ฉะเชิงเทรา – แก้ไม่ตก เมืองชิดลำน้ำบางปะกงสายใหญ่ จนถูกกำหนดให้เป็นเส้นทางระบายน้ำทิ้งทะเลจากทางภาคเหนือและลุ่มน้ำเจ้าพระยาในลุ่มน้ำภาคกลาง แต่ในเขตเทศบาลเมืองฉะเชิงเทราช่องทางการระบายน้ำทิ้งกลับตีบตัน ทำชาวบ้านโวยหลังฝนตกซู่เพียงชั่วขณะ ไม่ถึงครึ่งชั่วโมง แต่ทำให้เกิดมีภาวะน้ำท่วมขังรอการระบายสูงเสมอขอบฟุตบาทไปทั่วทั้งเมือง กลายเป็นปัญหาคาใจของชาวแปดริ้วมายาวเกือบ 20 ปี
วันที่ 8 ต.ค.67 เวลา 19.55 น. ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งพร้อมคลิปภาพถ่ายวิดีโอ จากผู้ที่กำลังใช้เส้นทางสัญจรผ่านพื้นที่บริเวณถนนเทพคุณากร ถนนศรีโสธรตัดใหม่ และถนนหน้าเมือง ภายในเขตเทศบาลเมืองฉะเชิงเทราว่า ได้เกิดน้ำท่วมขังสูงในพื้นที่บนถนนหลายสายเกือบทั่วทั้งตัวเมือง จ.ฉะเชิงเทรา หลังจากเมื่อช่วงหัวค่ำที่ผ่านมา เวลาประมาณ 18.30 น. จนเกือบถึงเวลา 19.00 น. ได้เกิดฝนตกลงในพื้นที่ซู่ใหญ่ เพียงช่วงระยะเวลาประมาณ 20 กว่านาทีเท่านั้น
ข่าวน่าสนใจ:
- พบลูกหลาน “ตันเจริญ” โผล่สมัคร ส.อบจ.ใน 2 เขตเลือกตั้ง
- เปิดสะพานข้ามแยกสระขวัญชั่วคราวช่วงเทศกาลปีใหม่ จ.สระแก้ว ส่วนเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าอ่างฤาไนเปิดใช้เส้นทางช่วงกลางคืน
- กองเชียร์นายกก้อยคึก แม้ไม่มีคู่แข่งดีกรีพอทาบบารมีได้ ในสนามชิงนายก อบจ.แปดริ้ว
- ปราจีนบุรี สาวแม่ลูกอ่อนผวา ช้างป่าพี่งาเดียว เดินในหมู่บ้านตอนเที่ยง
แต่ได้ทำให้เกิดน้ำนองท่วมขังไปทั่วบริเวณ โดยเฉพาะตามท้องถนนในตัวเมืองฉะเชิงเทราหลายสาย ที่มีน้ำท่วมขังสูงเหนือจากขอบฟุตบาท จนทำให้ชาวบ้านใช้เส้นทางสัญจรผ่านด้วยความยากลำบาก หรือบางรายที่ใช้ยานพาหนะซึ่งเป็นระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า (รถยนต์ EV) ไม่สามารถขับผ่านเส้นทางไปได้ โดยต่างบ่นว่าเป็นปัญหาที่เรื้อรังมาอย่างยาวนานถึงเกือบ 20 ปีแล้ว หลังจากทางเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา ได้มีโครงการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย และมีการขุดวางท่ออุโมงค์ขนาดใหญ่ไว้ใต้ท้องถนน ภายในพื้นที่ด้วยงบประมาณในขณะนั้นประมาณ 800 ล้านบาท
ได้ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่ลักษณะนี้มาโดยตลอด หากมีฝนตกลงมาซู่ใหญ่เพียงชั่วขณะ มักจะทำให้มีน้ำนองท่วมขังไปทั่วบนถนนหลายสายในทันที จนชาวบ้านต่างเอื้อมระอากันไปอย่างถ้วนหน้า ที่ทางผู้รับผิดชอบยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาในลักษณะนี้ให้หมดสิ้นลงไปได้ ทั้งที่เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ชิดกับริมแม่น้ำบางปะกง ลำน้ำสายใหญ่ที่ถูกใช้รองรับการระบายจากการผันน้ำมาทิ้งทะเลจากทางภาคเหนือ และภาคกลาง รวมถึงจากกรุงเทพมหานคร แต่พื้นที่ในตัวเมืองกลับเป็นเขตน้ำท่วมขัง เกือบทุกครั้งที่มีฝนตกห่าใหญ่ลงมา
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: