ฉะเชิงเทรา – เจ้าท่าแปดริ้ว บอกการสัญจรทั้งทางน้ำและทางบกบนสะพานเทพหัสดินยังเดินทางได้สะดวกเป็นปกติหลังเรือชนตอม่อสะพานเมื่อสัปดาห์ก่อน ซัดนักข่าวและสื่อโซเชียลมั่วนิ่มเขียนเกินเลยจากความเป็นจริงที่ต้องให้ ปชช.หลีกเลี่ยงไปใช้เส้นทางอื่นทำสังคมสับสน เผยเสาตอม่อริมนอกสุดรับหน้ำหนักแค่เพียงไหล่สะพานไม่มีผลทางด้านความปลอดภัยในการเดินรถ ขณะการเดินทางผ่านยังไปชลบุรีได้ครบทุกช่องทั้ง 4 เลน
วันที่ 21 ต.ค.67 เวลา 11.30 น. นายวิระฉัตร ลีละกุล ผอ.เจ้าท่าภูมิภาคสาขาฉะเชิงเทรา ได้กล่าวต่อผู้สื่อข่าวว่า จากการประชุมสัมมนานำเสนอโครงการและรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการขนส่งทางน้ำและทางรางในพื้นที่อีอีซี ที่ จ.ฉะเชิงเทราโดย สนข. และมีการกล่าวให้ข้อมูลถึงสภาพพื้นที่โดยรวมของแม่น้ำบางปะกง ซึ่งเป็นในช่วงเวลาที่สอดรับกันกับการเกิดเหตุการณ์เรือลากจูงบรรทุกสินค้าพุ่งชนเสาตอม่อสะพาน ซึ่งเป็นเสาค้ำริมนอกสุดด้านฝั่งขาออกไปยัง จ.ชลบุรี นั้น
ข่าวน่าสนใจ:
ได้มีการนำเสนอข่าวและมีการเผยแพร่ไปตามสื่อโซเชียลว่า ให้ ปชช.ต้องหลีกเลี่ยงการใช้สะพานบริเวณดังกล่าวนั้น โดยที่ไม่ทราบว่าเขาไปเอาข้อมูลมาจากไหน ซึ่งไม่เป็นความจริงเนื่องจากการสัญจรยังสามารถเดินทางได้โดยสะดวกตามปกติเพียงแต่ปิดช่องทางที่ชิดกับขอบไหล่ทางเอาไว้เพียง 1 ช่องทางเท่านั้น แต่ไม่ได้สูญเสียเส้นทางการสัญจรผ่าน เนื่องจากทางคู่ขนาน ถ.เทพรัตน (บางนา-ตราด) นั้นมีช่องทางการจราจรเพียง 2 ช่องทางและช่องทางหลักอีก 2 ช่องทางรวม 4 ช่องจราจร
แต่บนสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกงมี 3 ช่องจราจรในทางคู่ขนาน เมื่อถูกปิดไป 1 ช่องทางที่ด้านบนสะพานก็ยังคงเหลือเส้นทางการสัญจรพอดีกับการสัญจรของถนนคู่ขนาน โดยที่ไม่ได้สูญเสียช่องทางการเดินทางแต่อย่างใด เนื่องจากเสาที่ถูกเรือกระแทกจนได้รับความเสียหายนั้นเป็นเพียงเสาค้ำ ไม่ใช่เสาที่รับน้ำหนักของสะพาน ตามที่ฟังจากทางวิศวกรผู้เชี่ยวชาญของแขวงทางหลวง ที่ลงพื้นที่มาตรวจสอบร่วมกันในวันนั้น
ส่วนรายละเอียดในการดำเนินการแก้ไขหรือจะซ่อมแซมตอม่อสะพาน ว่าจะทำอย่างไรนั้น ต้องไปสอบถามจากทางแขวงทางหลวงฉะเชิงเทรา จึงจะได้ข้อมูลที่ชัดเจนถูกต้องมากที่สุด เพราะเขามีข้อมูลทั้งหมดแล้ว ขณะที่ในรายละเอียดเกี่ยวกับทางเรือนั้นจะต้องทำการสอบสวนคนขับเรือต่อไปซึ่งคาดว่าอีกประมาณ 3-4 วันจึงจะทราบสาเหตุ แต่เป็นคนละประเด็นกันกับเรื่องของการชดใช้ค่าความเสียหาย ซึ่งเป็นเรื่องของทางแพ่งที่เขาจะต้องชดใช้ให้อยู่แล้ว การซ่อมแซมสะพานจึงเป็นเรื่องในส่วนของกรมทางหลวง ที่เขาจะต้องเข้ามาดำเนินการไปก่อน
โดยทางเจ้าท่านั้น จะดูเรื่องของเรือว่าจะมีความผิดในทางกฎหมายอย่างไรบ้าง เช่น การขับเรือมีใบอนุญาตหรือใบขับขี่ซึ่งคล้ายกับการขับรถหรือไม่ ซึ่งเป็นความผิดในส่วนของเจ้าท่าที่จะพิจารณาส่งไปให้ต่อทางพนักงานสอบสวน ขณะที่ในภาคของการขนส่งทางน้ำในขณะนี้นั้น เรือยังสามารถเดินทางขนถ่ายสินค้ารอดใต้สะพานได้ตามปกติ นายวิระฉัตร กล่าว
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: