ชาวแปดริ้วข้องใจ หลังกรมศิลป์ทุ่มงบกว่า 9.48 ล้านบาท บูรณะกำแพงเมืองเก่าแก่จนกลายเป็นกำแพงเมืองใหม่เอี่ยม ทำให้ดูหมดสิ้นคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ทั้งยังละเลยในรายละเอียดของบ่อน้ำเก่าแก่ที่ด้านหลังและถูกปรับสภาพองค์ประกอบภายใน ทำให้ร่องรอยทางประวัติศาสตร์ถูกกลบกลืนหายไป ด้าน ผอ.ศิลปากรพื้นที่ เข้าชี้แจงระบุทำถูกต้องตามหลักวิชาการ เชื่ออีก 3 ปีกลับมาเก่าได้เหมือนเดิม
วันที่ 23 พ.ย.60 เวลา 17.00 น. ที่บริเวณด้านหลังกำแพงเมืองเก่า ริมถนนมรุพงษ์ ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา ได้มีชาวบ้านจำนวนกว่า 30 คน ได้ออกมารวมตัวจับกลุ่มวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเปลี่ยนแปลงในอัตลักษณ์ของกำแพงเมืองเก่าแก่ ที่มีมาตั้งแต่ในช่วงยุคสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งเดิมมีสภาพเป็นกำแพงคอนกรีต ที่ก่อสร้างด้วยก้อนอิฐแดงขนาดใหญ่วางเรียงซ้อนกันเป็นชั้น ให้กลายเป็นกำแพงเมืองที่อยู่ในสภาพใหม่เอี่ยม เสมือนเพิ่งทำการก่อสร้างขึ้นมาใหม่ จนดูหมดคุณค่าทางจิตใจและคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ของชุมชนคนแปดริ้วไปโดย นายวสันต์ สวนเลิศ อายุ 72 ปี อยู่บ้านเลขที่ 124 ถ.สุขเกษม ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา กล่าวว่า กำแพงที่ทางกรมศิลป์เข้ามาบูรณะจนเสร็จแล้วนี้ มันดูใหม่จนเกินไปจนไม่ทิ้งอะไรที่เป็นของเก่าและมีคุณค่าทางจิตใจและทางประวัติศาสตร์เหลือเอาไว้ให้ได้ดูเลย ซึ่งของเก่านั้นถึงจะเห็นสภาพเป็นเพียงแค่ก้อนอิฐแดง ที่นำมาก่อวางเรียงกันอยู่เป็นชั้นๆ ก็ยังสามารถโชว์ให้เห็นถึงคุณค่าในความเก่าแก่ได้ เช่น หากเราไปท่องเที่ยวตามเมืองเก่าต่างๆ ในสถานที่อื่นๆ เราก็ยังอยากที่จะไปดูของเก่า และไม่ได้อยากไปดูของที่ถูกทำขึ้นมาใหม่จนดูไม่มีคุณค่าอะไรแบบนี้ ทำให้หมดสิ้นประวัติศาสตร์ เพราะเมืองเก่ามันต้องมีประวัติศาสตร์ แต่เมื่อมาบูรณะแล้วออกมาแบบนี้ มันไม่ได้โชว์ของเก่าอะไรเอาไว้บ้างเลย
กำแพงเมืองฉะเชิงเทรา หลังถูกบูรณะจนกลายเป็นกำแพงเมืองใหม่เอี่ยม จนทำให้ชาวบ้านรู้สึกหมดคุณค่าทางจิตใจจึงอยากจะบอกแก่ทางเจ้าหน้ากรมศิลปากรให้ทราบบ้างว่า การจะทำอะไรก็ตามนั้น ต้องให้ประชาชนในพื้นที่ได้รู้ ว่าจะทำอะไรหรือจะบูรณะอย่างไร แต่นี่ประชาชนในพื้นที่ไม่ได้มีส่วนได้รับรู้มาก่อนเลย มาเห็นอีกทีก็ในตอนที่เจ้าหน้าที่เข้ามาล้อมรั้วกั้นสังกะสีแล้ว ถามใครก็ไม่มีใครรู้เลยว่าเขาจะทำอะไร อีกทั้งยังมีการถมกลบบ่อน้ำใช้โบราณที่ด้านหลังกำแพงเมืองไปด้วย เหมือนเป็นการลบร่องรอยทางประวัติศาสตร์ให้เลือนหายไป ซึ่งมันมีคุณค่าทางจิตใจของเราในฐานะคนพื้นที่ เพราะเกิดมาก็ได้เห็นกำแพงเมืองนี้แล้ว จึงถือว่ากำแพงเมืองแห่งนี้ก็เป็นหน้าเป็นตาของเมืองฉะเชิงเทราด้วยเช่นเดียวกัน นายวสันต์ กล่าวขณะที่ นายเมธาดล วิจักขณะ ผอ.สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี ซึ่งดูแลรับผิดชอบโบราณสถานในพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา กล่าวว่า การเข้ามาบูรณะกำแพงเมืองเก่าที่ จ.ฉะเชิงเทรา แห่งนี้ ได้กระทำการไปอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ โดยได้ใช้ปูนหมักปูนตำและวัสดุอุปกรณ์ เช่น อิฐที่นำมาใช้และสูตรของปูนตามแบบต้นฉบับเดิมในการก่อสร้างกำแพงเมืองโบราณทุกอย่าง เพื่อที่จะให้มีสภาพเหมือนเดิมให้ได้มากที่สุดซึ่งเชื่อว่าอีกไม่นานหลังกำแพงปูนถูกแดดถูกฝน จนมีเชื้อราและตะไคร่เกิดขึ้นใหม่เกาะอยู่บนเนื้อของปูนที่ฉาบเอาไว้แล้ว ก็น่าจะกลับมามีสภาพแบบเดิมได้ในอีกไม่นาน หรือประมาณ 2-3 ปีเท่านั้น ซึ่งเป็นเพียงความรู้สึกของคนที่ยังไม่เข้าใจ
ข่าวน่าสนใจ:
- เพชรบูรณ์-ปธ.หอการค้าฯ เผยอีเวนท์คอนเสิร์ตฯช่วยกระตุ้น นทท.ไหลเข้าเพชรบูรณ์ คาดโอเวอร์โค้ทเงินสะพัด 45 ล้าน ห่วงจราจรหนาแน่น จี้ภาครัฐช่วยดูแล
- นายกฯ เผย ครม.เคาะเยียวยาพื้นที่น้ำท่วมใต้ ครัวเรือนละ 9,000บาท เพิ่มอีก 16 จังหวัดวงเงิน 5 พันล้านบาท ขยายกรอบงบภัยพิบัติจาก 20 ล้านเพิ่มเป็น…
- นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เปิดงาน “มหกรรมสีสันล้านนาตะวันออก” กระตุ้นเศรษฐกิจ
ส่วนการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปได้ทราบนั้น เดิมนั้นทางกรมศิลปากรที่ 5 ได้มีการมาตั้งเต็นท์ประชาสัมพันธ์เอาไว้แล้ว แต่ได้ถูกกระแสลมพายุพัดจนพังเสียหายไป ซึ่งต่อไปจะต้องให้ทางนักวิชาการท้องถิ่น และชาวบ้านที่เป็นเจ้าของพื้นที่อยู่มานานเข้ามีส่วนร่วมกันในการบูรณะด้วย ขณะที่บ่อน้ำเก่าแก่เดิมที่เคยมีอยู่ที่ด้านหลังกำแพงเมืองนั้น ทางสำนักศิลปากรที่ 5 จะเข้ามาทำการขุดค้นสำรวจหาใหม่อีกครั้งต่อไป นายเมธาดล กล่าว
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: