรรมที่ไม่ค่อยลงรอยกัน หรือไม่หากินร่วมกันและเข้ารวมฝูงเป็นโขลงเดียวกันไม่ได้
โดยปัจจุบันทั้ง 2 โขลงนี้ได้เดินทางกลับเข้าไปอยู่ภายในป่า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน (ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี สระแก้ว) กันหมดแล้ว เนื่องจากมีอาหารภายในป่ามากกว่าการเดินออกมาหากินยังภายนอก จึงทำให้ผลกระทบต่อชาวบ้านเริ่มลดลงไปตามลำดับ แต่สำหรับชาวบ้านและคนกรีดยางเองนั้น ยังคงต้องระมัดระวังตัวจากช้างที่เดินเดี่ยวหรือช้างกระเด็นจากฝูงด้วย ซึ่งยังมีออกมาเดินหากินอยู่เพียงลำพังอยู่บ้างในขณะนี้จำนวนกว่า 10 ตัว นายทรัพย์ทวี กล่าว
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: