X

เปิดค่าจ้างเจ้าหน้าที่อนุรักษ์ เสี่ยงตายกับช้างป่าสวนทางค่าแรง 400 รัฐบาลเศรษฐา

ฉะเชิงเทรา – เปิดค่าจ้างเจ้าหน้าที่อนุรักษ์ ที่ทำงานเสี่ยงตายต้องลุยกับช้างป่าสวนทางกับนโยบายขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำ 400 บาทจากรัฐบาลของนายเศรษฐา ทวีสิน ที่ตั้งเป้าไทม์ไลน์จ่อขยับขึ้นพร้อมกันทั่วประเทศ 400 บาท 1 ต.ค.67 นี้ ทั้งที่ทำงานเสี่ยงกับภัยจากสัตว์ป่าในทุกวินาที ดวงชะตาชีวิตถูกผูกแขวนไว้กับอุ้งเท้าของสัตว์ใหญ่ เผยพนักงานเข้ามาใหม่ได้เพียงวันละ 316 บาท แต่ทำงานแทบไม่มีวันหยุดพัก

เส้นทางสายเสี่ยง

วันที่ 18 พ.ค.67 เวลา 16.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่าได้พูดคุยกับทางเจ้าหน้าที่อนุรักษ์ ซึ่งเป็นพนักงานลูกจ้างของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชหลายราย จนได้รับข้อมูลที่เกี่ยวกับอัตราจ้างหรือค่าแรงงานของลูกจ้างในแต่ละระดับตามอายุงานว่า สำหรับค่าจ้างแรงงานของพนักงานลูกจ้างเข้าใหม่นั้นจะได้รับในอัตราเดือนละ 9,500 บาทเท่านั้นโดยไม่มีค่าเสี่ยงภัยหรือเงินช่วยเหลือเงินในรูปแบบอื่นใดอีก และต้องทำงานแบบไม่มีวันหยุดหากถูกเรียกให้ออกไปปฏิบัติหน้าที่เมื่อไหร่ก็ต้องไป

ค่าแรงถูกเสี่ยงภัยมาก

ส่วนคนที่มีอายุงานมากกว่า 5 ปีขึ้นไปจะได้ค่าจ้างในอัตรา 11,200 บาท และอาจได้เพียงบางรายเท่านั้น โดยจะมีค่าครองชีพบวกเพิ่มเข้ามาให้อีก 2,000 บาท โดยนายจรณินทร์ เวียงคำ อายุ 47 ปี อยู่บ้านเลขที่ 413/8 ม.5 ต.คลองตะเกรา อ.ทาตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นหนึ่งในลูกจ้างของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน ป่ารอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออก (ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี สระแก้ว) กล่าวว่า ตนทำงานในหน่วยงานนี้มาเป็นเวลานานเกือบ 14 ปีแล้ว

นายจรณินทร์ เวียงคำ

ขณะนี้ได้ค่าจ้างต่อเดือนเป็นเงิน 11,260 บาทและมีค่าครองชีพเพิ่มเข้ามาอีก 2,000 บาทรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 13,260 บาทเท่านั้น โดยยอมรับว่าการเข้ามาทำงานในอาชีพนี้มีความเสี่ยง ที่ต้องใช้ความระมัดระวังกันเอาเอง แต่ชุดของตนนั้นยังถือว่าอยู่ในจุดที่ปลอดภัยกว่าชุดเคลื่อนที่เร็ว โดยมาเข้าทำงานคอยเฝ้าระวังช้างป่าประจำจุดแนวรั้วคูกันช้างอยู่กับที่ในช่วงเวลาประมาณ 17.00 น. และจะออกจากจุดเดินทางกลับในช่วงรุ่งเช้าในเวลาประมาณ 06.00 น.

ต้องทำงานอยู่กับป่า

ในชุดมี 6 คนจึงต้องแบ่งกำลังกันไปอยู่จุดละ 2 คนรวม 3 จุดที่อยู่ใกล้กับแนวของถนน ฉช.4022 บ้านนายาว-บ้านคลองเตย ซึ่งเป็นทางลาดยางจึงระมัดระวังช้างป่าได้ง่ายกว่า หากไม่ได้เดินออกจากจุดไปไหนหรือมีการขับรถลาดตระเวน ก็จะมีความปลอดภัยมากกว่าการทำงานของชุดเคลื่อนที่เร็ว ที่ต้องออกไปลาดตระเวนหรือมีการเคลื่อนตัวเข้าไปหาช้าง ซึ่งมีความเสี่ยงสูงมากกว่า ที่ผ่านมาก็เคยถูกช้างไล่ทำร้ายมาบ้างแล้วเช่นเดียวกัน แต่ไม่ถึงขั้นจวนตัวเหมือนกับผู้ที่เพิ่งเสียชีวิตไป นายจรณินทร์ กล่าว

ผู้เสียชีวิตจากการผลักดันช้าง

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

Picture of สนทะนาพร อินจันทร์

สนทะนาพร อินจันทร์

ลุยงานช่วยเหลือคนเดือดร้อนมาทั้งชีวิต อย่างไม่คิดเรียกสิ่งตอบแทน