ฉะเชิงเทรา – เอกชนแนะ สนข.ขนส่งทางน้ำแปดริ้วอุปสรรคอื้อยากแก่การพัฒนาในระยะอันใกล้ พร้อมทวงถามถึงโครงการท่าเรือบกเมื่อกว่า 6 ปีก่อน ถนนวงแหวนฉะเชิงเทราเมื่อเกือบ 10 ปีที่ผ่านมายังไม่ขยับ ขณะรถไฟความเร็วสูงยังนิ่งเงียบไร้การสานต่อ พร้อมชี้เป้าให้ศึกษาผลกระทบ และพื้นที่เชื่อมโยงการขนส่งแบบสามมิติครบถ้วนแบบไร้รอยต่อในพื้นที่ว่าอยู่จุดใดอย่างแท้จริง
วัตที่ 17 ต.ค.67 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการจัดสัมมนาแนะนำโครงการและรับฟังความคิดเห็น การศึกษาจัดทำแผนพัฒนาการเชื่อมโยงและเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมทั้งทางรางและน้ำ เพื่อรองรับการพัฒนาพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกและกรุงเทพฯ ในพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมานั้น นายจอมพงษ์ ชูทับทิม เลขาธิการหอการค้า จ.ฉะเชิงเทรา ได้แสดงความคิดเห็นและทวงถามถึงโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือบก
ข่าวน่าสนใจ:
ที่รัฐบาลชุดก่อนหน้าได้เห็นชอบโครงการในพื้นที่ ต.หนองตีนนก อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งอยู่ใกล้กับระบบการขนส่งทางราง แต่ต่อมาโครงการดังกล่าวได้เงียบหายไป ทั้งที่ได้ผ่านการอนุมัติโครงการไปแล้วเมื่อประมาณปี 2561 ที่ผ่านมา ส่วนการขนส่งทางน้ำในลำน้ำบางปะกงนั้น พบว่ามีเรือลากจูงขนส่งสินค้าพุ่งชนตอม่อสะพานบ่อยครั้ง โดยเฉพาะสะพานเทพหัสดินข้ามแม่น้ำบางปะกง ถนนเทพรัตน (บางนา-ตราด) ในเขต อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา
รวมถึงสะพานอื่นๆ อีกหลายแห่งนั้น ไม่ได้มีการออกแบบหรือเตรียมการรองรับไว้สำหรับการขนส่งสินค้าทางเรือ จึงมีสภาพของช่วงตอม่อสะพานคับแคบ ตลอดจนยังมีปัญหาในเรื่องของน้ำขึ้นน้ำลงหลายครั้งต่อวัน จนทำให้เรือไม่สามารถรอดผ่านไปได้ในช่วงเวลาที่ผู้สัญจรขนส่งทางน้ำต้องการ โดยไม่มีระบบปิดกั้นลำน้ำแบบในต่างประเทศที่จะให้เรือมาจอดรอ จากนั้นจึงเปิดน้ำออกให้เรือผ่านไป แต่แม่น้ำบางปะกงนั้นไม่สามารถทำแบบนั้นได้
แม้แต่โครงการรถไฟความเร็วสูงที่จะผ่านมายัง จ.ฉะเชิงเทรา นั้น ก็ยังเงียบหายไป หลังจากผู้รับจ้างได้หยุดการก่อสร้างไปแล้ว จึงทำให้จุดที่มีการเตรียมการกันพื้นที่ไว้ใน 2 ตำบล โดยเฉพาะใน ต.วังตะเคียน อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา รวม 2 หมู่บ้าน ที่ได้มีการไปล็อคพื้นที่กันเอาไว้ ว่าจะทำอะไรตรงไหน ตรงนั้นตรงนี้ หรือแบบนี้แบบนั้นอย่างไร ทั้งโรงแรมสถานที่จอดรถ และมีการกั๊กพื้นที่กันไว้หมดแล้ว โดยที่ประชาชนแต่ละรายนั้นได้มีโครงการกันตามขึ้นมาด้วย
ขณะที่โครงการถนนวงแหวนรอบที่ 1 จ.ฉะเชิงเทรา ตามที่มีการเสนอกันเมื่อปี 2558 โครงการได้ผ่านทุกกระบวนการหมดแล้ว แต่ยังเหลือเพียงการเสนอเข้า ครม.อีกเพียง 1 ขั้นตอนเดียวนั้น แต่กลับไม่มีการขับเคลื่อนในรัฐบาลชุดต่อมา ทำให้คนที่อยู่ในพื้นที่ ผู้ที่จะถูกเวนคืนที่ดินแต่ยังไม่มีกฤษฎีกาในการเวนคืนมานั้น ได้รับความเสียหาย หากจะมอบทรัพย์สมบัติให้แก่บุตรหลานก็ยังไม่สามารถที่จะนำไปทำอะไรได้ เพราะยังไม่รู้ว่าอนาคตจะถูกเวนคืนหรือจะโดนเอาไปทำอะไรตรงนี้ตรงนั้นอย่างไร
จะไปขายต่อให้ใครก็ไม่ได้ เราะเขาก็รู้กันหมดว่าที่ดินตรงบริเวณนี้จะถูกเวนคืน จึงไม่มีความมั่นคงแน่นอนเพราะยังไม่มีการมาปักหลักขอบเขตของการเวนคืนไว้ให้ชัดเจน มีแต่เพียงการมาประชุมสัมมนากันในลักษณะนี้ จึงอยากขอให้ระมัดระวังในเรื่องของการรอนสิทธิ์ในโครงการที่ สนข.เข้ามาศึกษาในพื้นที่ แต่ยังไม่มีเงินงบประมาณหรือยังไม่ทำ ซึ่งในครั้งแรกที่มีการสำรวจกันนั้นมีมูลค่าของการเวนคืนที่ดินหลายพันล้านบาท ทำให้เกิดการรอนสิทธิคนไว้เยอะ จำนวนหลายราย
เพราะจะขายก็ทำไม่ได้จะทำอะไรต่อไปก็ทำไม่ได้ จึงอยากฝากต่อทางทีมงานที่ลงพื้นที่มาสำรวจได้รับฟังความคิดเห็นในเรื่องนี้ เกี่ยวกับเรื่องการรอนสิทธิต่างๆ ไว้ด้วย ขณะที่การพัฒนาการขนส่งทางน้ำนั้นถือว่าดี แต่ในพื้นที่มีระบบต่างๆ รวมทั้งเขื่อนกั้นลำน้ำบางปะกง และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในลำน้ำต่างๆ เช่น ในจุดที่กำลังสัมมนากันอยู่นี้ อยู่ฝั่ง ต.คลองนา จะเป็นฝั่งที่มีที่ดินงอกแต่ฝั่งตรงข้ามใน ต.บางพระนั้น เป็นพื้นที่ริมตลิ่งถูกกัดเซาะ
ขณะที่ในปัจจุบันกำลังมีการก่อสร้างขยายสะพานขึ้นใหม่บนถนนสายเลี่ยงเมืองฉะเชิงเทรา สาย 365 เป็น 10 เลน ระหว่าง ต.บางพระ และ ต.บางตีนเป็ด และหลังจากก่อสร้างแล้วเสร็จนั้น จะมีผลกระทบต่อฝั่งลำน้ำตรงจุดใดบ้างหรือไม่ ฉะนั้นหากจะสร้างจึงควรมีการศึกษาผลกระทบก่อนด้วย นายจอมพงษ์ กล่าว
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: